เปิดตัวรถปากานี ฮูไอร่า (Pagani Huayra) คันละ200 ล้านบาทผลิตแค่ 100 คันในโลก
รถยนต์ปากานีนำเข้าโดย บริษัท นิช คาร์ กรุ๊ป จำกัดเป็นตัวแทนจำหน่ายอย่างเป็นทางการเพียงรายเดียวในประเทศไทย เป็นรถที่ใช้เวลาออกแบบรูปทรงของยานยนต์นานถึง 5 ปี
ความพิเศษของปากานีคือ มีการสร้างแบบจำลองขึ้นถึง 8 รูปแบบ รวมถึงแบบจำลองขนาดเท่าของจริง 2ชิ้นโครงหลักชิ้นเดียวไร้รอยต่อแบบ Monocoque ของฮูไอร่าคืองานออกแบบวัสดุคาร์บอน-ไทเทเนียมรูปแบบใหม่ล่าสุด ประตูทรงปีกนกที่ยกขึ้นตั้งแต่ส่วนหลังคา มีความคล่องตัวสูง ใช้วัสดุเชิงประกอบ และเทคโนโลยีขั้นสูงที่ทดสอบประสิทธิภาพครั้งแรกในยานยนต์รุ่น Zonda R ถังเชื้อเพลิงถูกจัดให้อยู่ในตำแหน่งที่มีความปลอดภัยสูงสุดของโครงสร้างบริเวณด้านหลังนักขับ
หุ้มด้วยโครงแข็งนิรภัยที่เป็นวัสดุเชิงประกอบคนละชนิดเพื่อป้องกันแรงกระแทก โดยโครงสร้างรองที่ใช้วัสดุโลหะ Chome Moly (CrMo) มอบอัตราส่วนความแข็งแกร่งต่อน้ำหนักที่ดีเยี่ยม ช่วยเสริมระบบกันสะเทือนให้ทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ โดยทำงานร่วมกับโครงสร้างดูดซับแรงกระแทกขั้นสูง เพื่อการปกป้องผู้โดยสารในกรณีที่เกิดการปะทะแบบฉับพลัน
น้ำหนักเบาเพียง 1,350 กก.เป็นรถสปอร์ตที่มีน้ำหนักเบาที่สุดในคลาส เสริมความสวยงามโครงสร้างไร้รอยต่อแบบ Monocoque ทำให้สามารถลดจำนวนชิ้นส่วนและท่อต่อที่ไม่จำเป็นได้อย่างมาก
12 ลูกสูบ 60° ความจุ 5,980 ซีซี รถยนต์ระดับ GT ที่วิ่งได้เรียบลื่นและนุ่มนวลที่สุด มีกำลังเครื่องสูงถึง 700 แรงม้าและแรงบิดสูงถึง 1,000 นิวตันเมตร ทีมวิศวกรจึงต้องคิดค้นระบบขับเคลื่อนเทอร์โบ เพื่อให้ยานยนต์สามารถตอบสนองได้อย่างฉับไวแม้ลิ้นจ่ายเชื้อเพลิงจะขยับเพียงเล็กน้อยก็ตาม เพื่อให้นักขับสามารถควบคุมรถได้อย่างสมบูรณ์แบบในทุกๆ รอบเครื่องยนต์ และป้องกันการหน่วงของเครื่องที่ไม่พึงประสงค์ในกระบวนการส่งกำลัง
เครื่องยนต์ M158 ได้รับการรับรองผ่านข้อกำหนดด้านสิ่งแวดล้อมที่เข้มงวดที่สุดตามมาตรฐาน EU5 และ LEV2 แม้ว่าเครื่องยนต์รุ่นนี้จะมีกำลังเครื่องเพิ่มขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับเครื่องยนต์ V12 รุ่นอื่นๆ ที่พัฒนามาเพื่อยานยนต์ตระกูลปากานี แต่กลับมีอัตราการปล่อยไอเสียและการใช้เชื้อเพลิงน้อยกว่า ทำให้ฮูไอร่าเป็นยานยนต์ชั้นนำในคลาสรถสปอร์ตแบบ 12 สูบที่มีมูลค่าสูงกว่าในหลายๆ ด้าน เมื่อเปรียบเทียบกับยานยนต์อื่นๆ ในตลาด ระบบการจ่ายเชื้อเพลิงแบบ 2 ระดับใช้ปั๊มที่ควบคุมด้วยไมโครโพรเซสเซอร์ 2 ตัวในการจ่ายน้ำมันเข้าเครื่องยนต์ โดยปั๊มที่สองจะทำงานเมื่อจำเป็นเท่านั้น จึงช่วยลดการใช้พลังงานและภาระความร้อนในช่องทางการจ่ายน้ำมัน เสริมการทำงานด้วยถังเก็บน้ำมันที่ใหญ่ถึง 85 ลิตร เพื่อให้นักขับมั่นใจในการขับเคี่ยวในสนามแข่งขันขนาดใหญ่ได้อย่างเหนือชั้น
