สุวิทย์ กิ่งแก้ว รองกรรมการผู้จัดการอาวุโส บมจ. ซีพี ออลล์ ผู้ก่อตั้งร้านเซเว่น อีเลฟเว่นในประเทศไทย
ซีพี ออลล์ ผู้ก่อตั้งร้านเซเว่น อีเลฟเว่น ในประเทศไทย ได้เปิดหลักสูตรติวเข้ม “ซีพี ออลล์ ปั้นทายาท SME” เพื่อส่งเสริมผู้ประกอบการรายย่อย และถ่ายทอดองค์ความรู้ใหม่ๆให้ทายาท และ SME รุ่นใหม่ๆ ได้นำไปต่อยอดสร้างความแข็งแกร่งให้กับธุรกิจที่ดำเนินมาตั้งแต่รุ่นพ่อแม่ เพราะแม้ว่าSME จะเป็นธุรกิจขนาดเล็ก แต่วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมนี้ ช่วยกระจายรายได้จากกลุ่มผู้ประกอบธุรกิจไปสู่กลุ่มภาคการผลิตต่างๆ ทำให้เกิดการจ้างงานและประชาชนมีรายได้ กลุ่มธุรกิจ SME เป็นพื้นฐานของภาคธุรกิจ เมื่อกลุ่ม SME ในประเทศส่วนใหญ่แข็งแรง ก็จะทำให้เศรษฐกิจโดยรวมในระดับมหภาคแข็งแรงด้วย
โดยมีการบรรยายในหัวข้อพิเศษจากวิทยากรหลากสาขา อาทิ “ทายาทธุรกิจกับการสร้างความสำเร็จในอนาคต” โดย รวิศ หาญอุตสาหะ กรรมการผู้จัดการ บ.ศรีจันทร์สหโอสถ จำกัด, “ทำไมต้อง Marketing 4.0” โดย ธันยวัชร์ ไชยตระกูลชัย ผู้เชี่ยวชาญด้านการตลาด, “การสร้างแบรนด์SME บนโลกออนไลน์” โดย ปฤณ จำเริญพานิช กรรมการ บ. อินดัสเตรียล รีโวลูชั่น จำกัด และ “Packaging Design สวยงาม เพิ่มมูลค่าสินค้าได้อย่างไร?” โดย พีรวงศ์ จาตุรงคกุล ผู้เชี่ยวชาญด้านการพัฒนาผลิตภัณฑ์และการออกแบบบรรจุภัณฑ์
สุวิทย์ กิ่งแก้ว รองกรรมการผู้จัดการอาวุโส บมจ. ซีพี ออลล์ ผู้ก่อตั้งร้านเซเว่น อีเลฟเว่นในประเทศไทย กล่าวถึงเหตุผลในการจัดอบรมติวเข้มให้ทายาท SME ในครั้งนี้ว่า เป็นเพราะต้องการถ่ายทอดองค์ความรู้ใหม่ๆ ให้ก้าวทันต่อการเปลี่ยนแปลงของโลกยุคปัจจุบัน และช่วยสร้างแรงบันดาลใจให้กับผู้ประกอบการรายย่อย รวมถึงเพื่อเตรียมความพร้อมให้กับทายาทและผู้ประกอบการ SME รุ่นใหม่ ให้สามารถสืบทอดและพัฒนาธุรกิจให้เติบโตได้อย่างยั่งยืนและมั่นคงต่อไป ตามปณิธานขององค์กร “ร่วมสร่างสรรค์และแบ่งปันโอกาสให้ทุกคน”
“ซีพี ออลล์เป็นสะพานเชื่อมระหว่าง SME กับผู้บริโภคมาตลอด ตอนนี้ SME ทั้งประเทศมีประมาณ 3,500,000 คน ซึ่งจำนวนหนึ่งได้มีโอกาสส่งสินค้าถึงมือผู้บริโภคผ่านร้านเซเว่นฯทั่วประเทศ และผ่านช่องทางของทเวนตี้โฟร์ ช็อปปิ้ง โดยได้จัดจำหน่ายสินค้า SME รวมกว่า 13,000 รายการ และมีการพัฒนา SME ให้เติบโตขึ้น
