ความทรงจำที่แม่ฮ่องสอน


เริ่มต้นออกตะลุยคุ้ยความมันส์กับความเป็นอันซีนที่บ้านห้วยเสือเฒ่า การเดินทางก็ไม่ลำบากมากนัก สามารถเหมารถสองแถวจากตัวเมืองมาได้ค่ะ ราคาไป-กลับก็อยู่ที่ 400-500 บาท แล้วแต่จะตกลงกันเองนะคะ เส้นทางสายนี้ร่มรื่นมากๆเต็มไปด้วยต้นไม้ไใหญ่สองข้างทีเดียวค่ะ ก่อนถึงหมู่บ้านจะผ่านฝายน้ำล้นถึง 11 จุด ปกติรถทั่วไปก็ผ่านได้ ยกเว้นฤดูฝนอาจจะต้องระวังหน่อย เมื่อมาถึงจุดหมายดิฉันและทีมงานก็ได้สัมผัสกับชีวิตความเป็นอยู่ของชาวกะเหรี่ยงที่นี่ อย่างที่เห็นได้ชัดเจนก็จะเป็นการใส่ห่วงที่คอ ทีเรารู้จักในชื่อกะเหรี่ยงคอยาว หรือเรียกกันว่า ปาดอง หรือผุ้สวมห่วงทองเหลือง ชาวปาดองกลุ่มนี้อพยพมาที่บ้านห้วยเสือเฒ่าราวปี พ.ศ. 2542 เป็นกลุ่มที่รักสงบเชื่อกันว่าที่ผู้หญิง

จะต้องสวมห่วงที่คอก็เพื่อป้องกันภูติผีปีศาจที่ส่งเสือมากัดผู้หญิงชาวปาดองให้ตายหมด แต่ในทางวิชาการว่า เพื่อเป็นเครื่องแสดงสถานภาพทางสังคม ป้องกันไม่ให้แต่งงานข้ามเผ่าพันธุ์ หมู่บ้านกะเหรี่ยงคอยาวที่บ้านห้วยเสือเฒ่าถือว่ายังเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่ใกล้ตัวเมืองและยังบริสุทธิ์ที่นี่เราสามารถเดินจับจ่าย ซื้อของ ไม่ว่าจะเป็นผ้าทอมือ เครื่องเงินหรือเครื่องใช้ ซึ่งกลุ่มปาดองเขาทำกันเองอีกด้วยถ้ำน้ำแข็ง      ก่อนที่จะเข้าไปข้างในถ้ำนะคะ ก็ต้องเสียค่าบริการให้กับเจ้าหน้าที่ก่อนนะค่ะ คนละ 20 บาทเอง และที่ต้องรู้ไว้ก่อนการ          ชมถ้ำก็คือ อย่าไปถูกไปสัมผัสบริเวณภายในถ้ำ เพราะว่าเขาจะหยุดการเจริญเติบโตและจะตาย น้ำแข็งหรือถ้ำแก้วโกมลแห่งนี้อยู่ในความดูแล           ของวนอุทยานแห่งชาถ้ำแก้วโกมลตั้งอยู่บ้านห้วยมะไฟ อ. แม่ลาน้อย จ. แม่ฮ่องสอน เป็นถ้ำที่ถูกบันทึกให้เป็นอันซีน อิน ไทยแลนด์ สถานที่ท่องเที่ยวอีกแห่งที่น่าสนใจมาก เดิมมีชื่อว่า “ถ้ำผลึกแคลไซต์แม่ลาน้อย” ภายหลังได้รับพระราชทานนามใหม่จากสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ            ถึงที่นี่จะไม่ใช่น้ำแข็งจริงๆแต่ก็คล้ายมากๆเลยค่ะ เข้ามาแล้วคุ้มจริงๆภายในแบ่งเป็น 5 ห้องด้วยกัน แต่ละห้องได้รับพระราชทานนามที่ต่างกันอย่างห้องแรกมีชื่อว่า “พระทัยธาร” ลักษณะผลึกแร่ถูกละลายโดยน้ำกลายเป็นคลื่นริ้วๆ ห้องที่ 2 “วิมานเมฆ” ที่ดูแล้วดั่งวิมานเลยค่ะ ห้องที่ 3″เฉกหิมพานต์”                  มีลักษณะของผลึกแร่ที่รวมตัวกันแล้วคล้ายกับต้นไม้ในป่าหิมพานต์อีกมุมหนึ่งก็ดูเหมือนโขลงช้างนับร้อย และมากันในห้องที่ 4 “ม่านผาแก้ว” เป็นห้องที่   พบผลึกแคลไซต์บริสุทธิ์ รูปร่างคล้ายปะการัง ที่สำคัญบริเวณนี้แหละค่ะ เป็นจุดที่เป็นอันซีนของที่นี่ และในห้องสุดท้าย “เพริศแพร้ว มณีบุปผา” อยู่ลึกลงไป 30 เมตร เป็นห้องที่สวยงามที่สุด เต็มไปด้วยผลึกแคลไซต์บริสุทธิ์ที่สุดและสมบูรณ์มาก ตั้งแต่พื้นจนจรดผนัง ทั้งผลึกรูปเข็ม และรูปปะการังสีขาวใส คล้ายเกล็ดหิมะเลยทีเดียว ยังไม่หมดนะค่ะ เรายังพบผลึกแร่แคลไซต์ที่กำลังก่อตัวขึ้นจากหยดน้ำจากผนังถ้ำคาดว่าอีกร้อยล้านปีจะกลายเป็นเสาหินแก้ว ที่สวยงามมากๆเลยละค่ะ

ปางมะผ้าเป็นอำเภอเล็กๆที่อยู่ในจังหวัดแม่ฮ่องสอน เป็นอำเภอที่มีความเป็นธรรมชาติกลางเทือกเขาหินปูนอันสลับซับซ้อนน่าหลงใหล ผุ้คนปางมะผ้าส่วนใหญ่เป็นชาวเขาเผ่าต่างๆ เช่น มูซอ ลีซอ และกะเหรี่ยง ความเป็นอยู่ของชาวเขาเหล่านี้ บางเผ่ายังขาดการพัฒนาเข้าถึง มีความเปลี่ยนแปลงตามกระแสโลกค่อนข้างน้อย มีกฏระเบียบที่สร้างขึ้นเฉพาะภายในหมู่บ้าน ใช้ชีวิตแบบพออยู่พอกินเฉกเช่นในอดีตความโดดเด่นของปางมะผ้าอาจไม่จำกัดเพียงธรรมชาติป่าเขาบริสุทธ์อย่างเดียว ด้วยดินแดนแห่งนี้ยังเป็นอำเภอที่มีถ้ำมากที่สุดในแม่ฮ่องสอนและในภาคเหนืออีกด้วย

หนึ่งในบรรดาถ้ำที่ค่อนข้างมีชื่อเสียงและเป็นที่รู้จักกันดีในหมู่นักท่องเที่ยว ก็คือ ถ้ำลอด เพราะถือว่าเป็นถ้ำในระดับที่เที่ยวง่าย ชื่อถ้ำลอดนี้ขนานนามโดยนักสำรวจถ้ำชาวออสเตรเลียที่ชื่อ จอห์น สปีส์ เขาตั้งตามลักษณะของถ้ำที่มีน้ำลอดไหลผ่านจากปากถ้ำหนึ่งไปสู่อีกทางหนึ่งทันทีที่เดินทางถึงวนอุทยานแห่งชาติถ้ำลอด เราต้องไปติดต่อไกด์นำทางก่อนบริเวณทางเข้า เสียค่าใช้จ่ายสำหรับไกด์นำเที่ยวถ้ำลอด 200 บาทต่อนักท่องเที่ยว 1 กลุ่มประมาณไม่เกิน 4 คน มีตะเกียงเจ้าพายุเป็นเครื่องนำทางส่องสว่างภายในถ้ำ ไกด์ที่นี่เป็นชาวไทยใหญ่ที่อาศัยรายรอบแถวนั้น มีทั้งหมด 104 คน ผ่านการอบรมความรู้เรื่องถ้ำจากเจ้าหน้าที่ของกรมป่าไม้ หลังจากติดต่อหาไกด์เสร็จสรรพหากยังไม่รีบร้อนเกินไปนัก จะแวะเลือกซื้อสินค้าที่ระลึกจากชาวบ้านซึ่งนำมาวางแบกับดินยั่วใจนักชีอปบริเวณใกล้ๆกัน