เศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy)
จากความต้องการใช้ทรัพยากรที่เพิ่มมากขึ้น ทำให้หลายภาคส่วนหันมาให้ความสนใจกับการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรให้คุ้มค่ามากที่สุด โดยภาครัฐได้กำหนดยุทธศาสตร์ 20 ปี ซึ่งมุ่งการพัฒนาที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ขณะที่ภาคประชาชนก็ตื่นตัวและเริ่มปรับเปลี่ยนพฤติกรรมอย่างจริงจัง เช่น การลดใช้ถุงพลาสติก และหันมาใช้ถุงกระดาษหรือถุงผ้า สำหรับภาคเอกชนนั้น นับว่ามีส่วนสำคัญอย่างยิ่งที่จะช่วยให้เกิดการใช้ทรัพยากรได้อย่างคุ้มค่าที่สุดตลอดทั้งห่วงโซ่คุณค่า (Value Chain) ด้วยการนำแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) มาใช้ เพื่อสร้างการเติบโตให้ทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องได้ในระยะยาวอย่างยั่งยืน
ลดขยะได้มหาศาล เมื่อใช้แนวคิด Waste = Resource
จากสถานการณ์ขยะมูลฝอยชุมชนของประเทศไทย พบว่า มีปริมาณการเกิดขยะรวมกันทั้งประเทศประมาณ 27.37 ล้านตันต่อปี คิดเป็นประมาณ 74,998 ตันต่อวัน เฉลี่ยเป็นปริมาณขยะ 1.13 กิโลกรัมต่อคนต่อวัน โดยหากมีการแยกขยะอย่างถูกต้องและทำความสะอาดก่อนทิ้ง จะมีขยะที่สามารถรีไซเคิลได้ถึงร้อยละ 31 ของขยะทั้งหมด สำหรับเอสซีจี ธุรกิจแพคเกจจิ้ง โดยหน่วยงาน Sourcing and Supply Management ซึ่งเป็นผู้จัดหาวัตถุดิบและเศษกระดาษเพื่อนำมาผลิตกระดาษบรรจุภัณฑ์ ก็ได้นำแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) มาใช้ในการดำเนินธุรกิจตั้งแต่กระบวนการจัดหาเศษกระดาษจากจุดรับซื้อที่ผู้บริโภครวบรวมมาขายให้ซึ่งกระจายอยู่ทั่วประเทศ โดยผู้ที่สนใจขายเศษกระดาษ สามารถติดต่อได้ที่ หน่วยงาน Sourcing and Supply Management เอสซีจี โทร. 02-586-4598
เศษกระดาษสู่กระบวนการผลิตตามแนวคิด Circular Economy ส่งต่อคุณค่าสู่ลูกค้า
หลังจากนั้น วัตถุดิบจะถูกนำเข้าสู่กระบวนการผลิตตามแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) ที่เริ่มตั้งแต่การให้ความสำคัญกับกระบวนการออกแบบคุณสมบัติของกระดาษให้มีความบางลง “Light Weight Paper” โดยลดปริมาณการใช้เยื่อกระดาษ แต่ยังคงความแข็งแรงเท่าเดิม ทำให้สามารถนำมาใช้ซ้ำและนำกลับมารีไซเคิลได้ง่าย และการพัฒนากระดาษให้มีสัดส่วนวัตถุดิบรีไซเคิลที่สูงขึ้น ขณะที่กระดาษยังคงแข็งแรงและผิวสะอาด รวมทั้งยังสร้างคุณค่าที่หลากหลายด้วยการออกแบบกระดาษรีไซเคิลเพื่อผลิตเป็นสินค้ารูปแบบต่างๆ เช่น Merchandising Display ชั้นวางสินค้าเพื่อการประชาสัมพันธ์จากกระดาษรีไซเคิล ทดแทนการใช้วัสดุอื่น เป็นต้น ต่อมา ด้านกระบวนการผลิต ได้คำนึงถึงการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่าตลอดห่วงโซ่คุณค่า เช่น การลดการใช้น้ำและพลังงานในกระบวนการผลิต และการนำระบบดิจิทัลหรือนำApplication Tools เข้ามาช่วยเชื่อมต่อข้อมูลระหว่างเอสซีจีและคู่ค้า อำนวยความสะดวกในการซื้อขาย และบริหารจัดการรถขนส่ง เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพตลอดห่วงโซ่คุณค่าให้ดียิ่งขึ้น
สำหรับสินค้าที่ผ่านกระบวนการผลิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมีหลายชนิด อาทิ กล่องกระดาษ Green Carton ถุงกระดาษจากเยื่อรีไซเคิล 100% มีความแข็งแรง สามารถนำกลับมารีไซเคิลได้ ซึ่งลูกค้าสามารถมีส่วนร่วมในการดูแลสิ่งแวดล้อมจากการใช้ผลิตภัณฑ์ที่ใส่ใจตั้งแต่กระบวนการคิดและการผลิต
สินค้ารีไซเคิลวนกลับสู่กระบวนการผลิต สร้างคุณค่าไม่รู้จบ
ธุรกิจแพคเกจจิ้ง เอสซีจี ได้ร่วมมือกับเทสโก้ โลตัส ตั้งแต่ปี 2010 นำกล่องบรรจุสินค้าที่ใช้แล้ว จากเทสโก้ โลตัส กลับสู่โรงงาน เพื่อรีไซเคิลเป็นกระดาษใหม่ โดยเอสซีจีได้พัฒนาวิธีการรวบรวมและจัดเก็บเศษกระดาษและบรรจุภัณฑ์ที่ใช้งานแล้วตลอดห่วงโซ่คุณค่า เพื่อช่วยลดการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ ตลอดจนเอสซีจียังได้นำเทคโนโลยีดิจิทัลมาพัฒนา Digital Platform ให้สอดคล้องกับไลฟ์สไตล์ยุคปัจจุบัน เพื่อช่วยสร้างความสามารถในการแข่งขันให้ธุรกิจและตอบสนองความต้องการของลูกค้า และการเปลี่ยนแปลงของธุรกิจได้อย่างรวดเร็ว
ก้าวต่อไปกับแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy)
เอสซีจี จะยังคงเดินหน้าสร้างความร่วมมือ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของโลก ตลอดจนสร้างสรรค์นวัตกรรมที่ตอบสนองต่อความต้องการของผู้มีส่วนได้เสียให้ดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง ด้วยการพัฒนาต่อยอดความยั่งยืนโดยใช้ประโยชน์จากทรัพยากรให้เกิดประโยชน์สูงสุดตามแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) ผสานกับการนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาปรับใช้ภายในองค์กร ซึ่งจะช่วยยกระดับกระบวนการดำเนินงานตลอดห่วงโซ่คุณค่า เพื่อเป็นรากฐานสำคัญในการสร้างความเข้มแข็งให้ธุรกิจเติบโตควบคู่กับการสร้างความยั่งยืนให้แก่ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกฝ่าย และพร้อมที่จะเป็นหนึ่งในองค์กรต้นแบบที่ช่วยถ่ายทอดและเผยแพร่องค์ความรู้ด้านการพัฒนาอย่างยั่งยืนแก่ผู้ที่สนใจ ด้วยเชื่อมั่นว่าจะมีส่วนช่วยยกระดับอุตสาหกรรมของประเทศไทยให้เจริญก้าวหน้าต่อไป