5 ภัยเงียบที่คุณอาจยังไม่รู้จากท่านั่งขับรถยนต์


ด้วยสภาพจราจรที่ติดขัดหนัก ในกรุงเทพทุกวันนี้ ทำให้ใครหลายคน ต้องใช้ชีวิตบนรถ ไปต่ำกว่าวันละ 2 ชั่วโมง ทั้งช่วงเช้าและช่วงเย็น โดยเฉพาะในวันหยุดยาว ที่ทุกคนต่างมุ่งหน้าไปยังที่หมายของตน ทำให้การจราจรติดขัดนานถึง 3-4 ชั่วโมง หลายกิโลเมตร กว่าคุณจะถึงที่หมาย ก็รู้สึกอีกทีว่า ร่างกายปวดร้าวไปหมด และทำให้เกิดอาการปวดหลังตามมาอีก อาการของโรคกล้ามเนื้อและกระดูกอักเสบ อาจมาจากพฤติกรรมอันไม่ประสงค์ของคุณ ในการขับรถ การเกร็ง ความเครียด และท่าขับรถที่ไม่ถูกต้อง ล้วนเป็นสาเหตุอันให้เกิดภัยเงียบได้ การมีท่านั่งขับรถที่ถูกวิธี จะช่วยให้ร่างกายคุณไม่เสื่อมสภาพก่อนวัยอันควร

  1. การปรับระยะเบาะจาก เท้าและเข่า

เข่าของคุณไม่ควรจะงอหรือตึงจนเกินไป ถ้าคุณเป็นคนขาสั้น ตัวเล็ก ก็เลื่อนเบาะไปด้านหน้า เพื่อให้คุณสามารถเหยียบเบรก และคลัตช์ ได้อย่างสะดวก ระยะห่างที่เหมาะสมสำหรับรถเกียร์ออโต้ นั้น ให้วัดจากเท้าที่เหยียบเบรก โดยให้เข่าอยู่ในท่างอเล็กน้อย ส่วนรถที่เป็นเกียร์กระปุก ให้ใช้เท้าเหยียบ แป้นคลัตช์ดู โดยที่เหยียบสุดแล้วเข่าต้องตึง ไม่งั้นตอนขับจะรู้สึกเมื่อยเข่ามาก

jwclinic.com

  1. การปรับองศาพนักพิง จาก หลัง

การปรับพนักพิงไม่ควร จะให้เอน หรือ ตั้งฉากมากเกินไป เพราะว่าจะทำให้ปวดหลัง หรือ เกิดอาการเกร็งขณะขับรถไม่รู้ตัว  โดยคุณสามารถปรับเบาะพนักพิง ได้จากองศาการนั่งของคุณ วัดจาก การลองใช้มือจับพวงมาลัยที่ 3 และ 9 นาฬิกา โดยให้ข้อศอกงอเล็กน้อย และไม่ควรนอนขับรถ คุณอาจเห็นใครหลายๆคน โดยเฉพาะรถแข่ง ที่มีการเอนหลังมาก แต่จริงๆแล้ว รถที่ถูกออกแบบมาขับบนถนนทั่วไปนั้น ไม่สามารถใช้ขับโดยท่านอนหรือเอนได้ เพราะจะทำให้แรง ไปกด อยู่ตรงที่เอว เพิ่มความเมื่อยล้า ให้กับบั้นเอวได้

mycompletehealth.net

  1. การปรับหมอนรองคอ
    ถือว่าเป็นอีกจุดหนึ่ง ที่มองข้ามไม่ได้ เพราะว่า หมอนรองคอนั้น เป็นส่วนที่ทำให้ลดแรงกระแทก เวลาเกิดรถชน ถ้าคุณไม่มีหมอมรองคอ หรือปรับหมอนรองคอไม่ถูกต้อง อาจทำให้คุณเกิดอัมพาต เพราะว่า หมอนรองกระดูกที่คอคุณอาจเคลื่อนได้จากการชนท้าย หรือ การเบรกกะทันหัน  โดยตำแหน่งที่ถูกนั้น คือ ปรับศรีษะให้อยู่ตรงกลางหมอนพอดี เพื่อที่จะไม่เกิดการสะบัดของคอขึ้น นอกจากนี้ หมอนรองคอมีไว้เพื่อลดแรงกระแทก ไม่ใช่ไว้สำหรับการพิงขณะขับรถ

myspineplan.com

  1. การปรับตำแหน่งพวงมาลัย
    ในปัจจุบันเทคโนโลยี ทำให้รถรุ่นใหม่ๆ มีการปรับพวงมาลัยอัติโนมัติ ตามสรีระของผู้ขับรถ ซึ่งระยะของพวงมาลัยที่ดีนั้น ต้องไม่ชิดเข่าหรือหน้าตักจนเกินไป ในขณะเดียวกัน ก็ไม่สูงเกินไป จนทำให้เมื่อยแขน และไม่ควรนั่งชิดพวงมาลัยมากไป เพราะว่าจะทำให้หมุนพวงมาลัยไม่ถนัด และถ้าเกิดรถชนถุงลมนิรภัยก็จะตีขึ้นมาที่หน้าทันที จึงควรเว้นระยะเล็กน้อย และควรจะจับพวงมาลัยในขณะขับรถเสมอ ไม่ปล่อยมือ เพราะความประมาท เลินเล่อ จะทำให้เกิดอุบัติเหตุได้ง่าย
  2. การคาดเข็มขัดนิรภัย
    จะช่วยลดแรงกระแทก ไม่ให้ร่างกายคุณถูกอัด ตอนที่ถุงลมนิรภัยยังทำงานไม่สุด ถ้าร่างกายของคุณพุ่งไปปะทะกับถุงลมนิรภัยที่กำลังพองตัวมาที่คุณ คุณก็จะเจอกับสองแรงอัด ทั้งด้านหน้าและด้านหลัง กลายเป็นว่าจะเจ็บหนักกว่าเดิม จากอุบัติเหตุ การคาดเข็มขัดนิรภัย จะทำใหลดแรงกระแทกทั้งหมด เปลี่ยนเรื่องหนักให้กลายเป็นเรื่องเบา

คำแนะนำดังกล่าวอาจะเป็นคำแนะนำเล็กๆน้อยๆ ที่บางคนรู้อยู่แล้ว แต่ขึ้นอยู่ที่ว่าจะมีคนนำไปปฎิบัติตาม หรือ เปลี่ยนพฤติกรรมได้มากน้อยแค่ไหน สำหรับการขับรถนั้น ถ้าคุณได้นั่งขับรถยนตร์อย่างถูกวิธี นอกจากจะช่วยให้ร่างกายคุณไม่เสื่อมโทรมแล้ว ยังช่วยลดอุบัติเหตุบนท้องถนนอีกด้วย

By Labella


Similar Posts