Young Chef Awards 2018


เชฟ Jim Ophorst และ เชฟ พลอยอัมพร อายุเจริญ จากประเทศไทย สุดยอดเชฟ 2 ใน 10 คน เข้าสู่รอบชิงชนะเลิศของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

ปีนี้เป็นอีกปีที่วงการอาหารและเครื่องดื่มมีความคึกคักมากเป็นพิเศษ ทั้งในระดับภูมิภาคและในไทยเอง มีรายการแข่งขันเกี่ยวกับการทำอาหารเกิดขึ้นมากมาย ทั้งในรูปแบบเรียลลิตี้ทีวี และในรูปแบบการแข่งขันที่วัดกันจากฝีมือการทำอาหารจริงๆ และหนึ่งในรายการที่เราจะไม่พูดถึงไม่ได้คือรางวัล Young Chef ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

https://www.facebook.com/reviewnowz/videos/881377182009936/

 

เส้นทางสู่การเป็นสุดยอดเชฟรุ่นใหม่ จากเวทีการประลองฝีมือการทำอาหารระดับโลก S.Pellegrino Young Chef ปี 2561 รอบชิงชนะเลิศ (Grand Finale) กำลังก้าวเข้ามาใกล้ทุกที ล่าสุด S.Pellegrino ประกาศรายชื่อสมัครที่ได้รับคัดเลือกเข้าสู่รอบ semi-final หรือระดับภูมิภาค 10 คน จากผู้สมัครนับพันของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จากทั้งหมด 21 ภูมิภาคทั่วโลก โดยปีนี้มีผู้สมัครจากประเทศไทยเข้ารอบมาถึง 2 คน คือเชฟ Jim Ophorst เชฟ เดอ คูซีน (Chef de Cuisine) ของร้านอาหาร PRU จาก ตรีสรา ภูเก็ต และ เชฟ พลอยอัมพร อายุเจริญ เชฟ เดอ ปาร์ตี (Chef de Partie) จากร้านอาหารอิตาเลียน ‘La Scala’ โรงแรมสุโขทัย กรุงเทพฯ

โดยเชฟ Jim Ophorst ได้ผ่านการคัดเลือกเพื่อเข้ารอบชิงชนะเลิศของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ครั้งนี้เป็นปีที่  2 ติดต่อกัน

โดยปีนี้อาหารที่เขาส่งเข้าประกวดและได้รับการคัดเลือกคือ “ดอกกะหล่ำ” (Cauliflower)

ส่วนเชฟ พลอยอัมพร อายุเจริญ เชฟสาวชาวไทย ผ่านเข้ารอบมาเป็นครั้งแรก และที่น่าภูมิใจไปกว่านั้นคือเธอเป็นเชฟหญิงเพียงคนเดียวในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในปีนี้ โดยอาหารที่เธอรังสรรค์ขึ้นส่งประกวดและได้รับคัดเลือกคือ “โฉมงามกับอสูร” (Beauty and the Beast)

นี่ก็เป็นครั้งที่สามแล้วที่เราได้รับเลือกให้เป็นผู้เฟ้นหาเชฟรุ่นใหม่  สำหรับรอบชิงชนะเลิศของแต่ละภูมิภาค แต่เราก็ยังคงประหลาดใจกับพรสวรรค์และความหลงใหลในการรังสรรค์อาหารเลิศรส จากกลุ่มเชฟรุ่นใหม่ที่เต็มเปี่ยมไปด้วยพรสวรรค์ของพวกเขาเหล่านี้ กล่าวโดย Andrea Sinigaglia ผู้จัดการทั่วไป สถาบันการศึกษาและอบรมด้านอาหารอิตาเลียนระดับโลก (ALMA) เราจำเป็นต้องเลือกผู้เข้ารอบรองชิงชนะเลิศเพียง 10 คน จากแต่ละภูมิภาคเพื่อให้เขาเหล่านั้นได้รับโอกาสในการนำเสนอความน่าสนใจของอาหารจานเด่นที่พวกเขารังสรรค์และความสามารถหลาย  อย่าง ซึ่งนั้นก็ไม่ใช่เรื่องง่ายเลยสำหรับเรา นอกจากความรับผิดชอบในการตัดสินแล้ว ก็ต้องมาพร้อมกับการให้โอกาสผู้แข่งขันทุกคนอย่างเท่าเทียมกัน การแข่งขัน S.Pelierrino Young Chef ไม่ใช่เพียงเวทีประกวดที่มีแค่โอกาสที่จะชนะรางวัลเท่านั้น แต่ยังรวมถึงช่วงเวลาหนึ่งในอาชีพกับการแลกเปลี่ยนประสบการณ์และความรู้แก่กันและกัน พร้อมทั้งเรียนรู้ถึงศาสตร์การทำอาหารของแต่ละประเทศอีกด้วย ”  