“การเปลี่ยนแปลงสิ่งต่างๆในโลกนี้เร็วมากเพราะเทคโนโลยี SME จึงต้องติดตามเหตุการณ์และพัฒนาธุรกิจอย่างต่อเนื่องให้ทันต่อความเปลี่ยนแปลงในปัจจุบัน และตอบสนองทันความต้องการของผู้บริโภค ผู้ประกอบการรุ่นใหม่จึงควรเรียนรู้เพื่อต่อยอดธุรกิจ SME รายย่อยให้เติบโตได้อย่างยั่งยืน ซึ่งจะเป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตให้ชุมชนและเกษตรกร และช่วยเศรษฐกิจของประเทศอีกทางหนึ่ง”
ด้าน รวิศ หาญอุตสาหะ กรรมการผู้จัดการ บ.ศรีจันทร์สหโอสถ จำกัด กล่าวว่า การพัฒนาธุรกิจของศรีจันทร์นั้นคือการเปลี่ยนแปลงองค์กร เพราะตอนที่เข้ามารับช่วงจากคุณปู่นั้น ธุรกิจศรีจันทร์เล็กมาก ไม่มีแนวโน้มที่จะเติบโต เพราะไม่สามารถขายเป็นโมเดิร์นเทรดได้ จึงมีเพียงสองทางคือเลิกหรือทำต่อเท่านั้น และเมื่อตัดสินใจไปต่อ การเปลี่ยนแปลงสำคัญมาก และทุกวันนี้ก็ยังคงเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ
“การเปลี่ยนแปลงเหมือนถนนที่ยังสร้างไม่เสร็จซะที สร้างไปเรื่อยๆ รีแบรนด์แทบทุกปี และทรัพยากรที่สำคัญที่สุดคือคน คนนี่ล่ะที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงขึ้นมาได้ อย่างไรก็ตามคนเก่งไม่ค่อยอยากทำงานกับบริษัทเล็ก เงินเป็นเพียงส่วนหนึ่งเท่านั้นที่จะดึงดูดคนเก่งมาทำงานกับเราได้ เราต้องรู้ว่าสิ่งที่ดึงดูดคนเก่งได้จริงๆคือเป้าหมายในการทำงาน การได้เรียนรู้ การมีส่วนร่วม การได้รับการยอมรับ คือสิ่งที่คนเก่งสนใจ การเลือกทีมจึงสำคัญมากต่อความก้าวหน้าขององค์กร ในส่วนวิธีการทำงานนั้นสิ่งที่ทำให้ผมรักษาองค์กรและคนไว้ได้คือการให้ฟีดแบ็คทุก 6 อาทิตย์ ทำให้ทุกโปรเจ็คปรับตัวได้อย่างรวดเร็ว ที่สำคัญแผนธุรกิจต้องเริ่มจากลูกค้า ไม่ใช่เริ่มจากห้องประชุม แล้วเอาความเห็นลูกค้ามาปรับปรุง อยากขายใครให้ถามคนนั้น สำรวจให้ถูกและทำให้เร็ว การเริ่มจากลูกค้าจะมีโอกาสสำเร็จสูงมาก หน้าที่ของเราคือทำอย่างไรก็ได้ให้รู้ว่าลูกค้าอยากได้อะไรจริงๆ และทำในสิ่งที่ลูกค้าอยากได้ในผลิตภัณฑ์ของเรา”
ด้าน ปฤณ จำเริญพานิช กรรมการ บ. อินดัสเตรียล รีโวลูชั่น จำกัด กล่าวว่าโซเชียลมีเดียในออนไลน์นั้นทำหน้าที่เป็นโทรโข่ง เพราะแต่ละเครื่องมือมีวัตถุประสงค์ที่ต่างกัน นอกจากนี้ นี่คือยุคสมัยที่ลูกค้าไม่เชื่อในสิ่งที่เจ้าของธุรกิจพูด แต่จะเชื่อในสิ่งที่ลูกค้าด้วยกันบอกต่อ เพราะฉะนั้นสิ่งสำคัญคือจะต้องใช้โซเชียลมีเดียทำให้ลูกค้ารักและบอกต่อแทนเรา
