โรคที่เกิดระบบต่อมไร้ท่อคืออะไร ฮอร์โมน ประเภทและการทำงาน


 

โรคระบบต่อมไร้ท่อ (Endocrine system disease) เป็นโรคที่เกิดจากความผิดปกติของอวัยวะต่อมไร้ท่อต่างๆที่ทำหน้าที่ในการผลิตสารชีวเคมีหรือฮอร์โมนสำหรับกระตุ้น และควบคุมการทำงานของอวัยวะต่างๆของร่างกาย โดยความผิดปกติดังกล่าวเป็นผลมาจากการผลิตฮอร์โมนโดยตรง ทั้งผลิตในปริมาณมากเกินไป น้อยเกินไปหรือไม่สามารถผลิตได้เลยทำให้เกิดอาการของโรคต่างๆตามมา ได้แก่

– โรคอ้วน
– คอพอก
– คอพอกเป็นพิษ
– ต่อมไทรอยด์อักเสบ
– มะเร็งต่อมไทรอยด์
– โรคซีแฮน
– โรคแอดดิสัน
– โรคเบาหวาน
– ประจำเดือนผิดปกติ
– นกเขาไม่ขัน

ระบบต่อมไร้ท่อ (Endocrine system) เป็นอวัยวะที่มีกระจายอยู่ทั่วร่างกายในระบบต่างๆ ทำหน้าที่สร้างสารชีวเคมีหรือที่เรียกว่า ฮอร์โมน เพื่อควบคุม และกระตุ้นการทำงานของร่างกาย หรือยับยั้งการทำงานของอวัยวะ ได้แก่ การสืบพันธุ์ การตั้งท้อง การย่อยอาหาร การดูดซึมอาหาร การเผาพลาญพลังงาน การควบคุมปริมาณของเหลวในร่างกาย การควบคุมการทำงานของระบอวัยวะต่างๆ เป็นต้น การทำงานของระบบต่อมไร้ท่อจะทำงานร่วมกับระบบประสาท และสมอง โดยมีสมองส่วนไฮโปธาลามัสทำหน้าที่ในการเชื่อมต่อ

ฮอร์โมนแบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ
1. ฮอร์โมนเปปไทด์หรือฮอร์โมนโปรตีน (peptides hormone or protein hormone) ละลายน้ำได้ดี และมีโมเลกุลขนาดใหญ่ เช่น ฮอร์โมนที่ผลิตจากต่อมใต้สมอง และสมองส่วนไฮโปธาลามัส
2. ฮอร์โมนอนุพันธ์โปรตีนหรืออนุพันธ์กรดอะมิโน (protein derivative or amino acid derivative) เช่น ฮอร์โมนจากต่อมไทรอยด์
3. ฮอร์โมนสเตอร์รอยด์ (steroid hormone) ไม่ละลายน้ำ แต่ละลายได้ดี
ในตัวทำละลาย มีขนาดโมเลกุลเล็ก เช่น ฮอร์โมนจากอัณฑะ หรือรังไข่ เป็นต้น

