Storytelling วิธีการทาง content marketing ที่สร้างความน่าสนใจให้โฆษณาและการตลาดมากขึ้น
เวลาดูภาพยนต์ หรือ ดูละคร ทำไมถึงมีความรู้สึกตามและจดจำเรื่องราวเหล่านั้นได้ เคยไหมที่เรื่องราวเหล่านั้นประทับใจมาก ๆ จนต้องไปเปิดดู หรือย้อนดูบ่อย ๆ เพื่อกลับไปดูฉากเหล่านั้น เคยหรือไม่ที่ได้ยินเรื่องใด เรื่องหนึ่งมา กลับประทับความทรงจำโดยไม่รู้ตัว และเคยหรือไม่ที่อ่านิยายหรือหนังสือ จนมีอารมณ์ร่วม มีน้ำตา มีความสนุกกับเรื่องราวเหล่านั้น สิ่งเหล่านี้เกิดขึ้นจากสิ่งที่เรียกว่า Storytelling และนี้คือวิธีการหนึ่งที่ทำการตลาดแบบ Content Marketing ให้ได้ผล
บทความโดย Molek
กระบวนการทำ Content Marketing นั้นมีด้วยกันหลาย ๆ แบบ แต่เมื่อโลกนั้นมีการเปลี่ยนไปในยุค digital ทำให้มีข้อมูลมหาศาลที่เข้าไปในโลกออนไลน์หรือโลก Digital แล้วทำอย่างไรละ ที่จะทำให้เนื้อหาของเราที่ทำนั้นต้องตา ต้องใจ และทำให้ผู้บริโภคนั้นจดจำได้ นี้คือโจทย์ใหม่ที่นักการตลาดเจอ เพื่อดึงความสนใจจากผู้บริโภคให้มาสินใจในสินค้าหรือโฆษณาของตัวเองจาก เนื้อหาอื่น ๆ ซึ่งจากกระบวนการทำ Digital Marketing ที่ผ่านมา สุดท้ายแล้วนักการตลาดนั้นพบว่ามีวิธีดังเดิมที่หลงลืมไปและได้ผลที่สามารถทำได้ นั้นคือการเล่าเรื่องหรือ Storytelling
กระบวนการ Storytelling นั้นไม่ใช่เรื่องใหม่ แต่เป็นเรื่องที่มานานพอ ๆ กับอารยธรรมมนุษย์กำเนิดขึ้น เราเห็นได้จากภาพวาดตามผนังถ้ำ เรื่องราวของกวีในกรีก หรือนิทานต่าง ๆ จนถึงยุคปัจจุบัน เรื่องราวเหล่านี้หลาย ๆ คนคงได้อ่าน ดู หรือฟัง ซึ่งหลาย ๆ คนนั้นก็จะมีตอนที่ประทับใจ หรือจดจำได้ทั้งเรื่องนั้นถ้าชอบในเนื้อหาที่ได้รับมา ทำไมคนถึงชอบเรื่องราวที่เป็น Storytelling เหล่านี้ละ ? นั้นเพราะกระบวนการทาง Storytelling นั้นมีกลไกทางวิทยาศาสตร์และจิตวิทยาที่เข้ามาประกอบกัน
เครดิตภาพจาก nationalgallery.org.uk
ด้วยหลักการทางจิตวิทยา
เรื่องราวที่เล่าผ่าน Storytelling นั้นมีกระบวนการจิตวิทยา เพราะเรื่องราวที่เล่านั้นมักมีความเป็นมนุษย์เข้าไป และมีเรื่องราวทางอารมณ์ของคนนั้นเข้าไป ซึ่งส่วนใหญ่ในเรื่องนั้นจะมีเรื่องราวที่คล้ายคลึงกับคนที่ได้ดู ได้ชมเสมอ ทำให้คนนั้นมีอารมณ์ร่วมกับเรื่องราวนั้นได้ง่าย เพราะรู้สึกว่าตัวเองเป็นส่วนหนึ่งในเรื่องที่กำลังเล่านั้นเอง
เครดิตภาพจากโฆษณาไทยประกันชีวิต
ด้วยหลักการทางวิทยาศาสตร์