บางคนก้นำอาหารปลามาจำหน่ายนักท่องเที่ยวสำหรับฝุงปลาพลวงซึ่งมีมากมายในถ้ำลอดแห่งนี้ได้ไกด์นำทางแล้วเราก็เดินเท้าต่อไปอีก 300 เมตรไปยังบริเวณหน้าถ้ำที่ซึ่งแพไม้นับ     สิบนับร้อยลำจอดรอท่านักท่องเที่ยวทีรักความสะดวกสบายปละสามารถเข้าถึงถ้ำได้ทั้ง 3   ถ้ำ ส่วนการเดินเท้านั้นจะเข้าถึงได้เพียง 2 ถ้ำเท่านั้น อัตราค่าเช่าแพก็มีหลายอัตราคือถ้าเป็น    ราคา 200 บาท แพก็จะไปส่งให้ถึงถ้ำที่ สองแล้วก็จะล่องกลับมานักท่องเที่ยวต้องเดินกลับ เอง แต่ไม่ต้องกลัวเปียกเพราะมีสะพานเล็กๆไว้สำหรับเดินจากถ้ำที่สองเดินกลับมาทาง ปากถ้ำได้ ถ้าเป็นราคา 300 บาท แพจะไปส่งถึงถ้ำที่สาม แล้วรอรับเรากลับมาส่งยังถ้ำที่ หนึ่ง หลังจากนั้นก็ต้องเดินกลับเองอีกเช่นกัน ส่วนราคา 400 บาท ราคานี้แพงที่สุดและสบายที่สุดเพราะนักท่องเที่ยวจะได้นั่งแพชมความงามของถ้ำลอดได้ตลอดทั้ง 3 ถ้ำ และ แพก็จะรอรับเราเพื่อมาส่งที่ปากถ้ำบริเวณที่เราขึ้นแพนั่นแหละ แพหนึ่งนั่งได้ประมาณ 3-4 คนแพไม้ไผ่ที่เรานั่งนั้นประกอบกันขึ้นจากปล้องไม้ไผ่ลำใหญ่ผูกติดกันทั้งหมด 7 ปล้อง และผูกขึ้นมาด้านบนอีก 2 ปล้อง จากนั้นใช้ขวดน้ำพลาสติกสะอาด ปิดฝาให้สนิท นำมา ผูกไว้ด้านล่างเป็นทุ่นให้แพลอย แพที่ใช้นี้ส่วนมากส่วนมากชาวบ้านมักช่วยกันทำเอง ประหยัดเงินค่าซื้อแพไปได้ถึงลำละ 1,200 บาททีเดียวพอเริ่มเข้าถ้ำ อย่านึกว่าชาวบ้านเขาจะถ่อแพพาเราเข้าไป เขาใช้วิธีลากแพพานักท่อง เที่ยวเข้าไปชมความงามภายในถ้ำ ส่วนพวกเรานั่งอยู่สบายๆบนแพ แต่ก็ต้องคอยระวังในช่วงแรกเพราะเป็นอุโมงค์ที่คล้อยตัวต่ำลงมา เราต้องคอยก้มตัวระวังไม่ให้หัวชนหินงอก ผ่านช่วงนี้ไปแล้วก็จะถึงบริเวณภายในถ้ำ บริเวณนี้เป็นเหมือนห้องโถงสุงใหญ่ ภานในถ้ำลอดนี้ประกอบด้วยถ้ำทั้งหมด 3 ถ้ำ คือ ถ้ำเสาหิน ถ้ำตุ๊กตา และถ้ำผีเมน ครั้งนี้ไกด์พาเราขึ้นไปชมถ้ำที่ 2 คือ ถ้ำตุ๊กตาก่อน ด้วยเหตุผลว่าถ้ำเสาหินซึ่งเป็นถ้ำที่หนึ่งนั้น เป็นถ้ำที่ไม่ต้องออกแรงปีนป่ายมากนัก ไกด์จึงแนะนำให้เราเดินชมถ้ำที่ยากลำบากก่อน ถ้ำที่เดินชมสบายๆ เก็บไว้ชื่นชมทีหลังถือเป็นคราวพักแรงขาไม่เหนื่อยล้าจนเกินไป

