เป็นหวัดบ่อย โรคไซนัสอักเสบในเด็ก สาเหตุ การป้องกันและการรักษา


เมื่อเด็กมีอาการไอ จาม ไข้ คัดจมูก น้ำมูกไหล แถมบ่นปวดบริเวณใบหน้า แต่พึ่งเป็นมาได้ 2 วัน ผู้ปกครองส่วนใหญ่จะเกิดคำถาม และถามแพทย์ว่าครั้งนี้คงจะไม่ใช่หวัดธรรมดาจะเป็นไซนัสใช่หรือไม่ โดยเฉพาะในบางรายที่มีโรคจมูกอักเสบภูมิแพ้อยู่ด้วย หรือในเด็กบางรายที่มีประวัติป่วยเป็นซ้ำของไซนัสอักเสบ บางครั้งทำให้ผู้ปกครองเกิดความสับสน

การแยกโรคที่พบบ่อย จะมีลักษณะรอยโรคดังนี้
ไข้หวัด (Common cold)
เกิดจากการติดเชื้อไวรัส พบบ่อยกว่าไซนัสอักเสบ เด็กจะมีอาการไข้สูง อ่อนเพลียปวดศีรษะและร่างกาย คัดจมูกแสบจมูก น้ำมูกข้นใสไอระคายคอ และเจ็บคอ ระยะเวลาไม่เกิน 7 วัน ซึ่งอาจเกิดโรคไซนัสอักเสบตามมาได้

โรคจมูกอักเสบภูมิแพ้ (Allergic rhinitis)
มีอาการคัดจมูก จาม น้ำมูกไหลเป็นน้ำใส คันจมูกและคันตาไอแบบค้นคอ แต่จะไม่มีไข้ มีอาการเป็นๆ หายๆ ซึ่งอาจเกิดโรคไซนัสอักเสบตามมาได้

บทความโดย Luxury Society Asia

ไซนัสอักเสบ (Sinusitis)
มีอาการคัดจมูก น้ำมูกข้นเขียว ลมหายใจมีกลิ่น ไอแบบมีเสมหะในคอปวดศีรษะและจมูกซึ่งพบน้อยในเด็กเล็ก ตัวร้อนคล้ายมีไข้

ไซนัสอักเสบ ซึ่งเป็นโรคที่พบบ่อยในเด็กที่มาพบแพทย์และเป็นโรคที่มีการใช้ยาปฏิชีวนะบ่อย ทำให้สิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายของบิดามารดาที่มีมูลค่าสูงในแต่ละปี มักได้ประวัติว่ามีการกลับเป็นซ้ำบ่อยมากหรือเป็นหวัดทุกครั้งจะมีไซนัสตามมาทุกครั้งหรือเป็นเรื้อรังรักษามา 3 – 4 เดือน ไม่หายขาดและต้องกินยาฆ่าเชื้อหลายชนิด

สาเหตุเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียเป็นส่วนใหญ่เนื่องมาจากมีการอุดตันของรูเปิดจากเหตุต่างๆ ทำให้เกิดการคั่งค้างของน้ำมูกในโพรงไซนัส เกิดมีสภาพเหมาะกับการเจริญเติบโตของเชื้อ จนเกิดการอักเสบตามมา ผลตามมาจะยิ่งทำให้มีการบวมและอดตันของรูเปิดไซนัสมากขึ้น เกิดเป็นวงจรการอักเสบอย่างต่อเนื่อง จนกว่าจะมีการหยุดวงจรนี้ได้จึงจะหายจากการอักเสบ

แพทย์ส่วนใหญ่จะแบ่งไซนัสอักเสบออกเป็น
– ไซนัสอักเสบเฉียบพลัน
– ไซนัสอักเสบเรื้อรัง
– ไซนัสอักเสบเฉียบพลัน (Acute sinusitis) เป็นการอักเสบในเวลาไม่เกิน 12 สัปดาห์ เด็กจะมีอาการ น้ำมูกข้นเขียวเหนียว คัดจมูก มีกลิ่นในช่องจมูก ไอแบบมีเสมหะในลำคอ ส่วนน้อยจะมีไข้ต่ำๆ ได้ และปวดบริเวณใบหน้าร่วมด้วย ส่วนใหญ่จะเกิดตามหลังจากป่วยเป็นไข้หวัดที่ปกติอาการต้องหายภายใน 7 วัน แต่อาการกลับแย่ลง ตรวจดูจะพบน้ำมูกข้นเหลืองในช่องจมูกหรือไหลลงในคอ มีเยื้อจมูกบวมแดง อาจจะกดเจ็บบริเวณโหนกแก้มและหัวคิ้ว เชื้อแบคทีเรียที่พบบ่อยเป็น Streptococcus pneumoniae และ Haemophilus

