ทำไมต้องล้างจมูก ขั้นตอนและวิธีการที่ถูกต้อง


การล้างจมูก เป็นการฉีดน้ำเกลือ โดยการล้างด้วยน้ำเกลือนี้จะช่วยลดอาการคัดจมูกจากน้ำมูกหรือระคายเคืองจากสารก่อภูมิแพ้ทั้งหลาย และทำให้เด็กหายใจได้โล่งขึ้น

เมื่อไรควรล้างจมูก?

  • มีน้ำมูกเหนียว ข้น เหลือง เขียว หรือเเห้ง
  • มีอาการเเน้นจมูก เป็นหวัดเรื้อรัง โรคภูมิเเพ้ทางจมูก หรือโรคไซนัสอักเสบ
  • มีอาการไอเรื้อรัง เนื่องจากมีเสมหะไหลลงคอ
  • ก่อนใช้ยาพ่นจมูก เพื่อให้ยาพ่นออกฤทธ์ได้ดีขึ้น
  • บทความโดย Luxury Society Asia

ข้อควรระวังในการล้างจมูก

การล้างจมูกสามารถทำได้ทั้งกับเด็กและผู้ใหญ่ แต่ไม่ควรนำมาใช้กับทารกที่อายุยังน้อย และควรปรึกษาแพทย์ก่อนว่าจะปลอดภัยหรือสามารถบรรเทาอาการที่เป็นหรือไม่ หากทำแล้วพบว่าอาการไม่ดีขึ้นหรือแย่ลงกว่าเดิม แนะนำให้กลับไปสอบถามแพทย์ ยิ่งในกรณีที่มีอาการไข้ ปวดศีรษะหรือมีเลือดกำเดาไหลตามมา

ทั้งนี้ผู้ที่เกิดการติดเชื้อบริเวณหูหรือโพรงจมูกที่มีอาการแน่นจมูกและหายใจลำบากไม่ควรใช้วิธีนี้ และยังต้องระมัดระวังเรื่องความสะอาดของอุปกรณ์ที่ใช้เป็นอย่างมาก ไม่เช่นนั้นจะทำให้เสี่ยงต่อการติดเชื้อ โดยเฉพาะหากเป็นผู้มีระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายที่ทำงานไม่ปกติ ควรปรึกษาแพทย์ก่อนใช้วิธีนี้

บทความโดย Luxury Society Asia

ล้างจมูกมีวิธีการอย่างไร

1. เตรียมอุปกรณ์ที่ใช้ล้างจมูก

น้ำเกลือความเข้มข้น 0.9 %ซึ่งหาซื้อได้จากโรงพยาบาลหรือตามร้านขายยา แนะนำให้ใช้ขวดละ 100 ซีซี(น้ำเกลือที่ใช้เหลือให้เททิ้ง ห้ามนำกลับมาใช้ใหม่หรือเทกลับเข้าขวดน้ำเกลือเดิม)

ถ้วยสะอาดสำหรับใส่น้ำเกลือ

กระบอกฉีดยาพลาสติกขนาด 1 ซีซี (ไม่ใส่เข็ม) หรือขวดยาหยอดตา สำหรับเด็กขวบปีแรก

กระบอกฉีดยาพลาสติกขนาด 2-5 ซีซี (ไม่ใส่เข็ม) สำหรับเด็กอายุ 1-5 ปี

ลูกยางแดงสำหรับดูดน้ำมูกและเสมหะสำหรับเด็กที่ยังสั่งน้ำมูกและบ้วนเสมหะเองไม่ได้

           – ลูกยางแดงเบอร์ 0-2 สำหรับเด็กขวบปีแรก

           – ลูกยางแดงเบอร์ 2-4 สำหรับเด็กอายุมากกว่า 1 ปี

ภาชนะใส่น้ำล้างจมูก และกระดาษทิชชู่

2. วิธีล้างจมูก

สำหรับเด็กเล็กที่ยังสั่งน้ำมูกและบ้วนเสมหะเองไม่ได้

-ล้างมือผู้ที่จะทำการล้างจมูกให้สะอาด

-เทน้ำเกลือใส่ขวดยาหยอดตา  หรือใช้กระบอกฉีดยาดูดน้ำเกลือจนเต็ม

-ให้ใช้ผ้าห่อตัวเด็กในกรณีที่เด็กไม่ให้ความร่วมมือและดิ้นมาก การห่อตัวเด็กจะช่วยให้ผู้ล้างจมูกสามารถล้างจมูกได้สะดวก นุ่มนวลและไม่เกิดการบาดเจ็บ

-ให้เด็กนอนในท่าศีรษะสูงพอควรเพื่อป้องกันกันสำลัก

-จับหน้าให้นิ่ง ค่อยๆหยดน้ำเกลือครั้งละ 2-3 หยด หรือค่อยๆสอดปลายกระบอกฉีดยาเข้าไปในรูจมูกข้างที่จะล้าง โดยให้วางปลายกระบอกฉีดยาชิดด้านบนขอบรูจมูก ค่อยๆ ฉีดน้ำเกลือครั้งละประมาณ 0.5 ซีซี

-ใช้ลูกยางแดงดูดน้ำมูกในจมูกออก โดยให้บีบลูกยางแดงจนสุดเพื่อไล่ลมออก แล้วค่อยๆสอดเข้าไปในรูจมูก ลึกประมาณ 1-1.5 ซ.ม. ค่อยๆปล่อยมือที่บีบออกช้าๆ เพื่อดูดน้ำมูกเข้ามาในลูกยางแดง บีบน้ำมูกในลูกยางแดงทิ้งในกระดาษทิชชู่

-ทำซ้ำหลายๆครั้งในรูจมูกแต่ละข้างจนไม่มีน้ำมูก

-ในกรณีที่รู้สึกว่ามีเสมหะในลำคอ ให้สอดลูกยางแดงเข้าทางปากเพื่อดูดเสมหะในคอออก ถ้าต้องการให้เด็กไอเอาเสมหะออก ให้สอดลูกยางแดงลึกถึงประมาณโคนลิ้นเพื่อกระตุ้นไอ และทำการดูดเสมหะเหมือนที่กล่าวมาข้างต้น (ระหว่างดูดเสมหะให้จับหน้าเด็กหันไปด้านใดด้านหนึ่ง เพื่อป้องกันการสำลัก)

บทความโดย Luxury Society Asia


Similar Posts