ทางขึ้น ถ้ำตุ๊กตา เป็นทางบันไดไม้สุงชันต้องระมัดระวังมาก แถมกว่าจะขึ้นไปถึงบริเวณถ้ำเล่นเอาเหนื่อยพอสมควร แต่สิ่งแรกที่เราเจอทำให้ลืมเหนื่อยไปเลย มันคือดอกไม้ถ้ำ ซึ่งเป็นผลึกแร่อราไกไนต์ซึ่งเกิดจากการสะสมตัวของคริสตัลออกจากจุดศูนย์กลางเดียวกันลักษณะเหมือนหลอดเกลียวหินปูน แต่โพรงภายในนั้นทำให้น้ำเคลื่อนที่เปลี่ยนทิศทางหลาย ด้านกลายเป็นตะกอนคริสตัลแยกแตกตัวออกไป เป็นเหตุให้ชาวบ้านที่นี่เรียกว่าดอกไม้ถ้ำ จะว่าไปดูไปดูมาก็คล้ายปะการังเหมือนกันเดินขึ้นไปอีกนิดก็จะเจอทำนบหินปูน เป็นตะกอนปูนก่อตัวขึ้นมีลักษณะคล้ายเขื่อน ทำนบหรือบันได เกิดในบริเวณพื้นถ้ำหรือแนวทางเดินน้ำไหล เมื่อน้ำไหล้นจากเขื่อนหรือทำ นบก็จะทิ้งตะกอนเพิ่มขึ้นบริเวณขอบเขื่อนเป็นชั้นๆเมื่อเราเดนมาถึงบริเวณอุโมงค์เราก็จะเจอ      จุดที่เป็นเขตอันตราย มีป้ายเขียนบอกไว้ชัดเจน จากจุดนี้เดินขึ้นไปอีกนิดเราก็จะเจอกับภาพเขียนก่อนประวัติศาสตร์ ตอนนี้อาจดูเลือนลางไปบ้างเพราะนักท่องเที่ยวชอบไปลูบๆคลำๆ                 อยากสัมผัสของจริง แต่นั่นคือาการทำลายโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์อีกทั้งรอยสีที่ซีดจางของภาพเขียนเหล่านี้ ส่วนหนึ่งอาจเกิดจากฝีมือคนทำความสะอาด ภายในถ้ำเอง เนื่องจากนักท่องเที่ยว              (มือบอน) เขียนชื่อตัวเองไว้บนผนังถ้ำ ทำให้ชาวบ้านที่ทำความสะอาดต้องไปเช็ดออก และเผลอไปโดนภาพเขียนก่อนประวติศาสตร์นั้นทำให้ดูจางลงกว่าก่อนมากภาพเขียนก่อนประวัติศาสตรป็นภาพของกวางธนูและพระอาทิตย์ วาดมาแล้วประมาณ 2-3 พันปีโดยคนล่าสัตว์ เขาจะใช้ไม้ไผ่แห้งหรือไม่เกี๊ยะให้แสงสว่าง ภาพเขียนที่ถูกค้นพบ ครั้งแรกมีการถ่ายรูปติดไว้ให้ได้ดู เมื่อดูแล้วก็ต้องตกใจเพราะเลือนลางไปมากจริงๆใครที่ได้มีโอกาสไปเที่ยวที่ถ้ำลอดอย่าเอามือไปสัมผัสเลย ดูแต่ตาก็พอ ของดีๆแบบนี้เก็บเอาไว้ให้ลูกหลานได้ชื่นชมกันบ้าง

เดินลึกเข้าไปอีกก็จะเจอกับหลุมยุบ ซึ่งเป็นหลุมหรือแอ่งที่เกิดจากการที่พื้นดินทรุดตัวลงไปเนื่องจากการกระทำของน้ำใต้ดิน กัดเซาะชั้นหินปูนทำให้เป็นโพรงใต้ดิน และเมื่อพื้นดินหรือหินตอนบนไม่สามารถรับน้ำหนักไหวก็จะทรุดตัวลงไปทำให้เกิดเป็นแอ่งหรือหลุม พ้นจากนี้เราก็จะเจอส่วนที่ชาวล้านเรียกว่าตุ๊กตาแล้ว ซึ่งก็ต้องใช้จินตนาการกันหน่อย เพราะบริเวณที่เป็นกองตุ๊กตานี้จะเป็นบริเวณทีเกิดหินงอกจากพื้นเป็นจำนวนมาก ถ้าจินตนาการดีๆ จะดูคล้ายบรรดาตุ๊กตา และในหินงอกแต่ละอันจะมีลักษณะเป็นกากเพรชที่บ้างครั้งชาวบ้านเรียกว่าหินกากเพรชอีกด้วยจากถ้ำตุ๊กตาเราต้องล่องแพต่อไปยังถ้ำที่สาม