“คนไทยอยู่บนอินเตอร์เน็ตวันละ 9.38 ชั่วโมง ไม่รวมเวลานอน ความสนใจของคนอยู่บนออนไลน์ แต่ให้ลูกค้ารู้จักสินค้าจากออนไลน์ยังไม่พอ ต้องทำให้อยากได้สินค้าตั้งแต่โลกออนไลน์ การทำแบรนดิ้งและการตลาดบนหน้าจอมือถือจึงสำคัญมากที่ทำให้ลูกค้าตัดสินใจตั้งแต่ตอนนั้น ซึ่งที่สุดแล้วคนจะยอมจ่ายเงินให้กับสินค้าที่เขาคิดว่าสามารถมาเติมเต็มหรือแก้ปัญหาให้เขาได้ในราคาที่คุ้มค่าที่สุด ที่สำคัญการสร้างแบรนด์ในโลกออนไลน์ ไม่ใช่การซื้อโฆษณา แต่คือการสร้างความเชื่อและความรักเพื่อให้ลูกค้าบอกต่อ ซึ่งข้อดีของออนไลน์มาร์เก็ตติ้งคือการวัดผลได้อย่างทันทีว่าคุ้มหรือไม่ และปรับตัวได้อย่างรวดเร็ว”
ขณะที่พรรษนันท์ พลสว่าง อายุ 19 ปี ทายาท SME จากบริษัท ทูบี อินเตอร์ ฟู้ดส์ จำกัด ซึ่งขายขนมขาไก่ ยี่ห้อ MOOZA ในร้านเซเว่น อีเลฟเว่น หนึ่งในผู้เข้าร่วมหลักสูตร เปิดเผยว่า ได้เริ่มเข้ามาช่วยครอบครัวดูแลกิจการอย่างเต็มตัวมาราวปีกว่า ซึ่งเรียนไปด้วยและทำงานไปด้วย โดยดูแลเรื่องแพคเกจจิ้งและการตลาด โดยทางซีพี ออลล์มีส่วนช่วยเหลืออย่างมากในการเติบโตของธุรกิจ
“คุณพ่อคุณแม่ตั้งใจตั้งแต่เริ่มต้นทำธุรกิจว่าจะนำสินค้าเข้ามาขายในร้านเซเว่น อีเลฟเว่น ช่วงแรกขายในร้านเซเว่นฯ บางสาขา แต่หลังจากจดทะเบียนบริษัทในปี 2557 ก็ขยายไปทั่วประเทศ ปัจจุบันนอกจากขนมขาไก่รสออริจินัลแล้ว ยังมีสามรส และกำลังจะทำขาไก่จัมโบ้ นอกจากนี้ยังมีมะม่วงหยีคลุกบ๊วยด้วย ซึ่งยอดขายเติบโตตลอด ส่วนหนึ่งมาจากคำแนะนำของซีพี ออลล์ไม่ว่าจะเป็นการปรับแพคเกจจิ้ง เรื่องกฏหมายต่างๆ ซึ่งการเติบโตของเราก็ส่งผลดีกับธุรกิจอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับเราด้วย ทั้งทางด้านเบเกอรี่ และเกษตรกรรายย่อย”
ส่วน วีรภัทร์ ลิไพบูลย์ อายุ 35 ปี ผู้ประกอบการ SME รุ่นใหม่จากบริษัท Jim’s Group Co.,Ltd อีกหนึ่งทายาท SME ที่ร่วมงาน เผยถึงผลิตภัณฑ์ซุปผง เลดี้ แอนนา ที่วางขายผ่านช่องทางทเวนตี้โฟร์ ช้อปปิ้ง ว่าแต่เดิมผลิตภัณฑ์ดังกล่าววางขายอยู่ในต่างประเทศ โดยเริ่มจากแคนาดา อเมริกา ยุโรป ไต้หวัน แล้วถึงกลับมาขายในประเทศไทย โดยมีจุดเด่นคือเป็นเฮลท์ตี้ซุป ควบคุมเรื่องคอเลสเตอรอล ไม่มีผงชูรส แคลอรี่ไม่สูง และมีปริมาณเกลือที่ค่อนข้างต่ำเมื่อเทียบกับซุปโดยทั่วไป เหมาะกับเทรนด์อาหารสุขภาพ โดยช่องทางการจำหน่ายสำคัญก็คือ ทเวนตี้โฟร์ ช้อปปิ้ง ทั้งช่องทางนิตยสาร เว็บไซต์ ฯลฯ เพราะสามารถกระจายให้ถึงคนไทยได้ทั่วประเทศจริงๆ โดยเข้ามาขายประมาณ 2 ปีแล้ว