Influenzae
การรักษาตามหลักมีดังนี้
1. ลดปริมาณของเชื้อแบคทีเรียโดยการให้ยาปฏิชีวนะที่ตรงกับเชื้อที่ก่อโรค ซึ่งเป็นหลักของการรักษา สามารถจะทราบเชื้อได้โดยการเก็บหนองในโพรงไซนัสไปเพาะเชื้อ แต่โดยปกติจะไม่ทำ ยกเว้นในเด็กที่มีอาการรุนแรง ยาปฏิชีวะแนะนำให้ใช้ Amoxicilin หรือ Cephalosporin (Azitthromycin, Clarithromycin) ถ้าอาการไม่ดีขึ้นภายใน 48 – 72 ชั่วโมง หรือเคยได้รับยาปฏิชีวนะมาแล้วแนะนำให้ใช้กลุ่ม Amoxicilins/ Clarithromycin
2. ระบายน้ำหนองจากโพรงไซนัสด้วยการล้างจมูกและให้ยาละลายเสมหะ สำหรับการเจาะล้างไซนัสไม่นิยมทำในเด็ก เพราะต้องดมยาสลบและทำได้ยากกว่าผู้ใหญ่
3. เปิดรูเปิดไซนัสให้กว้างมากขึ้น ด้วยการใช้ยาลดบวมและการอักเสบบริเวณนี้ เช่น ยาสเตียรอยด์พ่นจมูก ยาลดบวมของเยื่อบุจมูก เช่น ยาPseudoephidrine ยาหยอดจมูกลดบวม (Iliadine nose drop)
4. ไม่แนะนำให้ยาแก้แพ้ ถ้าไม่มีประวัติโรคภูมิแพ้ เพราะจะทำให้น้ำมูกข้นเหนียว ทำให้การระบายหนองจากโพรงไซนัสไม่ดี
5. แพทย์ส่วนใหญ่จะให้ยาประมาณ 10 – 14 วัน จึงหยุดยาเพื่อป้องกันการกลับเป็นซ้ำ โดยดูว่าอาการดีขึ้นจากน้ำมูกใสขึ้นหรือหายไป ไม่มีอาการคัดจมูกหายใจโล่งและไม่ไอ

ไซนัสอักเสบเรื้อรัง (Chronic sinusitis)
อาการจะคล้ายกับไซนัสอักเสบเฉียบพลัน แต่ไม่รุนแรงเท่าและเป็นเรื้อรัง โดยมีอาการต่อเนื่องไม่หายขาดหายมากกว่า 12 สัปดาห์ ส่วนใหญ่จะมีสาเหตุอื่นนอกเหนือจากไข้หวัดเป็นสาเหตุชักนำให้เกิดไซนัสอักเสบเรื้อรัง ที่ก่อให้เกิดการอุดตันช่องจมูกและรูเปิดไซนัส ดังเช่น
– โรคจมูกอักเสบภูมิแพ้
– ต่อมแอดินอยด์โต
– สิ่งแปลกปลอมในช่องจมูก
– แกนกั้นจมูกคด
– เนื้องอกหรือริดสีดวงจมูก
– โรคภูมิคุ้มกันบกพร่องและมีภูมิคุ้มกันต่ำ ซึ่งพบไม่บ่อย

แพทย์ต้องหาสาเหตุเหล่านี้เพื่อแก้ไข โดยการส่งการตรวจประกอบด้วย
– การส่องกล้องตรวจจมูก จะช่วยให้วินิจฉัยไซนัสอักเสบ ได้แม่นยำขึ้นและสามารถเห็นพยาธิสภาพในช่องจมูกไปพร้อมกับบิดามารดา
– เอกซเรย์ไซนัสจะใช้ร่วมกับการตรวจจมูก ดูว่ามีหนองขังอยู่ในไซนัสหรือไม่
– เอกซเรย์กะโหลก ตรวจดูขนาดของต่อมแอดินอยด์
– เอกซเรย์คอมพิวเตอร์ไซนัสเป็นการตรวจดูการอักเสบของไซนัสได้ถูกต้องแม่นยำ
– การทดสอบภูมิแพ้กับการเจาะเลือดตรวจหาระดับภูมิคุ้มกันซึ่งจะทำในรายที่สงสัยเท่านั้น