หลักการทางวิทยาศาสตร์ของการเล่าแบบ Storytelling นั้น ทำให้มีผลโดยตรงกับสมอง โดยทำให้สมองส่วนการประมวลผลภาพ เสียง กลิ่น การเคลื่อนไหว และความคิด กับส่วนความทรงจำต่าง ๆ นั้นทำงาน นอกจากนี้ยังทำให้เกิดการหลั่งสาร สื่อประสาทชื่อโดปามีน (Dopamine) ทำให้เรามีความสุขในการฟังเรื่องราวเหล่านั้นด้วย
เริ่มต้นอย่างไรดีกับการทำ Storytelling
การจะเริ่มทำ Storytelling นั้นต้องเข้าใจอย่างหนึ่งว่ากระบวนการเล่าเรื่องนั้น จะต้องเล่าในสิ่งที่ผู้ฟังอยากจะฟัง ไม่ใช่สิ่งที่เราอยากจะบอก เพราะฉะนั้นการเล่าเรื่องที่ดีคือส่วนผสมระหว่างเรื่องราวที่แบรนด์อยากจะบอกและเรื่องราวที่ผู้ฟังอยากจะฟัง ซึ่งส่วนผสมของการเล่าเรื่องนั้นจะประกอบด้วย 3 ส่วน
- คนเล่านั้นสามารถสร้างอารมณ์ การสื่อสาร การเล่าเรื่องผ่านน้ำเสียงหรือการแสดงออกได้แค่ไหน หรือใช้คำได้ดีแค่ไหน
- เนื้อหา เรื่องราวนั้นสร้างสรรค์มาดีแค่ไหน มีการสร้างเรื่องราวตามหลักการที่เรียกว่า 5 Act หรือไม่ ซึ่งประกอบด้วย
เครดิตภาพจาก bigthink.com
Introduction : การแนะนำ หรือเกริ่นนำเนื้อเรื่อง เพื่อให้คนรู้จัก
- Rising Action : การปูเรื่องราวสร้างปมของเรื่องราวเพื่อนำไปสู่จุดที่น่าสนใจของเรื่อง
- Climax : จุดสุดยอดของเรื่องที่ทำให้เกิดการผลิกพัน จุดเปลี่ยนที่เกิดขึ้น
- Falling Action : เรื่องราวผลกระทบที่ทำให้เกิดการก้าวข้ามความเป็นมา เพื่อสิ่งที่ดีขึ้น
- Resolution : บทสรุปที่ทำให้เรื่องราวนั้น จากเหตุการณ์ต่าง ๆ มาจบลงด้วยดีได้
- ผู้ฟัง การสร้างเรื่องราวที่ถูกต้องกับผู้ฟัง หรือส่งสารที่เล่าเรื่องไปให้ผู้ฟังที่ถูกกลุ่ม ทำให้เรื่องราวของเรานั้นเข้าถึงคนนั้นได้ง่ายขึ้น และเกิดการบอกต่อได้ดีขึ้น
เครดิตภาพจาก storyboardthat.com
กระบวนการเล่าเรื่องนั้นกลายเป็นยุทธวิธีสำคัญในกลยุทธ์ทางการตลาดต่าง เพื่อสร้างให้คนนั้นประทับใจและจดจำแบรนด์ได้ พร้อมเลือกแบรนด์ของเราจากความทรงจำ และเรื่องราวที่เราส่งต่อและบอกผ่านสารทางสื่อต่าง ๆ นั้น สำหรับนักการตลาดท่านใดที่ยังไม่ทำการเล่าเรื่อง ขอแนะนำให้ลองดูสักครั้งและการตลาดของท่านจะเปลี่ยนไป
เกี่ยวกับผู้เขียน: Molek ฉกาจ ชลายุทธ Head of Strategic Marketing ของ Area39 co., Ltd และ Phoinikas co., Ltd. ทีหนึ่งดูแลกลยุทธ์และยุทธวิธีการตลาดแบบ 360 และคอยจับตากระแสเทรนด์หรือเรื่องราวใหม่ ๆ ในด้านการตลาดและโฆษณาเพื่อนำมาเป็นข้อมูลเชิงลึกเพื่อพัฒนากลยุทธ์ถัดไป
ติดตามอ่านบทความได้ที่ Thai.LuxurySocietyAsia.com LuxurySocietyAsia.com