คือ ถ้ำผีแมน ก่อนเดินลงไปถึงแพที่จอดคอยอยู่เบื้องล่างนั้น เราผ่านส่วนที่ชาวบ้านเรียกว่า เวที เป็นบริเวณทางลงของถ้ำตุ๊กตา เมื่อก่อนเวทีแห่งนี้จะสวยงามมากเพราะว่าเป้นหาดทรายสีขาวทั้งหมดแต่พอน้ำท่วมสุง มันก็จะพัดเอาตะกอนทรายขึ้นไปทำให้เวทีเปลี่ยนสีไปเป็นสีน้ำตาล เหลือตะกอนของกากเพรชให้เราได้เห็นความสวยงามน้อยเต็มทีก่อนขึ้นถ้ำที่ 3 เราต้องผ่านโถงขนาดใหญ่ที่จะเป็นที่อยู่อาศัยของค้างคาวจำนวนมาก พอถึงเวลา 6 โมงเย็นค้างคาวเหล่านี้ก็จะบินออกไปนอกถ้ำไกด์ชี้ให้ดูทางขวามือเป็นหินขนาดใหญ่ เธอบอกว่าหินก้อนนี้เรียกกันว่า หินพระสังกัจจายน์ เพราะถ้าดูให้ดีๆก็จะเหมือนกับพระสังกัจจายน์นั่งอยู่ ทว่าสิ่งที่ทำให้เราต้องตกตะลึงพรึงเพริดเมื่อหันกลับมามองไปข้างหน้า ลำแสงตอนเที่ยงวันลอดผ่านเข้ามาในถ้ำพอดี เมื่อแสงกระทบกับถ้ำก็จะเกิดมุมของแสงที่น่าประทับใจมาก เรียกได้ว่าแสงนี้เป็นไฮไลต์ของถ้ำเลยก็ว่าได้ บริเวณถ้ำผีแมนนอกจากซุกซ่อนเรื่องราวก่อนประวัติศาสตร์เอาไว้นั้น ในเรื่องราวของปัจจุบันที่นี่ยังเป็นที่ที่ชาวบ้านมาเก็บขี้นกนางแอ่นเพื่อนำไปขายสำหรับทำปุ๋ยอีกด้วย ทางขึ้นถ้ำผีแมนเป็นบันไดสุง แต่ไม่ชันมากเท่าถ้ำตุ๊กตา

ถ้ำแห่งนี้มีโลงไม้โบราณที่ชาวบ้านบอกว่าเป็นโลงของผีแมนคำว่าผีแมนนี้เชื่อว่าใช้เรียกคนสมัยโบราณที่มีลักษณะสุง ใหญ่ เมื่อเราสังเกตบางโลงจะมีขนาดยาวไม่ต่ำกว่า 2 เมตร เมื่อก่อนโลงผีแมนเหล่านี้จะมีกระดูกของผีแมนอยู่ทั้งหมด และบางโลงก็จะมีหม้อ มีแหวนที่ผู้เป็นญาติเอาใส่ไว้ในโลงด้วยปัจจุบันทางกรมป่าไม้ได้เก็บกระดูกและข้าวของเครื่องใช้เหล่านั้นไปรักษาโลงศพแรกเป็นโลงศพอายุกว่า 2,000 ปี ทำจากต้นสักขนาดใหญ่ แกะเนื้อไม้ตรงกลางออกบริเวณที่พบโลงศพทางกรมป่าไม้เขาจะนำโซ่มาล้อมไว้ กันไม่ให้ชาวบ้านหรือนักท่องเที่ยวรุกล้ำเข้าไป

โลงผีแมนนี้ไม่พบเพียงจุดเดียวเท่านั้นด้านในยังมี 3 จุด บางจุดก็มีนักท่องเที่ยวโยนเหรียญลงไปในโลงผีแมนด้วย ไกด์ของเราบอกว่าเงินเหล่านี้เดี๋ยวตอนเย็นก็หายหมดแล้ว ชาวบ้านที่เข้ามาทำความสะอาดจะเก็บเอาเหรียญเหล่านี้ออกไป จุดที่ 2 ทีเราพบโลงผีแมนนั้น ลักษณะของผีแมนไม่ได้เป็นท่อนยาวทีเดียว แต่เป็นลักษณะของท่อนไม้เป็นท่อนๆแต่ละท่อนก็จะยาวเหมือนกัน โลงของผีแมนที่ถ้ำลอดแห่งนี้ทรุดโทรมไปมากถ้าเทียบกับที่ถ้ำผามอน เพราะโลงผีแมนที่ถ้ำผาแมนส่วนใหญ่ยังเป็นดลงที่สมบูณร์และร่อยหรอมากขึ้นขากลับลงมาจากถ้ำผีแมน เราพบจุดชมวิวที่เผยวิวของบริเวณด้านหลังถ้ำซึ่งแสงสว่างส่องลอดหินงอกหินย้อยเข้ามา แลดุตระการตามากทีเดียว 3.   