ตั้งแต่เดือนมิถุนายนถึงธันวาคม 2560 ผู้เข้ารอบสุดท้ายจากแต่ละภูมิภาคนั้นจะต้องแข่งขันพร้อมพบกับความท้าทาย ฝ่าด่านของแต่ละภูมิภาคนั้น ๆ โดยจะมีคณะกรรมการประจำภูมิภาคที่มีอิสระในการตัดสินและคัดเลือกเพื่อเฟ้นหาผู้เข้ารอบสุดท้ายเพียงคนเดียวตามกฎ “Five Golden Rules” เพื่อเข้ารอบชิงชนะเลิศต่อไป

วันนี้นอกจากเราจะได้มาร่วมพูดคุยกับเชฟทั้งสองคน เรายังได้มีโอกาสได้ลองทำอาหารโดยการคิด ลองทำ รังสรรค์อาหารจากวัตถุดิบที่มีอยู่ ถึงแม้เรากับกลุ่มเพื่อนๆที่มีประสบการณ์ในเรื่องกินพอประมาณ ก็ยังออกตัวกันเป็นแถวเลยค่ะว่าการทำอาหารมันไม่ง่าย มันมีเทคนิค มีอะไรที่เราคิดว่ามันน่าจะเป็นอย่างงั้นอย่างงี้ แต่พอได้ลงมือทำกันจริงๆ บอกได้เลยว่าไม่ง่าย แต่ก็สนุกกันมากๆ

ทีมเวิร์คสนุกสนานกันไป เรียนรู้แล้วต้องลงมือลองทำ ลองคิด สร้างสรรค์เมนูอาหารในแบบตัวเอง 

แน่นอนว่าเชฟรุ่นใหม่ทั้ง 2 คนนี้ มีความสามารถ และเปี่ยมล้นด้วยพรสวรรค์ จนได้รับเลือกให้เข้าสู้รอบ semi-final ของภูมิภาคจากคณะกรรมการ โดยฝ่าด่านผู้เข้าร่วมแข่งขันอีกหลายพันคนจากกว่า 90 ประเทศเข้ามาได้ โดยการแข่งขัน S.Pellegrino Young Chef ในครั้งนี้ได้รับความสนใจและการตอบรับมากกว่าปีก่อน ๆ เป็นอย่างมาก จากยอดใบสมัครเข้าการแข่งขันที่เพิ่มขึ้นถึง 30% จากปีที่แล้ว ซึ่งทำให้เห็นว่า เชฟรุ่นใหม่ ๆ นั้นได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของการเรียนรู้สิ่งใหม่ ศาสตร์การทำอาหารที่จะได้รับจากรายการนี้ เป็นการเปิดโอกาสให้ตนเองได้พัฒนาและเพิ่มขีดสามารถด้านการทำอาหารจากทั่วโลก พร้อมทั้งยังได้แบ่งปันความคิดสร้างสรรค์ สัมผัสกับวัฒนธรรมการทำอาหารที่แตกต่างจากของตน ตลอดจนสร้างผลงานของตนเองเพื่อนำไปต่อยอดสาขาอาชีพของพวกเขาได้ด้วย

 

 

รายชื่อเชฟ 10 คน ที่ได้รับการคัดเลือกเข้ารอบชิงชนะเลิศ ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ได้แก่

