อาหารเพิ่มน้ำนม วิธีแก้ปัญหาระหว่างให้นม ท่าให้นมลูกที่ถูกต้อง
ท่าสำหรับให้นมลูก
1. ท่าลูกนอนขวางบนตัก
ท่านี้เป็นท่าขณะนั่ง จะต้องจับตัวลูกหันตะแคงเข้าหาตัวมารดา และวางบนตักโดยมีหมอนรองรับ เพื่อให้ลูกสามารถอมหัวนมได้ลึก และจมูกไม่กดกับเต้านมจัดให้ท้องลูกชิดกับท้องมารดา และปากลูกอยู่ตรงหัวนมพอดี ศีรษะ และลำตัวอยู่ในแนวตรง โดยศีรษะอยู่สูงกว่าลำตัวเล็กน้อย เรียกว่า ท่า Cradle ในท่าเดียวกันนี้หากเปลี่ยนใช้มือที่อยู่ด้านเดียวจับที่ศีรษะลูกมาประคองเต้านม ส่วนแขนอีกข้างประคองจับที่ต้นคอ และท้ายทอยลูก เรียก Cross cradle หรือ Modified cradle เป็นท่าที่สาหรับให้ลูกอมหัวนม
2. ท่าฟุตบอล
ท่านี้เป็นท่าขณะนั่ง และจะเหมือนกับท่าแรก โดยแม่อุ้มลูก ใช้ฝ่ามือจับศีรษะบริเวณท้ายทอย แม่สามารถควบคุมการเคลื่อนไหวของศีรษะลูกได้ ส่วนลาแขนแม่ประคองไหล่ ลาตัวลูก ลูกดูดนมแม่ด้านเดียวกับแขนแม่ที่ประคองลูก ลาตัวลูกอยู่ด้านข้างใต้รักแร้แม่ ท่านี้ มีประโยชน์ในรายแม่หลังผ่าตัดคลอด ลูกแฝด ลูกตัวเล็ก คลอดก่อนกาหนด ลูกที่มีปัญหาดูดนมแล้วหลุดบ่อยๆ ลูกที่ป่วย แม่ที่เต้านมใหญ่ ใช้เป็นท่าเปลี่ยนตาแหน่งการกดเหงือกลูกเวลามีปัญหาหัวนมเจ็บแตก
3. ท่านอน
ท่านี้ เป็นท่าขณะนอน โดยให้ลูกนอนตะแคงหันหน้าเข้าหาแม่ ประคองลูกให้ลาตัวชิดแม่ หรือใช้ผ้าอ้อมพับหรือหมอนใบเล็กๆวางด้านหลังลูก เพื่อไม่ให้ลูกหลังพลิกได้ ท่านี้มีประโยชน์ในการให้นมตอนกลางคืน หรือในรายหลังผ่าตัดคลอดวันแรกๆ ที่แม่อาจจะสะดวกในการนอนให้นมมากกว่านั่ง หรือแม่หลังคลอดใหม่ที่อ่อนเพลีย
ข้อสังเกตุการดูดนมของลูกที่ดี
1. ปากลูกอมหัวนม และเต้านมที่ลึก ริมฝีปากถ่างกว้างแนบชิดเต้านม
2. ปลายลิ้นห้อยลงอยู่หลังริมฝีปากล่าง
3. ขณะลูกดูดนม หัวนมจะยืดออก 2 – 3 เท่า ของขนาดปกติ
4. ขากรรไกรล่างชูสูงขึ้นเข้าประกบบริเวณลานนม
5. ขณะดูดนมจะมีการสลับขอลปลายลิ้นส่วนหน้าที่มีลักษณะยกขึ้น แต่ลิ้นส่วนหลังจะกดลงเป็นลูกคลื่น และลิ้นมีลักษณะห่อโอบจากด้านข้างเพื่อรองรับน้ำนมให้ไหลเข้าสู่ด้านในปาก
6. ขณะดูดนม และกลืนน้ำนม ลูกมีการเคลื่อนลงของปากบริเวณขากรรไกรล่าง
วิธีแก้ปัญหาการให้นมลูก
1. หัวนมสั้น แบน บอด บุ๋ม
– ใช้ Syring ช่วยดึงหัวนมที่มีปัญหาให้ถูกดูด 15 นาที จากนั้น ช่วยจัดท่าอุ้มดูดนมแม่อย่างถูกวิธี โดยจัดให้อุ้มในท่าฟุตบอล เพื่อให้ลูกสามารถอมหัวนมได้ลึก
