โรคอ้วน น้ำหนักเกิน ค่า BMI (Body Mass Index) เท่าไหร่เทคนิคการดูแลสุขภาพ รู้จักกับฮอร์โมนเกอลิน (Ghrelin) ร่างกายรู้สึกหิว และ ฮอรโมนเลปติน (Leptin)กัน


ภาวะอ้วน BMI (Body Mass Index) สูงมากกว่า 25% เพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 48.28 ของประชากรวัยทำงาน (ข้อมูลจากกรมอนามัย) ส่งสัญญาณอันตรายต่อร่างหลายด้าน ทั้งโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ไขมันอุดตันในเส้นเลือด

ล่าสุดยูเอ็น พบปีที่ผ่านโรคอ้วนคร่าชีวิตประชากรทั่วโลกไปแล้วกว่า 4 ล้านคน ขณะที่ด้านประเทศไทยพบป่วยเบาหวานแตะ 4.8 ล้านคน เสียชีวิตไปแล้วกว่า 200 คน/วัน ซึ่งสาเหตุของโรคมาจากโรคอ้วน ผลพวงจากวิถีชีวิตเร่งรีบ รับประทานอาหารไม่มีคุณค่า ขาดการออกกำลังกาย สะสมความเครียด และมลพิษจากมลภาวะ W9 Wellness แนะเทคนิคการสร้างสมดุลร่างกายควบคุม BMI มาตรฐานควรต่ำกว่า 25% ด้วยการปรับวิถีชีวิต สร้างสุขภาพดี ห่างไกลโรค

ปัจจุบันภาวะน้ำหนักเกินและโรคอ้วน จัดเป็นปัญหาสุขภาพอันดับต้น ๆ ของประชาคมโลก พบมากในแทบทุกประเทศทั่วโลก และยังมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในแต่ละวัน ล่าสุดข้อมูลจากสำนักงานใหญ่สหประชาชาติ หรือ ยูเอ็น ชี้ให้เห็นว่าช่วงปีที่ผ่านมา พบปัญหาโรคอ้วนคร่าชีวิตประชากรทั่วโลกไปกว่า 4 ล้านคน และคาดการณ์ว่าประชากรโลกจะมีภาวะน้ำหนักเกินมากขึ้นในทุก ๆ ปี

จากการสำรวจข้อมูลในระดับนานาชาติ พบว่า ประเทศไทยมีความชุกของภาวะโรคอ้วนโดยมีดัชนีมวลกาย หรือ BMI สูงมากกว่า 25% โดยสูงเป็นอันดับ 2 ในกลุ่มประเทศอาเซียนรองจากมาเลเซียซึ่งคิดเป็นร้อยละ 48.28 จากภาวะโรคอ้วนในคนไทยที่มีแนวโน้มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้คนไทยป่วยเป็นโรคเบาหวานมากถึง 4.8 ล้านคน และเสียชีวิตไปแล้วกว่า 200 คน/วัน โดยเฉพาะในกลุ่มของเด็กและเยาวชนที่มีปัญหาน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นถึง 13.1% นับว่าโรคอ้วนเป็นปัญหาสุขภาพที่คนทุกเพศวัยต่างเผชิญ ซึ่งเป็นผลมาจากวิถีชีวิตแบบเร่งรีบ ทำให้บริโภคอาหารที่ไม่มีคุณค่าทางโภชนาการ ขาดการออกกำลังกาย มีความเครียดสะสม และได้รับมลพิษจากมลภาวะรอบตัว

ในช่วงปีที่ผ่านมา มีผู้ที่เข้ามาปรึกษาปัญหาเรื่องน้ำหนักเกินหรือภาวะอ้วนที่ W9 Wellness Center จำนวนมาก โดยพบปัญหาหลักเกิดจากรูปแบบการใช้ชีวิตและนาฬิกาชีวิตของแต่ละคน ที่ประกอบด้วย การรับประทานอาหารที่มีแคลอรี่เกินกว่าที่ร่างกายจะสามารถเผาผลาญ การพักผ่อนไม่เพียงพอ ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนและทำให้เกิดความหิวมากกว่าเดิม รวมทั้งอยากรับประทานอาหารที่มีแคลอรี่สูง ไม่ได้ออกกำลังกำลังกายหรือขยับตัวเพื่อเผาผลาญไขมันส่วนเกินออก อายุที่มากขึ้น และฮอร์โมนที่ลดลงทำให้อัตราการเผาผลาญช้าลง ส่งผลให้น้ำหนักเพิ่มได้ง่ายขึ้น และบางส่วนที่เกิดร่วมกับปัจจัยทางพันธุกรรม