ระบบท่อไอเสียไทเทเนียมถูกออกแบบโดย MHG-Fahrzeugtechnik และเป็นระบบท่อตรงของเทคโนโลยีรถแข่งที่ได้รับการพิสูจน์มาแล้วว่าเหมาะสมกับการขับขี่สมรรถนะสูงบนท้องถนน โดยมีน้ำหนักรวมของระบบท่อไอเสียน้อยกว่า 10 กก. ใช้หัวต่อหุ้มไฮโดรโฟมเพื่อลดแรงดันกลับและช่วยให้ไอเสียสามารถระบายได้อย่างราบรื่น วัสดุไทเทเนียมยังช่วยให้ระบบท่อไอเสียมีน้ำหนักเบา และใช้วัสดุอินโคเนล (Incone) ในส่วนของระบบที่ต้องสัมผัสกับอุณหภูมิสูงเพื่อมอบความมั่นใจแก่นักขับ สำหรับการปรับแต่งเสียงระบบท่อได้รับการตรวจสอบอย่างพิถีพิถัน เพื่อให้ได้เสียงกระหึ่มที่กลมกลืนเมื่อเร่งความเร็ว และมีเสียงครางของเครื่องที่บ่งบอกถึงพลังแม้ในยามขับเคลื่อนด้วยความเร็วต่ำ พร้อมเสียงคำรามที่กึกก้องของมอเตอร์และอากาศ ซึ่งชวนให้นึกถึงเครื่องบินความเร็วสูงบนท้องฟ้า
เครื่องยนต์ V12 ของฮูไอร่า จะถ่ายกำลังไปยังล้อต่างๆ ผ่านระบบเกียร์แบบซีเควนเชียล 7 สปีดและครัทช์จานคู่ โดยที่ระบบกระปุกเกียร์มีน้ำหนักเพียง 96 กก. อีกทั้งยังมีการออกแบบให้ส่วนยื่นท้ายมีน้ำหนักถ่วงน้อยที่สุด เพื่อให้การควบคุมเข้าสู่ศูนย์กลางตัวรถมากที่สุด การออกแบบในลักษณะนี้ยังมีประโยชน์อย่างมากเมื่อรถถูกแรงกระแทกจากด้านหลัง ระบบคลัทช์คู่ได้ถูกยกระดับการทำงาน แต่ท้ายที่สุดก็ไม่ได้ถูกเลือกใช้ เพราะจะทำให้น้ำหนักเพิ่มขึ้นราว 70 กก. โดยไม่มีผลด้านการปรับปรุงประสิทธิภาพในช่วงการเปลี่ยนเกียร์
ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านมอเตอร์สปอร์ตของ Xtrac เป็นผู้ผลิตกระปุกเกียร์ให้กับรถรุ่น Zonda R และได้พัฒนาทั้งการออกแบบและการเลือกใช้วัสดุ จนได้ระบบเกียร์ที่แข็งแรงและน้ำหนักเบาที่สุด
ยานยนต์ได้นำคุณสมบัติของปีกมาใช้ในส่วนต่างๆ ทั้งความสูงของส่วนหน้ารถ ซึ่งสามารถปรับระดับได้ตามการขับเคลื่อน ผ่านตัวปรับระดับ 4 ตำแหน่งตามมุมทั้งสี่ด้านของตัวรถ โดยมีจุดประสงค์เพื่อให้การควบคุมเข้าสู่ศูนย์กลางตัวรถมากที่สุดในทุกสภาพการขับขี่ และเพื่อป้องกันการพลิกคว่ำของตัวรถโดยอาศัยหลักอากาศพลศาสตร์ การทำงานของตัวปรับระดับควบคุมโดยหน่วยควบคุม (Control Unit) ที่ทันสมัย ซึ่งรับข้อมูลจากระบบเบรกกันล้อล็อก (ABS) และชุดควบคุมแบบอิเล็กทรอนิกส์ (ECU) ซึ่งจะส่งข้อมูลทั้งความเร็วรถ อัตราการหันเห อัตราเร่งหนีศูนย์กลาง มุมเลี้ยว และตำแหน่งวาล์วปีกผีเสื้อ ขณะเบรก ตัวปรับระดับล้อหลังและระบบกันสะเทือนล้อหน้าจะยกตัวขึ้นเพื่อตอบสนองต่อน้ำหนักที่ถ่ายเทมาและช่วยกระจายน้ำหนักให้สมดุลระหว่างเพลาหน้าและหลัง ทำให้การใช้แรงเบรกที่ล้อหลังมีประสิทธิภาพมากขึ้น
การไหลผ่านของอากาศที่กระทำกับตัวรถถูกนำมาศึกษาอย่างละเอียด โดยตัวระบายความร้อนถูกนำมาหักมุมเพื่อเสริมแรงกดและทำให้อากาศร้อนไหลผ่านออกไปได้ดีที่สุด ตลอดระยะเวลา 4 ปีที่ผ่านมา ยานยนต์ต้นแบบ 5 คันได้ถูกผลิตขึ้นเพื่อทำการทดสอบการวิ่งบนท้องถนน โดยในปัจจุบัน ทำการทดสอบรวมระยะทางแล้วมากกว่า 5 แสนกิโลเมตร และจะทดสอบให้ถึง 1 ล้านกิโลเมตรก่อนเปิดตัวสู่ตลาดในสหรัฐฯ