How To: เน็ตเวิร์คกิ้ง (Business Networking) สำหรับคนบุคลิก Introvert ทำไมคุณต้องมีเพื่อนใหม่ และต้องสร้างพันธมิตรทางธุรกิจ
การเจอคน เจอเพื่อนใหม่ๆ การเริ่มต้นบทสนทนากับคนแปลกหน้า เราจะทำอย่างไร ไม่ให้รู้สึกกลัว กังวล เบื่อ การขจัดความรู้สึกที่ไม่ชอบที่ต้องทำ หมดพลังทุกครั้งหลังงานปาร์ตี้ ทั้งที่คุณก็รู้ว่ามันเป็นสิ่งที่ดีกับตัวคุณต่องานและมันดีกับธุรกิจของคุณก็ตาม
โดย วนิดา ทาร์ดิเวล Luxury Society
หากคุณเป็นค่อนข้างเก็บตัว ขี้อาย ไม่ชอบเจอคน หรือเป็นแนว Introvert กลัวการออกไปเจอคนที่ไม่รู้จัก แล้วเวลาต้องไปงานเลี้ยง งานพบปะสังสรรค์ และงานอื่นๆที่เกี่ยวข้องการธุรกิจและการเข้าสังคมเจอคนใหม่ๆคุณมักจะหาข้ออ้างที่จะไม่ไป
อย่ากังวลไป คุณไม่ได้อยู่คนเดียว การดำเนินบทสนทนาและพูดคุยกับผู้อื่นอย่างง่ายดายเป็นทักษะที่ต้องเรียนรู้ ไม่ใช่อุปนิสัยเฉพาะบุคคล การได้มาซึ่งทักษะนั้น วิธีการจะสร้างความประทับใจให้คู่สนทนา ให้เขาจดจำเราได้นาน มันเป็นอะไรที่ได้มากกว่าแค่การแลกเปลี่ยนนามบัตรกันแน่นอน
เรามีคำถามให้คุณใช้ถามตัวเองก่อนว่าคุณเป็นคนที่ชอบทำสิ่งเหล่านี้หรือเปล่า
ในห้องที่เต็มไปด้วยใบหน้าที่ไม่คุ้นเคย แต่มีคนหนึ่งที่คุณคุ้นเคยหรือรู้จัก คุณก็พุ่งตัวไปหาเขาและทำตัวตัวติดกับเขาเป็นเวลานานระหว่างร่วมงานเลี้ยงหรืองานนั้นๆ
ณ งานสังสรรค์เชิงธุรกิจ-งานสังคม คุณปักหลักยืนที่บาร์ หรือมุมอาหารและเครื่องดื่ม คุณยึดมุมนั้นเป็นหลักถาวรให้ตัวคุณ และคุณก็ติดกับอาหารและมุ่งกับการกินและดื่มอย่างเดียว
หลังจากงานเลี้ยงเลิกได้ชั่วโมงนึงแล้ว คุณยังคงเดินไปรอบๆห้องกล่าวคำทักทายกับผู้คนต่างๆโดยที่ไม่ได้ตั้งเป้าในการต่อยอดจากการสนทนาอย่างแท้จริง
ถ้าคำตอบจากคำถามข้างบนบอกว่า ใช่แล้ว ที่นี้เราอยากแนะนำเทคนิคที่คุณสามารถนำไปใช้ในปรับนิสัยและเริ่มการสร้างเน็ตเวิร์คกิ้งทางธุรกิจได้นะคะ
เมื่อต้องเจอคนใหม่และเริ่มต้นบทสนทนากับคนที่ไม่รู้จักมาก่อน
การเตรียมตัว ก่อนที่จะเข้าร่วมงานเลี้ยงหรืองานธุรกิจ ถ้าคุณรู้ชื่อแขกที่จะมางาน แนะนำใช้เวลาสัก 2 – 3 นาที เราลองหาประวัติคนที่เราอาจจะเจอในงานนั้นล่วงหน้า ดูว่าเขาทำงานอะไร ประวัติคร่าวๆ เราก็จะสำเร็จไปแล้วก้าวหนึ่งก่อนไปงานจริงๆ นอกจากนั้นคิดเกี่ยวกับหัวข้อสนทนาอย่างน้อย 3 หัวข้อ พยายามเชื่อมโยงหัวข้อของคุณให้เข้ากับงานและคนที่เข้าร่วมงานนั้นๆ การพูดคุยเกี่ยวกับหัวข้อที่สร้างสรรค์