จากถ้ำสุดท้าย เราก็วกกลับไปยังถ้ำที่ 1 คือ ถ้ำเสาหิน ซึ่งจะอยู่บริเวณทางเข้าก่อนถึงถ้ำตุ๊กตา ตอนขากลับไปยังถ้ำเสาหินนี้ไกด์ของเราต้องช่วยคนลากแพเข็นแพของเราฝ่าน้ำตื้นไปเรื่อยๆเพราะหน้าหนาวน้ำในถ้ำจะน้อยมาก บางช่วงแพอาจติดกับหินที่อยู่ข้างล่างได้ใน ขณะที่หน้าฝนน้ำหลาก มีมากเกินไป ทำให้เที่ยวได้แค่ถ้ำเสาหินเท่านั้น ระหว่างทางกลับบังเอิญเราเจอกับปลาพลวงสีขาว่ายทวนน้ำขึ้นมาปลาพลวงเป้นปลาที่พบในถ้ำลอดแห่งนี้ แต่น้อยคนนักที่จะได้เห็นปลาพลวงสีขาว ขนาดชาวบ้านที่เป็นไกด์และลากแพเป็นประจำทุกวันยังไม่เคยมีโอกาสเห็นเลย ทางเดินขึ้นถ้ำเสาหินไม่สุงชันเท่าไหร่ เรียบสบายเมื่อเทียบกับสองถ้ำแรก เดินเข้าไปในถ้ำเสาหิน สิ่งแรกทีเราเจอคือม่านหินย้อยหรือหินกากเพรช เป็นตะกอนปูนที่จับตัวเป็นแผง  ห้อยย้อยสีขาวหรือผลึกแร่แกรไฟต์เมื่อสะท้อนแสงไฟจะเกิดประกายแวววาว เดินบึกเข้าไปจะเจอกับเสาหินที่มีขนาดสุง 21.45 เมตร เสาหินนี้เกิดจากการที่หินงอกหินย้อยขยายตัวมาบรรจบกันเป็นแท่งเดียว เสาหินจะขยายใหญ่ขึ้นเมื่อมีน้ำจากเพดานไหลลงมา และเกิดการสะสมตะกอ         นที่ตัวเสา ส่วนหินงอกในบริเวณถ้ำเสาหินนี้ชาวบ้านก็จินตนาการไปว่าเป็นปะการังบ้าง เป็นอย่างโน้นอย่างนี้บ้าง เนื่องจากพื้นผิวที่มีลักษณะตะปุ่มตะป่ำ บางหินมีลักษณะเป็นหน่อไม้ หัวช้าง ควาย กบ หัวหนุมาน สิงโต ช้างหมอบ และยังมีอีกหลายอย่างตามจินตนาการของแต่ละคน หลังจากนั้นเราก็เดินลงมานั่งแพกลับปากถ้ำเหมือนเดิมการเที่ยวถ้ำน้ำลอดแห่งนี้ควรจะเลือกไปในช่วงฤดูหนาวหรือร้อน เพราะระดับน้ำไม่   สุงมากนักและอากาศเย็นสบายดีด้วย การมาเที่ยวช่วงหน้าฝนจะสามารถเที่ยวได้ถ้ำเดียว เนื่องจากระดับน้ำในถ้ำจะสุงมากและเชี่ยวกรากอันตราย ส่วนในเรื่องของราคาแพก็จะคิดอัตราเดียวกันทั้งปี ไม่มีว่าหน้าโลว์ซีซั่นราคาจะถูกกว่า การเตรียมตัวก็ไม่มีอะไรมาก แค่สวมเสื้อผ้าพร้อมลุย สามารถนั่งแพและเดินขึ้นถ้ำได้โดยไม่สะดุดที่สำคัญอย่าลืมนำกล้องติดตัวไว้เก็บภาพความประทับใจของตัวเองที่ถ้ำลอดนะคะ


Similar Posts