บทความโดย Luxury Society Asia

การรักษาไซนัสอักเสบเรื้อรัง
หลักการรักษาจะเหมือนกับไซนัสเฉียบพลันโดยเป็นการให้หารรักษาด้วยยาปฏิชีวนะร่วมกับการแก้ไขสาเหตุชักนำให้เป็นไซนัสอักเสบเรื้อรัง การให้ยาปฏิชีวนะต้องครอบคลุมเชื้อโรคที่ก่อโรคและให้เป็นระยะยางนานถึง 6 – 8 สัปดาห์ โดยการเพาะเชื้อทำเฉพาะในรายที่สงสัยเชื้อดื้อยา มีเด็กน้อยรายที่รักษาด้วยยาปฏิชีวนะแล้วไม่ดีขึ้น และต้องทำการผ่าตัดไซนัสเพื่อเปิดขยายรูไซนัสและโพรงไซนัสเนื่องจากมีเนื้อเยื่อบวมอุดตันในไซนัสและรูเปิดที่เรียกว่า Endoscopic sinus surgery ร่วมกับการแก้ไขสาเหตุชักนำ ดังนี้
– ถ้ามีโรคภูมิแพ้ต้องให้ยาต้านอีสตามีนหรือการฉีดสารภูมิแพ้
– ถ้ามีระดับภูมิคุ้มกันต่ำอาจพิจารณาให้ยาฉีดเพิ่มภูมิคุ้มกัน
– ถ้ามีต่อมแอดินอยด์โตอาจจะต้องทำการผ่าตัดต่อมแอดินอยด์ เพื่อช่วยเปิดทางหายใจไม่ให้เกิดการคั่งค้างของน้ำมูกในช่องจมูกและกำจัดเชื้อโรคที่สะสมอยู่ในต่อมนี้
– ถ้ามีริดสีดวงจมูกต้องทำการผ่าตัดริดสีดวงจมูกออก

โรคแทรกซ้อนของไซนัสอักเสบ
โพรงไซนัสอยู่ใกล้สมองและลูกตา เมื่อมีการอักเสบเชื้ออาจจะลุกลามเข้าสู่กระบอกตา ทำให้เกิดการอักเสบภายในกระบอกตาหรือลุกลามเข้าสู่สมองเกิดเป็นภาวะติดเชื้อในสมอง นอกจากนี้เสมหะที่ไหลลงคออาจจะก่อให้เกิดการอักเสบของทางเดินหายใจส่วนล่าง เช่น หลอดลมและปอดอักเสบได้

การป้องกันไม่ให้เกิดไซนัสอักเสบโดยเฉพาะหลังป่วยเป็นไข้หวัด แนะนำให้ปฎิบัติดังนี้
1. หลีกเลี่ยงการป่วยอาการเป็นไข้หวัดหรือคลุกคลีกับเด็กที่ป่วยเป็นไข้หวัด
2. เมื่อป่วยเป็นไข้หวัด
– ใช้ยาลดเยื่อบุจมูกบวมหรือยาพ่นจมูก
– ห้ามสั่งน้ำมูกแรงๆ หรือถ้าจะสั่งให้ปิดรูจมูกข้างหนึ่งและเปิดอีกข้างไว้
– ดื่มน้ำมากๆ ไม่ให้น้ำมูกเหนียว
– หลีกเลี่ยงการขึ้นเครื่องบิน ถ้าจำเป็นให้ใช้ยาพ่นจมูกลดเยื่อบุจมูกบวมก่อนที่เคลื่อนบินขึ้นลง
3. ถ้าเป็นหวัดเรื้อรังจากโรคภูมิแพ้ ให้รีบรักษาอย่าให้มีอาการเรื้อรังจะเกิดไซนัสแทรกซ้อนได้
4. หลีกเลี่ยงสิ่งระคายเคืองต่อเยื้อทางเดินหายใจ เช่น ควันบุหรี่ ควันรถยนต์
5. ให้มีการพักผ่อนให้พอเพียงและออกกำลังกายสม่ำเสมอ

บทความโดย Luxury Society Asia


Similar Posts