2. หัวนมยาว
– ขณะลูกดูดนม ต้องช่วยประคองเต้านม และดันเนื้อเต้านมให้เข้าปากลูกมากที่สุด
– ระหว่างที่ลูกดูดนม ต้องช่วยบีบเต้านมเพื่อเพิ่มปริมาณน้ำนมให้เข้าปากลูกมากที่สุด
3. หัวนมใหญ่
เทคนิคที่สำคัญ คือ เมื่อลูกสามารถอมหัวนม และลานหัวนมได้แล้ว ต้องพยายามให้เหงือกลูกงับได้ถึงลานหัวนม
– คลึงหัวนม เพื่อทำให้หัวนมหดตัว และมีขนาดเล็กลง โดยใช้นิ้วหัวแม่มือ และนิ้วชี้คลึงไปมา
– จัดท่าในการให้นม คือ ท่าฟุตบอล เพื่อให้ลูกอมหัวนมได้ลึกได้ง่าย เพราะปากลูกจะอยู่ตรงกับระดับหัวนมแม่
– ขณะที่ใช้หัวนมเขี่ยริมฝีปากล่างของลูก และจังหวะที่ลูกอ้าปากกว้าง และอมหัวนมได้ลึกพอ
4. หัวนมเจ็บ และแตก
– ให้มารดาอุ้มลูกให้ถนัด
– ให้ดูดข้างที่เจ็บน้อยกว่า หรือข้างที่ไม่เป็นแผลก่อน เพื่อช่วยบรรเทาอาการเจ็บปวดจากการดูดของลูก
– หากมารดาเจ็บจนทนไม่ได้ พิจารณาให้งดดูด 1-2 วัน และบีบน้ำนมออกทุก 3 ชั่วโมง ป้อนด้วยแก้วแทนการดูดจากเต้า เพื่อให้มารดาได้พักหัวนม ระหว่างนี้แนะนำให้บีบหัวนมเพื่อช่วยสมานแผลสอน และให้สลับท่าอุ้มดูดนม เพื่อลดการดูดทับรอยแผลเดิม หลังจากลูกดูดนมอิ่ม ให้ใช้ประทุมแก้วครอบหัวนม เพื่อลดความระคายเคืองจากการสัมผัสกับเสื้อผ้าโดยตรง
วิธีรักษาน้ำนมมารดาให้เพียงพอต่อการเลี้ยงลูก
ทารกแรกเกิดสามารถมองเห็น ได้ยินเสียง รู้สัมผัส รู้กลิ่น และรู้รสตั้งแต่แรกเกิด ควรเริ่มให้ลูกเริ่มดูดนมมารดาเร็วที่สุดเท่าที่จะเร็วได้
ระยะ 2-3 วันแรกหลังคลอด ระยะนี้เป็นระยะกระตุ้นให้เริ่มสร้างน้ำนม และหลั่งน้ำนมมากที่สุด ข้อแนะนำที่ควรปฏิบัติคือ
การดูดเร็ว หมายถึง การนำทารกมาดูดนมมารดาในช่วงหลังคลอดโดยเร็วที่สุด ควรดูดนมมารดาภายในครึ่งชั่วโมงหลังคลอด เพราะเป็นระยะเวลาที่ทารกคลอดจะตื่นตัวมากที่สุด ทารกจะมีการตื่นตัวมากที่สุด นอกจากนี้ ยังเป็นการส่งเสริมการทาหน้าที่ของ Sucking reflex และทำให้น้ำนมเหลือง และสิ่งคัดหลั่งที่คั่งค้างอยู่ในภายในท่อน้ำนม และถุงน้ำนมของมารดาในระยะแรกถูกระบายออก จึงเป็นระยะที่สามารถก่อให้เกิดสัมพันธภาพระหว่างมารดา และทารก ได้ง่าย และเป็นการรักษาระดับฮอร์โมนโพรแลคตินให้มาอย่างสม่ำเสมอ
