|

หนังตาหย่อนการแก้ไขหนังตาตก การผ่าตัดและข้อพึงระวัง


หนังตาตกหรือหนังตาหย่อน เป็นลักษณะที่เกิดขึ้นกับหนังตาด้านบนที่เกิดจากสภาพของหนังตาที่มีความยืดย่นมากตกห้อยลงมาปิดทับหนังตาหรือการมองเห็นของตา ทำให้เกิดบุคลิกของตาที่ดูไม่สวยงาม

อาการหนังตาตกหรือหนังตาหย่อนเกิดขึ้นกับทุกวัยใน 2 กรณีคือ
1. ผู้สูงอายุ เมื่ออายุมากขึ้น หนังตาจะเปลี่ยนแปลงสภาพที่มีความยืดหยุ่นมากทำให้ตกลงมาปิดชั้นหนังตาได้ ลักษณะการเกิดหนังตาตกตามวัยนี้มักพบเกิดบริเวณหางตาทั้งสองข้าง

2. วัยทั่วไปที่ไม่ใช่กรณีผู้สูงอายุ เกิดจากกรณีต่างๆ คือ
– สภาพของชั้นหนังตาที่มีความยืดหยุ่นมากตามลักษณะพันธุกรรมของแต่ละคน
– ความผิดปกติของหนังตาบนที่ได้รับมาตั้งแต่กำเนิด
– การสะสมของไขมันใต้ชั้นหนังตามากเกินปกติ ทำให้ชั้นหนังตาตกห้อยลงมา ดูแก่ และร่วงโรยเกินวัย

หนังตาตก

ลักษณะการเกิดหนังตาตกนี้มักพบเกิดบริเวณทั่วไปของหนังตาบน โดยเฉพาะบริเวณที่มีการสะสมของไขมันมาก

การแก้ไขหนังตาตกหรือหนังตาหย่อนสามารถทำได้โดยการผ่าตัดตกแต่งเปลือกตาบริเวณหนังตาที่ห้อยย่นลงมา พร้อมกับกำจัดไขมันส่วนเกินออก ทั้งนี้ การผ่าตัดหนังตาตกอาจทำร่วมกับการผ่าตัดทำตาสองชั้น ก็ได้

ขั้นตอนการผ่าตัด
1. ก่อนเข้ารับการผ่าตัด แพทย์จะอธิบายถึงขั้นตอนการผ่าตัด รวมถึงให้คำปรึกษา ตอบคำถามในประเด็นที่สงสัย

2. ผู้มาใช้บริการนั่งลืมตา โดยแพทย์จะทำการตรวจหนังตาที่ตกหย่อนว่าเป็นชนิดใด มีขนาดมากน้อยเพียงไรที่ต้องผ่าตัด

3. แพทย์จะทำการวัดระยะ และทำเครื่องหมายในแนวผ่าตัด

4. ผู้รับบริการนอนบนเตียงผ่าตัด โดยแพทย์จะเริ่มฉีดยาชาที่หนังตาบนบริเวณจุดผ่าตัด

5. แพทย์จะทำการผ่าตัด ด้วยการกรีดผิวหนังตาตามรอยของแนวผ่าตัดจนถึงชั้นผิวหนังที่มีไขมันสะสมอยู่ โดยนำไขมัน และชั้นหนังที่ย่นบางส่วนออก พร้อมเย็บปิดรอยแผล โดยการเย็บขอบล่างของรอยผ่าตัดเข้ากับปลายเยื่อของกล้ามเนื้อ Levator palpabera superioris พร้อมกับคอยระวังไม่ให้เลือดไหลออกด้วยการจี้ด้วยเครื่องจี้ไฟฟ้า

ในบางรายที่ต้องตัดเนื้อเยื่อหนังตาที่ย่นทิ้งมาก การผ่าตัดอาจมีการขยายแนวผ่าตัดออกมาจนถึงใต้หางตา ซึ่งอาจทำให้เกิดเส้นคล้ายรอยย่นบริเวณหางตา อาการหลังการผ่าตัดอาจเกิดการบวมของแผลซึ่งเป็นอาการปกติ แต่ไม่เจ็บมาก และอาการบวมนี้จะค่อยๆหายเองภายในไม่กี่วัน ซึ่งอาจทำการตัดไหมได้หลังการผ่าตัดประมาณ 7-10 ขึ้นอยู่กับรอยแผลของแต่ละคน สำหรับรอยแผลจะค่อยจางลงภายใน 2-3 เดือน

การปฏิบัติตนหลังการผ่าตัด
– การรับประทานยารักษาแผลหรือระงับอาการปวด ควรเป็นยาที่ได้รับจากแพทย์หรือได้รับคำปรึกษาจากแพทย์เสียก่อน
– ระวังการกระทบกระแทกบริเวณแผล
– ระวังอย่าให้น้ำหรือเหงื่อ รวมถึงสิ่งสกปรกต่างสัมผัสบริเวณแผล เพราะอาจทำให้แผลติดเชื้อ และเน่าได้
– ไม่ควรจับ สัมผัสหรือขยี้บริเวณแผลผ่าตัดทั้งในระยะก่อนตัดไหม และหลังการตัดไหมจนกว่าแผลจะหายสนิท
– ควรมาพบแพทย์เพื่อเข้ารับการตรวจแผลตามวัน และเวลาที่แพทย์นัด

ที่มา


Similar Posts