บทความโดย Luxury Society Asia

ต่อมไร้ท่อชนิดต่างๆ และหน้าที่

1. ต่อมไพเนียล (Pineal gland) เป็นต่อมขนาดเล็กที่อยู่ด้านหลังสมอง จะมีขนาดเล็กลงเมื่ออายุเข้าวัยหนุ่มสาว ทำหน้าที่ในการสร้างฮอร์โมน malatonin ควบคุมการเป็นหนุ่มสาว การเจริญของอวัยวะสืบพันธุ์
2. ต่อมใต้สมองหรือต่อมพิทูอิทารี  (Pituitary gland) เป็นต่อมขนาดประมาณผลองุ่น อยู้ใต้สมองส่วนไฮโปธาลามัส ประกอบด้วยต่อมใต้สมองส่วนหน้า ส่วนกลาง และส่วนหลัง ทำหน้าที่ในการผลิตฮอร์โมนควบคุมการเจริญเติบโต และควบคุมการทำงานของต่อมอื่นๆ
3. ต่อมไทรอยด์ (Thyroid gland) เป็นต่อมที่มีขนาดใหญ่สุด อยู่บริเวณด้านหน้า และด้านข้างของหลอดลมต่ำกว่ากล่องเสียงเล็กน้อย ทำหน้าที่สร้างฮอร์โมนเพื่อควบคุมการเผาผลาญพลังงานของร่างกาย
4. ต่อมพาราไทรอยด์ (Parathyroid gland) เป็นต่อมขนาดเล็กที่ฝังตัวอยู่ในต่อมไทรอยด์ ประกอบด้วยต่อมขนาดเล็ก 2 คู่ อยู่บริเวณปลายด้านบน และปลายด้านล่างของต่อมไทรอยด์ ทำหน้าที่ในการควบคุมแคลเซียม และฟอสเฟตในกระแสเลือด ควบคุมระบบดูดซึมแคลเซียมในร่างกาย
5. ต่อมไทมัส ( Thymus gland ) เป็นต่อมที่อยู่บริเวณทรวงอกขั้วปอดด้านบน ทำหน้าที่ในการสร้างฮอร์โมน thymosin เพื่อสร้าง T lymphocyte สำหรับเป็นภูมิต้านทานโรคให้แก่ร่างกาย
6. ต่อมหมวกไต (Adrenal gland) เป็นต่อมที่อยู่บนไตทั้งสองข้าง ทำหน้าที่ควบคุมการดูดกลับของโซเดียม และโพแทสเซียมในกระแสเลือด สร้างฮอร์โมน cortisol และ corticosterone สำหรับการสร้างกลูโคส อะมิโนแอสิด และไขมัน และสร้างฮอร์โมนเพศบางชนิด
7. ตับอ่อน (Pancreas) เป็นต่อมที่อยู่บริเวณลำไส้เล็กตอนต้น และใต้กระเพาะอาหาร ประกอบด้วยต่อมมีท่อ ทำหน้าที่ผลิตสารที่ช่วยในระบบการย่อยอาหาร และต่อมไร้ท่อ ทำหน้าที่ผลิตฮอร์โมน glucagon และ Insulin สำหรับควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด
8. อัณฑะเพศชาย (Testis) เป็นต่อมเพศชายที่ทำหน้าหน้าสังเคราะห์ และหลั่งฮอร์โมน Testosterone ควบคุมลักษณะความเป็นเพศของชาย
9. รังไข่เพศหญิง (Ovary) เป็นต่อมสำคัญในเพศหญิงประกอบด้วยรังไข่ฝั่งซ้าย และขวา ทำหน้าที่ผลิตฮอร์โมนเพศหญิง Progesterone ควบคุมลักษณะความเป็นเพศของหญิง และสร้างไข่เพื่อการเจริญของตัวอ่อน

การทำงานของต่อมไร้ท่อแต่ละชนิดแตกต่างกันตามอวัยวะเป้าหมายด้วยการผลิต กระตุ้น และควบคุมระดับฮอร์โมนให้อยู่ในระดับปกติ แต่การทำงานของแต่ละฮอร์โมนมีความสัมพันธ์เกี่ยวเนื่องกันจึงมีผลต่อการทำงานของต่อมอื่นๆหากต่อมใดมีการทำงานผิดปกติ ดังนั้น โรคที่เกิดขึ้นกับระบบต่อมไร้ท่อจึงมักเกี่ยวข้องกับการผลิตฮอร์โมนเป็นสำคัญ ทั้งความผิดปกติที่ไม่สามารถผลิตฮอร์โมนได้ ผลิตได้น้อยไม่เพียง และไม่สามารถผลิตได้เลย

โรคระบบอวัยวะรับสัมผัส

บทความโดย Luxury Society Asia


Similar Posts