แนะนำการใช้งานเครื่องมือคำนวณราคา DW สำหรับมือใหม่
ในบรรดาขั้นตอนการลงทุน DW ทั้งหมด การคำนวณราคา DW นับว่าเป็นอีกหนึ่งสเต็ปสำคัญที่เราไม่อยากให้นักเทรดทั้งมือใหม่และมือโปรมองข้าม เพราะนอกจากขั้นตอนดังกล่าวจะช่วยให้เราทำความเข้าใจและคุ้นเคยกับวิธีการคำนวณเงินสดส่วนต่างในวันซื้อขายวันสุดท้ายแล้ว การคำนวณยังเป็นประโยชน์กับนักลงทุนในแง่ของการจำลองกำไร – ขาดทุนเมื่อถือ DW จนครบกำหนดอายุ เปรียบเทียบกับการขายเพื่อปิดสถานะตามราคาตลาดการซื้อขายอีกเช่นกัน
ถึงแม้ในปัจจุบันนักลงทุนจะสามารถคำนวณราคาได้ง่ายๆ ผ่านแพลทฟอร์มออนไลน์โดยไม่จำเป็นต้องใช้เครื่องคิดเลข แต่ถึงกระนั้นการใช้งานเครื่องมือดังกล่าวอาจจะทำให้ผู้ที่เพิ่งเริ่มลงทุนรู้สึกสับสนเมื่อเริ่มใช้งานเป็นครั้งแรก และเพื่อเป็นการบอกต่อข้อมูลสำคัญ วันนี้เราจึงได้จัดทำขั้นตอนการใช้เครื่องมือคำนวณราคา DW เบื้องต้นขึ้นมา โดยรายละเอียดทั้งหมด มีดังนี้
กรอกรหัสหลักทรัพย์อ้างอิง
เวลาเราเข้าไปที่เครื่องมือคำนวณราคา DW สิ่งแรกที่เราจำเป็นต้องทำคือการกรอกรหัสหลักทรัพย์อ้างอิง โดยรหัสดังกล่าวมักจะประกอบไปด้วยตัวเลขและตัวอักษรสลับกันทั้งหมด 11- 12 หลัก ซึ่งตัวอักษรลำดับที่ 1-4 จะเป็นการบ่งบอกชื่อของหุ้นแม่ที่ DW อ้างอิง ส่วนลำดับต่อมาจะเป็นหมายเลขสมาชิกผู้ออก ในขณะที่ตัวอักษรลำดับที่ 6 จะเป็นการบ่งบอกประเภทของ DW โดย C = Call DW และ P = Put DW ต่อไปจะเป็นตัวเลขที่บ่งบอกว่า DW ตัวนั้นจะหมดอายุในปีและเดือนไหน (YY/MM) ส่วนหลักสุดท้ายจะเป็นตัวอักษร A-Z เพื่อบอกรุ่นของ DW (1-100)
คีย์เวิร์ดสำคัญที่ควรรู้
คีย์เวิร์ดสำคัญที่มักปรากฏในเครื่องมือคำนวณราคา DW มีคร่าวๆ ดังนี้
Effective Gearing – หรืออัตราทดในภาษาไทยคืออัตราที่แสดงถึงการเปลี่ยนแปลงของราคา DW ในกรณีที่หุ้นอ้างอิงมีราคาเปลี่ยนไป ยกตัวอย่าง เช่น หากอัตราทดของ DW ที่เรามีอยู่ที่ 6 เท่า นั่นหมายความว่าหากหุ้นอ้างอิงกับปรับตัวเพิ่มขึ้น 1% DW ของเราก็จะปรับตัวถึง 6 เท่าของราคาหุ้นอ้างอิง
Sensitivity – คือค่าที่ทำหน้าที่บ่งบอกว่าหากเกิดการเปลี่ยนแปลงในหุ้นอ้างอิง 1 ช่อง จะทำให้ราคา DW ของเราปรับตัวกี่ช่อง เช่น หาก Sensitivity เท่ากับ 3 นั่นหมายความว่า หากหุ้นอ้างอิงเปลี่ยน 1 ช่อง ราคาของ DW จะปรับตัว 3 ช่อง
Moneyness – มีไว้เพื่อบ่งบอกสถานะของ DW ประกอบไปด้วย ITM (In-the-money), ATM (At-the-money) และ OTM (Out-the-money)
สำหรับ Call DW: ITM จะเป็นสถานะที่กำหนดว่า DW มีราคาใช้สิทธิต่ำกว่าหุ้นปัจจุบัน ส่วน ATM และ OTM จะมีกำหนดว่า DW มีราคาใช้สิทธิเท่ากับหรือสูงกว่าราคาหุ้นปัจจุบันตามลำดับ
สำหรับ Put DW: ITM จะให้ความหมายว่า DW มีราคาใช้สิทธิสูงกว่าหุ้นปัจจุบัน ในขณะที่ OTM จะบ่งบอกว่า DW มีราคาใช้สิทธิต่ำกว่าหุ้นปัจจุบัน ส่วน ATM จะมีความหมายเหมือนกับใน Call DW
กำหนดข้อมูลเพื่อดูแนวโน้มในอนาคต
หลังจากทราบคีย์เวิร์ดสำคัญที่มักปรากฏบนเครื่องมือคำนวณราคา DWแล้ว ในเครื่องมือดังกล่าวมักจะมีการเปิดโอกาสให้นักลงทุนได้จำลองสถานการณ์ระหว่างการเลือกซื้อขายDW จนครบกำหนดอายุ และการซื้อขายตามสถานะราคาในตลาดว่าตัวเลือกกัน ผ่านการลองกำหนดราคาในการซื้อขายวันสุดท้าย, ราคา Bid DW และต้นทุนเฉลี่ย เป็นต้น