เรียนรู้ จดจำและใช้ชื่อบุคคลหรือชื่อคนคนนั้นบ่อยๆ เมื่อพบเจอคนหน้าใหม่ๆให้เรียกชื่อเขาซ้ำหลังจากที่ได้ยินและใช้บ่อยๆระหว่างการสนทนา มันไม่ได้ช่วยแค่เรื่องการสร้างความสัมพันธ์ส่วนตัวแต่ยังแสดงถึงธรรมชาติในการใส่ใจและตั้งใจของคุณด้วย
คอยกล่าวคำทักทายและต้อนรับผู้คนอย่างอบอุ่น ยิ้มแบบจริงใจ อย่ากลัวที่จะเป็นคนแรกที่กล่าวคำทักทายกับผู้คนหน้าใหม่ เพื่อนใหม่ๆ หรือถ้าเขาเป็นผู้ใหญ่เราสามารถรอให้เจ้าภาพแนะนำอย่างเป็นทางการได้ จำไว้ว่าให้เช็คแฮนด์สำหรับชาวต่างชาติหรือถ้าเป็นคนไทยเราก็กล่าวคำทักทายสวัสดี ยกมือไหว้สวัสดีสำหรับผู้ที่มีวัยวุติมากกว่า จำไว้เสมอว่าคนมืออ่อนและถ่อมตัวจะได้เพื่อนง่ายมาก ทั้งสูงวัยกว่าหรืออายุเท่ากันหรือแม้แต่คนอายุน้อยกว่า ไม่มีอะไรเป็นอุปสรรค ที่สำคัญคือต้องทำด้วยความเป็นมิตรและต้องยิ้มแบบปกติ (อย่าเวอร์มาก มันจะดูเฟคไม่จริงใจ)
ใช้การละลายพฤติกรรม ถ้าไม่มีคนที่เรารู้จักเลย หรือไม่มีคนคอยแนะนำ เราก็เปิดบทสนทนาเองได้ ไม่ต้องกลัว ให้คิดตอนเราไปมหาลัยวันแรกๆที่ยังไม่มีเพื่อน เราก็เริ่มแนะนำตัวเองได้แบบเบาๆ เช่นเราชื่อหนุ่ยนะ ยินดีที่ได้รู้จักนะ การละลายพฤติกรรมไม่ได้ให้เพียงแค่โอกาสให้เรา พบเจอผู้คนหน้าใหม่ แต่ช่วยให้ เริ่มก้าวกระโดดเข้าไปในบทสนทนาได้ด้วย แต่ก็ควรหลีกเลี่ยงความเงียบที่น่าอึดอัดเช่นกัน เช่นต่างฝ่ายต่างไม่คุย เงียบใส่กัน
คุณอาจจะเริ่มต่อว่า “เล่าให้ฉันฟังเกี่ยวกับงาน/โปรเจคของคุณให้ฟังหน่อยได้ไหมคะ” “แล้วคุณคิดว่าอะไรเป็นส่วนที่ท้าทาย/สนุกที่สุดในงานของคุณ” “ช่วยเล่าให้ฉันฟังสั้นๆเกี่ยวกับคุณได้ไหมคะ …..” มีหลายๆคำพูดที่เราอาจจะใช้ระหว่างบทสนทนาได้เช่นกัน เช่น “ว้าว! คุณคิดขึ้นมาได้ไงเนี่ยะ ดีจังแชร์ให้ฟังหน่อยซิคะว่ามันมีแรงบันดาลใจมาจากอะไร/มันเริ่มได้ยังไง”
เมื่อดำเนินบทสนทนาไปเรื่อยๆ สิ่งที่เราควรเข้าใจคนอื่น
แสดงความสนใจในบุคคลอื่น นักสนทนาที่เก่งๆจะมาพร้อมกับความสามารถที่จะทำให้ผู้ร่วมสนทนารู้สึกว่าเขาเป็นบุคคลเดียวที่อยู่ในห้องนั้น ทุกคนอยากรู้สึกที่จะเป็นคนพิเศษ และคนต่างๆ แม้แต่คนขี้อาย ก็มักจะชอบคุยเกี่ยวเรื่องตัวเขาเอง
เป็นผู้ฟังที่ดีและอย่าทำตัวมีอิทธิพลในวงสนทนา การสบสายตาแสดงให้เห็นว่าคุณกำลังฟังเขาอยู่ การให้สัญญาณเป็นนัยยะทั้งภาษากายและวาจา ตัวอย่างเช่น การพยักหน้าหรือการใช้วลีว่า “เล่าให้ฟังเพิ่มเติมได้ไหมคะ” “มันฟังดูน่าสนุกนะคะ น่าตื่นเต้นจัง” และ “แล้วเกิดอะไรขึ้นต่อจากนั้น” ก็แสดงให้เห็นว่าคุณก็มีส่วนร่วมกับเขาอยู่