“ทเวนตี้โฟร์ ช้อปปิ้งสามารถกระจายสินค้าได้ทั่วประเทศ ซึ่งยอดขายถือว่าดี เราก็พัฒนาตลอด โดยส่วนหนึ่งของการพัฒนามาจากการแนะนำของซีพี ออลล์ ทั้งเรื่องรสชาติและโปรโมชั่นต่างๆ ซึ่งที่นี่เป็นที่เดียวที่เราทำโปรโมชั่นของแถมตามคำแนะนำ และสามารถช่วยเรื่องยอดขายได้มาก” ผู้ประกอบการ SME รุ่นใหม่ กล่าวทิ้งท้าย
โดยมีการบรรยายในหัวข้อพิเศษจากวิทยากรหลากสาขา อาทิ “ทายาทธุรกิจกับการสร้างความสำเร็จในอนาคต” โดย รวิศ หาญอุตสาหะ กรรมการผู้จัดการ บ.ศรีจันทร์สหโอสถ จำกัด, “ทำไมต้อง Marketing 4.0” โดย ธันยวัชร์ ไชยตระกูลชัย ผู้เชี่ยวชาญด้านการตลาด, “การสร้างแบรนด์SME บนโลกออนไลน์” โดย ปฤณ จำเริญพานิช กรรมการ บ. อินดัสเตรียล รีโวลูชั่น จำกัด และ “Packaging Design สวยงาม เพิ่มมูลค่าสินค้าได้อย่างไร?” โดย พีรวงศ์ จาตุรงคกุล ผู้เชี่ยวชาญด้านการพัฒนาผลิตภัณฑ์และการออกแบบบรรจุภัณฑ์
สุวิทย์ กิ่งแก้ว รองกรรมการผู้จัดการอาวุโส บมจ. ซีพี ออลล์ ผู้ก่อตั้งร้านเซเว่น อีเลฟเว่นในประเทศไทย กล่าวถึงเหตุผลในการจัดอบรมติวเข้มให้ทายาท SME ในครั้งนี้ว่า เป็นเพราะต้องการถ่ายทอดองค์ความรู้ใหม่ๆ ให้ก้าวทันต่อการเปลี่ยนแปลงของโลกยุคปัจจุบัน และช่วยสร้างแรงบันดาลใจให้กับผู้ประกอบการรายย่อย รวมถึงเพื่อเตรียมความพร้อมให้กับทายาทและผู้ประกอบการ SME รุ่นใหม่ ให้สามารถสืบทอดและพัฒนาธุรกิจให้เติบโตได้อย่างยั่งยืนและมั่นคงต่อไป ตามปณิธานขององค์กร “ร่วมสร่างสรรค์และแบ่งปันโอกาสให้ทุกคน”
“ซีพี ออลล์เป็นสะพานเชื่อมระหว่าง SME กับผู้บริโภคมาตลอด ตอนนี้ SME ทั้งประเทศมีประมาณ 3,500,000 คน ซึ่งจำนวนหนึ่งได้มีโอกาสส่งสินค้าถึงมือผู้บริโภคผ่านร้านเซเว่นฯทั่วประเทศ และผ่านช่องทางของทเวนตี้โฟร์ ช็อปปิ้ง โดยได้จัดจำหน่ายสินค้า SME รวมกว่า 13,000 รายการ และมีการพัฒนา SME ให้เติบโตขึ้น
“การเปลี่ยนแปลงสิ่งต่างๆในโลกนี้เร็วมากเพราะเทคโนโลยี SME จึงต้องติดตามเหตุการณ์และพัฒนาธุรกิจอย่างต่อเนื่องให้ทันต่อความเปลี่ยนแปลงในปัจจุบัน และตอบสนองทันความต้องการของผู้บริโภค ผู้ประกอบการรุ่นใหม่จึงควรเรียนรู้เพื่อต่อยอดธุรกิจ SME รายย่อยให้เติบโตได้อย่างยั่งยืน ซึ่งจะเป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตให้ชุมชนและเกษตรกร และช่วยเศรษฐกิจของประเทศอีกทางหนึ่ง”