  • เชฟ Andrea De Paola ซูเชฟ (Sous Chef) จากร้านอาหาร Osteria Art – สิงคโปร์
  • เชฟ Billyanto Billy เชฟ เดอ ปาร์ตี (Chef de Partie) จากร้านอาหารโรงแรม บุลการี โฮเต็ล แอนด์ รีสอร์ท (Bulgari Hotel & Resort) บาหลี – เดนปาซาร์ อินโดนีเซีย
  • เชฟ Jake Kellie ซูเชฟ (Sous Chef) จากร้านอาหาร Burnt Ends – สิงคโปร์
  • เชฟ Jie Shen Ang เชฟ เดอ ปาร์ตี (Chef de Partie) จากร้านอาหาร Mezza9 โรงแรม แกรนด์ ไฮแอท  – สิงคโปร์
  • เชฟ Jim Ophorst จากร้านอาหาร PRU จาก ตรีสรา ภูเก็ต – ไทย
  • เชฟ Kim Leun Chen เชฟ จากร้านอาหาร Sitka Restaurant – มาเลเซีย
  • เชฟ Mickael Farina เชฟที่จากร้านอาหาร Kandolhu Island – มัลดีฟส์
  • เชฟ พลอยอัมพร อายุเจริญ เชฟ เดอ ปาร์ตี (Chef de Partie) จากร้านอาหารอิตาเลียน La Scala โรงแรมสุโขทัย กรุงเทพฯ – ไทย
  • เชฟ Priyam Chatterjee เชฟจากร้านอาหาร Qla  – นิวเดลี อินเดีย
  • เชฟ Seokhyun Han ซูเชฟ (Sous Chef) จากร้านอาหาร Meta – สิงคโปร์

ผมได้รับประสบการณ์ดี มาแล้วจากการได้เข้ารอบรองชนะเลิศปีที่แล้ว สำหรับปีนี้ผมมุ่งมั่นเต็มที่ที่จะได้เก็บเกี่ยวประสบการณ์ที่เยี่ยมยอดจากสุดยอดเชฟรุ่นใหม่ไฟแรงทั้งหลาย ของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในปีนี้อีกครั้ง!” เชฟ Jim Ophorst จากร้านอาหาร PRU จาก ตรีสรา ภูเก็ต กล่าว สำหรับเขาแล้วคงไม่ใช่คนแปลกหน้าสำหรับการแข่งขันในปีนี้ ซึ่งเขาเองก็เปี่ยมไปด้วยมีพรสวรรค์และคุณสมบัติสำหรับเข้ารอบชิงชนะเลิศระดับภูมิภาค ที่เห็นแววเด่นจากการแข่งขันปีที่ผ่านมา

พลอยอัมพร อายุเจริญ เชฟ เดอ ปาร์ตี (Chef de Partie) จากร้านอาหารอิตาเลียน La Scala โรงแรมสุโขทัย กรุงเทพฯ กล่าวว่า ดีใจที่สุดที่ได้รับเลือกให้เป็นตัวแทนจากประเทศไทยและยังเป็นผู้หญิงคนเดียวของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อีกด้วย รู้สึกตื่นเต้นที่จะได้พบปะกับเชฟเก่ง ที่เข้าร่วมแข่งขันจากหลากหลายประเทศเชฟ พลอยอัมพร กล่าว

เชฟผู้ร่วมแข่งขันและอาหารที่ส่งเข้าประกวดนั้นได้รับการประเมินและคัดเลือกโดยผู้เชี่ยวชาญจากสถาบันการศึกษาและอบรมด้านอาหารอิตาเลียนระดับโลก ALMA ซึ่งรับผิดชอบการคัดเลือกผู้เข้ารอบเข้ารอบของแต่ละภูมิภาค โดยผู้เชี่ยวชาญจาก ALMA ทำการประเมินและตัดสินโดยยึดหลัก “Five Golden Rules”  เกณฑ์การตัดสิน 5 ข้อ ได้แก่ วัตถุดิบที่เลือกใช้  ทักษะและความสามารถ สติปัญญาและความเฉียบแหลม ความสวยงาม และความหมาย