วิธีป้องกันก่อนเกิดโรคแทรกซ้อน

ควรรับประทานอาหารตามนาฬิกาชีวิต (Circadian eating)

ไม่ทานใกล้เวลานอน

ทานมื้อเช้า และ

เน้นเลือกรับประทานอาหารธรรมชาติแบบพืชเป็นหลัก (Whole-food Plant-based)

หลีกเลี่ยงการประทานน้ำตาลและอาหารแปรรูปเป็นประจำ

ออกกำลังกายหรือสร้างนิสัยให้เป็นคนที่มี Active lifestyle

ทำจิตใจแจ่มใสอยู่เสมอ คิดบวก และรู้จักปล่อยวาง

นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอไม่นอนดึกเป็นนิสัย เพื่อที่จะให้ร่างกายได้สร้างโกรทฮอร์โมน ได้อย่างเต็มที่ เพราะนอกจากจะส่งผลโดยตรงต่อระดับการเผาผลาญไขมันส่วนเกินแล้ว ยังส่งผลต่อระดับฮอร์โมนที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมการรับประทานอาหาร คือ ฮอร์โมนเกอลิน (Ghrelin) ที่จะบอกให้ร่างกายรู้สึกหิว และ ฮอรโมนเลปติน (Leptin) ที่จะบอกให้สมองสั่งการให้หยุดกินและรู้สึกอิ่ม ถ้านอนไม่พอ ร่างกายจะผลิตฮอร์โมนเกอลินเพิ่มขึ้นและ ฮอร์โมนเลปตินลดลง ส่งผลให้รู้สึกหิวอยู่ตลอดและไม่รู้สึกอิ่ม สรุปหลักการคือ กินให้ถูก ร่างกายต้องได้ขยับ เครียดให้น้อย และ นอนให้พอ

นายแพทย์พิจักษณ์ วงศ์วิศิษฎ์ ผู้อำนวยการ ศูนย์ดูแลสุขภาพแบบองค์รวม W9 Wellness Center ในโรงพยาบาลพระรามเก้า เผยเทคนิคเบื้องต้นจากโปรแกรม Holistic Weight Management โปรแกรมดูแลรูปร่างแบบองค์รวมที่ผสมผสานไลฟ์สไตล์ เข้ากับข้อมูลสุขภาพส่วนบุคคล ผ่านการตรวจวิเคราะห์เชิงลึกถึงระดับเซลล์ โดยวิเคราะห์ถึงต้นต่อปัญหาการลดน้ำหนักของแต่ละบุคคล เจาะลึกถึง DNA ความแตกต่างทางพันธุกรรม

การตรวจผ่านเนื้อเยื้อกระพุ้งแก้ม การตรวจเลือด และ รวมไปถึงการตรวจปัสสาวะ เพื่อให้ทราบถึงประสิทธิภาพกระบวนการเผาผลาญของร่างกาย ความต้องการในสารอาหารแต่ละชนิด และรูปแบบการออกกำลังที่เหมาะสมเฉพาะบุคคล รวมถึงระดับความสมดุลของฮอร์โมนต่าง ๆ ของร่างกาย ที่ล้วนเป็นปัจจัยหลักที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการเผาผลาญและการนำไขมันไปใช้ของร่างกาย ซึ่งผลการตรวจทั้งหมดแพทย์จะนำมาวิเคราะห์เพื่อวางแผนโปรแกรมการลดน้ำหนักที่เหมาะสมเฉพาะบุคคล พร้อมคำแนะนำในการเริ่มต้นปรับเปลี่ยนไลฟ์สไตล์ที่สามารถทำได้จริงเพื่อให้การลดน้ำหนักในครั้งนี้มีประสิทธิภาพสูงสุด


Similar Posts