ด้าน รวิศ หาญอุตสาหะ กรรมการผู้จัดการ บ.ศรีจันทร์สหโอสถ จำกัด กล่าวว่า การพัฒนาธุรกิจของศรีจันทร์นั้นคือการเปลี่ยนแปลงองค์กร เพราะตอนที่เข้ามารับช่วงจากคุณปู่นั้น ธุรกิจศรีจันทร์เล็กมาก ไม่มีแนวโน้มที่จะเติบโต เพราะไม่สามารถขายเป็นโมเดิร์นเทรดได้ จึงมีเพียงสองทางคือเลิกหรือทำต่อเท่านั้น และเมื่อตัดสินใจไปต่อ การเปลี่ยนแปลงสำคัญมาก และทุกวันนี้ก็ยังคงเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ
“การเปลี่ยนแปลงเหมือนถนนที่ยังสร้างไม่เสร็จซะที สร้างไปเรื่อยๆ รีแบรนด์แทบทุกปี และทรัพยากรที่สำคัญที่สุดคือคน คนนี่ล่ะที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงขึ้นมาได้ อย่างไรก็ตามคนเก่งไม่ค่อยอยากทำงานกับบริษัทเล็ก เงินเป็นเพียงส่วนหนึ่งเท่านั้นที่จะดึงดูดคนเก่งมาทำงานกับเราได้ เราต้องรู้ว่าสิ่งที่ดึงดูดคนเก่งได้จริงๆคือเป้าหมายในการทำงาน การได้เรียนรู้ การมีส่วนร่วม การได้รับการยอมรับ คือสิ่งที่คนเก่งสนใจ การเลือกทีมจึงสำคัญมากต่อความก้าวหน้าขององค์กร ในส่วนวิธีการทำงานนั้นสิ่งที่ทำให้ผมรักษาองค์กรและคนไว้ได้คือการให้ฟีดแบ็คทุก 6 อาทิตย์ ทำให้ทุกโปรเจ็คปรับตัวได้อย่างรวดเร็ว ที่สำคัญแผนธุรกิจต้องเริ่มจากลูกค้า ไม่ใช่เริ่มจากห้องประชุม แล้วเอาความเห็นลูกค้ามาปรับปรุง อยากขายใครให้ถามคนนั้น สำรวจให้ถูกและทำให้เร็ว การเริ่มจากลูกค้าจะมีโอกาสสำเร็จสูงมาก หน้าที่ของเราคือทำอย่างไรก็ได้ให้รู้ว่าลูกค้าอยากได้อะไรจริงๆ และทำในสิ่งที่ลูกค้าอยากได้ในผลิตภัณฑ์ของเรา”
ด้าน ปฤณ จำเริญพานิช กรรมการ บ. อินดัสเตรียล รีโวลูชั่น จำกัด กล่าวว่าโซเชียลมีเดียในออนไลน์นั้นทำหน้าที่เป็นโทรโข่ง เพราะแต่ละเครื่องมือมีวัตถุประสงค์ที่ต่างกัน นอกจากนี้ นี่คือยุคสมัยที่ลูกค้าไม่เชื่อในสิ่งที่เจ้าของธุรกิจพูด แต่จะเชื่อในสิ่งที่ลูกค้าด้วยกันบอกต่อ เพราะฉะนั้นสิ่งสำคัญคือจะต้องใช้โซเชียลมีเดียทำให้ลูกค้ารักและบอกต่อแทนเรา
“คนไทยอยู่บนอินเตอร์เน็ตวันละ 9.38 ชั่วโมง ไม่รวมเวลานอน ความสนใจของคนอยู่บนออนไลน์ แต่ให้ลูกค้ารู้จักสินค้าจากออนไลน์ยังไม่พอ ต้องทำให้อยากได้สินค้าตั้งแต่โลกออนไลน์ การทำแบรนดิ้งและการตลาดบนหน้าจอมือถือจึงสำคัญมากที่ทำให้ลูกค้าตัดสินใจตั้งแต่ตอนนั้น ซึ่งที่สุดแล้วคนจะยอมจ่ายเงินให้กับสินค้าที่เขาคิดว่าสามารถมาเติมเต็มหรือแก้ปัญหาให้เขาได้ในราคาที่คุ้มค่าที่สุด ที่สำคัญการสร้างแบรนด์ในโลกออนไลน์ ไม่ใช่การซื้อโฆษณา แต่คือการสร้างความเชื่อและความรักเพื่อให้ลูกค้าบอกต่อ ซึ่งข้อดีของออนไลน์มาร์เก็ตติ้งคือการวัดผลได้อย่างทันทีว่าคุ้มหรือไม่ และปรับตัวได้อย่างรวดเร็ว”
