April fool’s day 2022 จับผิดวันโกหกโลก อันไหนเรื่องจริง อันไหนเรื่องหลอก?
เริ่มต้นเดือนใหม่ กับวันที่ 1 เมษายน 2565 แต่ตามปฏิทินแล้ว มันคือวัน โกหกโลก (April fool’s day) และวันนี้มันคือวันอะไรกันแน่นะ ? และเราจะมีวิธีจับผิดคนที่พูดโกหกได้อย่างไร มาดูกันเลย!
วันโกหกแห่งชาติหรือเมษาหน้าโง่ เป็นวันที่ทุกคนสามารถโกหกหรือปล่อยข่าวลือต่างๆ ที่ไม่เป็นความจริง โดยมีธรรมเนียมคนที่ถูกหลอก ห้ามโกรธคนที่มาโกหก มีจุดเริ่มต้นจากการเปลี่ยนวันขึ้นปีใหม่ สมัยก่อนชาวโรมันและชาวฮินดูเฉลิมฉลองวันปีใหม่ในวันที่ 1 เมษายน
ในปีค.ศ. 1582 สมเด็จพระสันตะปาปาเกรกอรีที่ 13 ได้เปลี่ยนปฎิทินแบบจูเลียนเก่าให้เป๊ะมากขึ้น และเปลี่ยนวันขึ้นปีใหม่เป็นวันที่ 1 มกราคม แตยังมีคนที่สับสนงงงวยและยังส่งการ์ดอวยพรไปหาวันที่ 1 เมษายน เกิดจากการสื่อสารที่คลาดเคลื่อน คนที่ไม่รู้เลยถูกล้อว่าโง่ จนถึงปัจจุบันกลายเป็นธรรมเนียมแกล้งกันในวันโกหกสืบต่อมา จบกันไปแล้วกับประวัติของวันโกหกโลก ห้ามพลาดกับวิธีจับผิดคนโกหก ที่ทำให้คุณรู้ทันคน ทำให้คุณรู้ว่าใครพูดเรื่องจริง หรือหลอกเราอยู่กันแน่
ไม่แสดงออกทางสีหน้า
เป็นอีกวิธีที่เขาไม่ต้องการแสดงออก ให้คนจับผิดได้
ตอบคำถามใช้เวลาในการคิดนาน
สมองคนเราจะคิดถึงเรื่องจริงก่อน การที่จะโกหกจึงซับซ้อน กว่าจะคิดออกมาต่อ ทำให้คิดนานกว่าปกติ หรือบางคนก็ตีมึน ถามกลับเพื่อนเปลี่ยนประเด็นก็มี
คำพูดและท่าทางไม่ไปแนวทางเดียวกัน
สังเกตได้ง่ายๆ ว่าเขาจะแสดงออกมาแปลกๆ ดูผิดปกติ ไม่เป็นธรรมชาติ
ทำตาลุกลี้ลุกลน
การจะจับผิดคนโกหก คุณเคยได้ยินไหมคำว่า “คำว่าสายตามันหลอกกันไม่ได้” หากคุณมองที่ตาแล้ว เขาหลบตา ลุกลี้ลุกลนก็เป็นอันว่า คนนั้นอาจจะกำลังโกหกเราอยู่
พูดเยอะกว่าปกติ
บางคนก็มีพฤติกรรมที่พูดมาก พูดเยอะกว่าปกติ เพื่อปกปิด เพื่อโน้มน้ามให้คนฟังเชื่อในสิ่งที่เขาพูด
ทำสิ่งอื่นๆ โดยที่พวกเขาไม่รู้ตัว
เมื่อพวกเขาเริ่มเครียดกับการโกหก มักจะมีพฤติกรรม ที่ทำให้พวกเขารู้สึกผ่อนคลายมากขึ้น เช่น การจับผม กระดิกเท้า แกว่งเท้า ก้มหน้า เปิดปิดอะไรเล่น
หายใจถี่ๆ
คนที่โกหกจะหายใจถี่ขึ้น เป็นเพราะร่างกายเรากำลังรู้สึกตื่นเต้น ประหม่า รวมถึง เหงื่ออกมากกว่าปกติ ปากแห้ง มักแสดงออกโดยที่เราไม่รู้ตัว
อ้างอิงข้อมูลจาก: (https://shorturl.asia/J5MK7)