การดูดบ่อย หมายถึง การที่มารดาให้ลูกดูดนมบ่อยครั้งตามที่ทารกต้องการ จะเป็นการสร้าง และหลั่งน้ำนมมากขึ้น เพราะยิ่งดูดกระตุ้นบ่อยมารดายิ่งหลั่งโพรแลคตินออกมาในเลือดมากขึ้น ทำให้ฮอร์โมนนี้มีระดับสูงในเลือดเกือบตลอดเวลา เมื่อลูกดูดนมมารดา ระดับโพรแลคตินจะค่อยๆสูงขึ้น และจะมีระดับสูงสุดประมาณ 10-60 นาที และจะค่อยๆลดลงสู่ระดับปกติภายในเวลาประมาณ 3 ชั่วโมง ดังนั้น การให้ลูกได้ดูดนมอย่างน้อย 2- 3 ชั่วโมง จึงมีความจำเป็นต่อความต่อเนื่องของการขับหลั่งฮอร์โมนโพรแลคตินตลอดเวลา 24 ชั่วโมง
การดูดนมได้ถูกต้องเป็นสิ่งที่สำคัญมาก โดยสอดหัวนมเข้าปากให้พอดีกับจังหวะอ้าปากของทารก ให้ลูกอมหัวนมเข้าไปลึกๆจนเหงือกลูกกดบริเวณลานนมเพื่อกดงับน้ำนมให้ไหลเข้าปากได้
การดูดทั้งสองเต้าทุกมื้อ การปลุกลูกตื่นดูดนม หากถึงเวลาผ่านไป 4 ชั่วโมง หลังจากเวลาที่ลูกเริ่มดูดนมมื้อล่าสุด
หลักการพิจารณาว่าลูกได้รับนมเพียงพอ
1. น้ำหนักขึ้นตามเกณฑ์เพิ่มวันละ 30 กรัม/วัน
2. ปัสสาวะ หลังเกิดทารกที่กินนมแม่อย่างเดียวจะถ่ายปัสสาวะประมาณ 1 ครั้ง ในวันแรก 2 ครั้งในวันที่ 2 และ 3 ครั้งในวันที่ 3 หลังจากนี้ จะถ่ายปัสสาวะเพิ่มขึ้น และการถ่ายปัสสาวะแต่ละครั้งจะชุ่มผ้าอ้อม ประมาณ 6- 8 ครั้ง ปัสสาวะสีเหลืองใส สีเหลือง
3. อุจจาระมีลักษณะ จำนวนครั้ง และปริมาณปกติ ระยะ 2- 3 สัปดาห์แรก ทารกที่กินนมแม่จะถ่ายอุจจาระบ่อย ลักษณะกึ่งแข็งกึ่งเหลว ไม่แห้งแข็ง สีเหลือง เนื้อละเอียด ประมาณ 2-3 ครั้ง/วัน หรือเปื้อนผ้าอ้อมหลังกินนมแม่ทุกมื้อได้
4. ภายหลังกินนมอิ่มทารกจะนอนหลับได้นานประมาณ 2-3 ชั่วโมง อารมณ์ดี ดูมีความสุขภายหลังกินนมแม่
5. ได้ยินเสียงกลืนนม เมื่อมารดาสร้างน้ำนมได้มากร่วมกับทารกดูด และกลืนได้ดี
6. เต้านมมารดาตึงก่อนป้อนนม นุ่มหลังดูดนม
7. เต้านมนมมารดาที่ไม่ถูกดูดมีน้านมหยด
สมุนไพรเพิ่มน้ำนมมารดา
1. กะเพราใบสด ใช้ใส่ในแกงเลียง แกงป่าหรือผัดเผ็ดต่างๆ
2. กุ่ยช่าย ใช้ใส่ใน ผัดไทย ผัดตับ ผัดหมู หรือกินสดๆแกล้มกับอาหารอื่นได้
3. กานพลู ใช้ชงในน้ำดื่มหรือใช้เคี้ยว
4. เมล็ดขนุน ใช้ต้มการรับประทาน
5. ขิง ใช้สำหรับชงน้ำดื่มหรือใส่ในอาหาร เช่น ไก่ผัดขิง เป็นต้น
6. ผักโขมหนาม ใช้ทั้งต้นต้มกับน้ำดื่มเช้า เย็น หรือ ใส่ในแกงเลียง แกงจืด และไข่เจียว เป็นต้น
7. ชบาดอกแดง ใช้ใส่แกงแกงเลียง หรือต้มน้ำดื่ม
8. ตำลึง ใช้สำหรับ แกงเลียง แกงจืดเต้าหู้ เป็นต้น
9. ฟักทอง ใช้ทำฟักทองผัดใข่ ฟักทองนึ่ง แกงเลียง เป็นต้น
10. ใบแมงลัก ใช้ใส่ในเเกงเลียง เเกงป่า หรือ ต้มน้ำดื่ม