 

สำหรับการแข่งขัน S.Pelierrino Young Chef ของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในครั้งนี้จะจัดขึ้นที่สิงคโปร์ ในวันที่ 23 ตุลาคม 2560 โดยมีคณะกรรมการ 5 ท่าน ที่มีชื่อเสียงระดับโลกเข้าร่วมตัดสินในการแข่งขันครั้งนี้ ดังนี้

  • เชฟ Richard Ekkebus จากร้านอาหาร Amber โรงแรม แลนด์มาร์ค แมนดาริน โอเรียนเต็ล (The Landmark Mandarin Oriental) ในฮ่องกง ที่ได้รับมิชลิน สตาร์ระดับสองดาว ทั้งจากฮ่องกงและมาเก๊าถึง 9 ปีซ้อน พร้อมได้รับเลือกให้เป็นร้านอาหารที่ดีที่สุดอันดับที่ 3 ของเอเชียจาก Asia’s 50 Best Restuarants ในปี 2560
  • เชฟ Mingoo Kang จากร้านอาหาร Mingles ใน เกาหลี เป็นร้านอาหารอันดับที่ 15 ของเอเชียและได้รับรางวัลร้านอาหารยอดเยี่ยม ในเกาหลี จาก Asia’s 50 Best Restuarants ในปี 2560
  • เชฟ Chele Gonzalez จากร้านอาหาร Gallery VASK ในฟิลิปปินส์ เป็นร้านอาหารอันดับที่ 35 ของเอเชียและได้รับรางวัลร้านอาหารยอดเยี่ยมในฟิลิปปินส์ จาก Asia’s 50 Best Restuarants ในปี 2560
  • เชฟ Tetsuya Wakuda จากร้านอาหาร Tetsuya’s ใน ออสเตรเลีย และร้านอาหาร Waku Ghin ในสิงคโปร์ ซึ่งเป็นร้านอาหารที่ได้รับมิชลิน สตาร์หนึ่งดาว ในปี 2559 และรางวัล The Diners Club® Lifetime Achievement Award ในปี 2559 จาก Asia’s 50 Best Restuarants
  • เชฟ Vicky Lau จากร้านอาหาร Tate Dining Room & Bar ในฮ่องกง ซึ่งได้รับมิชลิน สตาร์หนึ่งดาว ทั้งจากฮ่องกงและมาเก๊า และเธอเองในปีเดียวกันก็ยังได้รับเลือกให้เป็นเชฟหญิงยอดเยี่ยมของเอเชียในปี 2558 จาก Asia’s 50 Best Restuarants อีกด้วย

ช่วงประมาณสิ้นเดือน ธันวาคม 2560 จะมีการประกาศรายชื่อผู้เข้ารอบสุดท้ายจาก 21คนจากภูมิภาคทั่วโลกอย่างเป็นทางการ เพื่อเข้าไปแข่งขันรอบชิงชนะเลิศ Grand Finale ซึ่งจะจัดขึ้นในเดือนมิถุนายนปี 2561 สำหรับเชฟผู้เข้ารอบสุดท้ายแต่ละคนจะได้รับการจับคู่กับ

“เมนทอร์ เชฟ” (Mentor Chef) ซึ่งก็คือเชฟผู้ทรงคุณวุฒิที่เป็นคณะกรรมการของแต่ละภูมิภาค ซึ่งเชฟเมนเทอร์จะให้คำแนะนำ ฝึกสอน และให้คำปรึกษาเชฟผู้เข้าแข่งขันอย่างใกล้ชิดเพื่อเตรียมอาหารจานเด่นของพวกเขาให้พร้อมสำหรับรอบชนะเลิศระดับนานาชาตินั้นเอง

ยังไงก็อย่าลืมคอยเชียร์และเป็นกำลังใจให้กับตัวแทนจากประเทศไทยกันนะค่ะ สามารถติดตามข้อมูลข่าวสาร เกี่ยวกับการแข่งขันได้ที่  www.sanpellegrino.com


Similar Posts