ขณะที่พรรษนันท์ พลสว่าง อายุ 19 ปี ทายาท SME จากบริษัท ทูบี อินเตอร์ ฟู้ดส์ จำกัด ซึ่งขายขนมขาไก่ ยี่ห้อ MOOZA ในร้านเซเว่น อีเลฟเว่น หนึ่งในผู้เข้าร่วมหลักสูตร เปิดเผยว่า ได้เริ่มเข้ามาช่วยครอบครัวดูแลกิจการอย่างเต็มตัวมาราวปีกว่า ซึ่งเรียนไปด้วยและทำงานไปด้วย โดยดูแลเรื่องแพคเกจจิ้งและการตลาด โดยทางซีพี ออลล์มีส่วนช่วยเหลืออย่างมากในการเติบโตของธุรกิจ
“คุณพ่อคุณแม่ตั้งใจตั้งแต่เริ่มต้นทำธุรกิจว่าจะนำสินค้าเข้ามาขายในร้านเซเว่น อีเลฟเว่น ช่วงแรกขายในร้านเซเว่นฯ บางสาขา แต่หลังจากจดทะเบียนบริษัทในปี 2557 ก็ขยายไปทั่วประเทศ ปัจจุบันนอกจากขนมขาไก่รสออริจินัลแล้ว ยังมีสามรส และกำลังจะทำขาไก่จัมโบ้ นอกจากนี้ยังมีมะม่วงหยีคลุกบ๊วยด้วย ซึ่งยอดขายเติบโตตลอด ส่วนหนึ่งมาจากคำแนะนำของซีพี ออลล์ไม่ว่าจะเป็นการปรับแพคเกจจิ้ง เรื่องกฏหมายต่างๆ ซึ่งการเติบโตของเราก็ส่งผลดีกับธุรกิจอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับเราด้วย ทั้งทางด้านเบเกอรี่ และเกษตรกรรายย่อย”
ส่วน วีรภัทร์ ลิไพบูลย์ อายุ 35 ปี ผู้ประกอบการ SME รุ่นใหม่จากบริษัท Jim’s Group Co.,Ltd อีกหนึ่งทายาท SME ที่ร่วมงาน เผยถึงผลิตภัณฑ์ซุปผง เลดี้ แอนนา ที่วางขายผ่านช่องทางทเวนตี้โฟร์ ช้อปปิ้ง ว่าแต่เดิมผลิตภัณฑ์ดังกล่าววางขายอยู่ในต่างประเทศ โดยเริ่มจากแคนาดา อเมริกา ยุโรป ไต้หวัน แล้วถึงกลับมาขายในประเทศไทย โดยมีจุดเด่นคือเป็นเฮลท์ตี้ซุป ควบคุมเรื่องคอเลสเตอรอล ไม่มีผงชูรส แคลอรี่ไม่สูง และมีปริมาณเกลือที่ค่อนข้างต่ำเมื่อเทียบกับซุปโดยทั่วไป เหมาะกับเทรนด์อาหารสุขภาพ โดยช่องทางการจำหน่ายสำคัญก็คือ ทเวนตี้โฟร์ ช้อปปิ้ง ทั้งช่องทางนิตยสาร เว็บไซต์ ฯลฯ เพราะสามารถกระจายให้ถึงคนไทยได้ทั่วประเทศจริงๆ โดยเข้ามาขายประมาณ 2 ปีแล้ว
“ทเวนตี้โฟร์ ช้อปปิ้งสามารถกระจายสินค้าได้ทั่วประเทศ ซึ่งยอดขายถือว่าดี เราก็พัฒนาตลอด โดยส่วนหนึ่งของการพัฒนามาจากการแนะนำของซีพี ออลล์ ทั้งเรื่องรสชาติและโปรโมชั่นต่างๆ ซึ่งที่นี่เป็นที่เดียวที่เราทำโปรโมชั่นของแถมตามคำแนะนำ และสามารถช่วยเรื่องยอดขายได้มาก” ผู้ประกอบการ SME รุ่นใหม่ กล่าวทิ้งท้าย