ขุดให้ลึกขึ้น ใช้เวลาระหว่างการสนทนาและอย่ากลัวที่จะถามเกี่ยวกับความคืบหน้าที่ขุดลึกลงไป ถ้าบางคนแค่อธิบายเกี่ยวกับนโยบายไอทีของบริษัท ให้ถามว่าบริษัทหวังที่จะได้อะไรจากการทำนโยบายใหม่นี้ หรือเป้าหมายของการทำคืออะไร
ทำให้เหมาะสม หัวข้อและบทสนทนาที่ชัดเจนอาจะเหมาะสำหรับงานหนึ่งแต่มากเกินสำหรับงานอื่นๆ เช่นกัน ระวังการจุดประเด็นเกี่ยวกับเรื่องความสัมพันธ์ส่วนตัวหรือเรื่องครอบครัว คุณอาจจะพบกับความเสียใจในภายหลัง เราต้องรู้จักสังเกตุคู่สนทนา ดูตาเขา ถ้าเขาอินเรื่องครอบครัวเราคุยได้ลึกได้ แต่เราอย่าลืมว่าทุกคนต่างกันบางคนไม่ชอบให้แตะเรื่องนี้
เคารพผู้อื่นและความคิดคนอื่น ไม่ใช่ทุกคนที่จะเห็นด้วยกับทุกเรื่อง จำไว้ว่าผู้คนยึดมั่นในความคิดของเขา ความขัดแย้งทางความคิดที่อาจเกิดขึ้นได้อาจจะเป็นประตูไปสู่บทสนทนาที่ได้เนื้อความ หรือไอเดียดีๆก็เป็นได้เรียนรู้ที่จะเปิดใจรับฟัง
ก่อนจบและการอำลาจากวงสนทนา
เตรียมพร้อมสำหรับกลยุทธ์การออกจากการสนทนา ยิ่งมีคนในงานมากเท่าไหร่ที่คุณสามารถสร้างเน็ตเวิร์คกิ้งด้วยได้ดีเลยละคะ คุณก็จะยิ่งมีโอกาสที่จะเชื่อมความสัมพันธ์และมีปฏิสัมพันธ์มากขึ้น
สร้างความประทับใจทิ้งท้าย เมื่อเวลาที่ต้องออกจากการสนทนา ให้จากมาด้วยมิตรภาพ รอยยิ้มเสมอ บอกเขาว่าคุณสนุกแค่ไหนที่ได้ร่วมสนทนากับเขาและคุณควรสานต่อมิตรภาพไว้ โดยการขอเบอร์ นามบัตรหรือไลน์ก็ได้เอาไว้ ติดต่อกันได้อีกในอนาคต
คุณต้องจำไว้เสมอว่าเราต้องมีมารยาท อย่า Hard Sell อะไรกับคนอื่นในงานเลี้ยงเด็ดขาด เราคุยเรื่องงานได้ แต่ถ้าจะต่อยอดควรนัดกันเป็นกิจลักษณะในอนาคตไม่งั้นคนอื่นจะกลัวคุณ และไม่อยากเจอหรือได้รับการติดต่อจากคุณอีกเลย
ที่นี้ครั้งหน้าเมื่อคุณต้องเข้าร่วมงานเลี้ยง งานเชิงธุรกิจ หรืองานสังคม คุณก็รู้แล้วว่า คุณควรเดินไปรอบๆห้อง ใช้ทักษะการสนทนาเพื่อพบเจอผู้คนหน้าใหม่ๆและสร้างความสัมพันธ์ทางธุรกิจ ผสมผสานกับความเป็นมิตรของคุณเข้ากับทัศนคติเชิงบวกทำให้เราได้ต่อยอดงานแล้วการสร้างเน็ตเวิร์คกิ้งจะได้ผลสำหรับคุณ และที่สำคัญต้องคิดว่าทุกคนคือเพื่อน เราจะได้เพื่อนใหม่เพิ่มขึ้นทุกๆวัน อย่ากลัวคน ทุกคนมีหลายด้านให้เราได้เรียนรู้ จงสนุกกับการได้ทำความรู้จักกับคนอื่นนะคะ!
เดียววันหลังจะมาแชร์ให้ฟังต่อนะคะ