|

สายสะดือคืออะไร (umbilical cord) ความสำคัญ การดูแล ประโยชน์และหน้าที่สายสะดือ


ร่างกายของหญิงตั้งครรภ์จะสลับซับซ้อน และผิดไปจากเดิมเมื่อเทียบกับยังไม่ตั้งครรภ์ เพราะมีทารกอาศัยอยู่ในครรภ์ โดยร่างกายหญิงตั้งครรภ์ และทารกจะแยกออกเป็นเอกเทศกัน กลายเป็น 2 ห้อง ที่แยกด้วย placenta membrane แต่จะเชื่อมต่อกันด้วยรก (placenta) และสายสะดือ (umbilical cord)

สายสะดือ (umbilical cord) คือ สายเชื่อมระหว่างทารกกับรกเพื่อทำหน้าที่ส่งผ่านสารอาหาร และออกซิเจนจากเลือดมารดาไปให้แก่ทารก และนำของเสียออกมาสู่มารดา โดยสายสะดือจะประกอบด้วยเส้นเลือด 3 เส้น คือ
– หลอดเลือดดำ 1 เส้น เป็นเส้นเลือดที่มีขนาดใหญ่ มีความดันเลือดประมาณ 20 มม. ปรอท ทำหน้าที่นำพาสารอาหาร และออกซิเจนไปสู่ทารก ซึ่งเส้นเลือดชนิดนี้สามารถนำผ่านสารเคมี และยาบางชนิดไปสู่ทารกได้
– หลอดเลือดแดง 2 เส้น มีขนาดเล็กกว่าหลอดเลือดดำ มีความดันเลือดประมาณ 60 มม. ปรอท ทำหน้าที่ลำเลียงของเสียที่เกิดในทารกออกมาสู่มารดา ทั้งนี้ ในหญิงตั้งครรภ์บางรายอาจพบหลอดเลือดแดงเพียงเส้นเดียวก็ได้ และถือเป็นความผิดปกติของสายสะดือในหญิงตั้งครรภ์ที่พบบ่อยที่สุด

ลักษณะทั่วไปของสายสะดือ
สายสะดือในหญิงตั้งครรภ์ ปกติจะมีขนาด 1-2.5 เซนติเมตร ยาวประมาณ 30-100 เซนติเมตร แต่เฉลี่ยจะพบยาวประมาณ 55 เซนติเมตร คือ มีความยาวประมาณเท่ากับความยาวของลำตัวทารก มีเลือดประมาณ 125 ml/kg น้ำหนักตัว ซึ่งทั่วไปภายนอกจะมีลักษณะขาวขุ่น เป็นเส้นยาว และบิดเป็นเกลียว ซึ่งช่วยให้สายสะดือไม่พับงอ เพราะหากสายสะดือพับงอจะทำให้เลือดไม่สามารถไหลเวียนไปเลี้ยงทารกได้ และจะทำให้ทารกเสียชีวิตในครรภ์ตามมา

หลอดเลือดแดงทั้ง 2 เส้น ถึงแม้จะมีขนาดเล็กกว่า แต่ผนังหลอดเลือดจะหนากว่าหลอดเลือดดำ ซึ่งประกอบด้วยกล้ามเนื้อเรียบ 2 ชั้น ชั้นในสุดเป็นกล้ามเนื้อชนิดตามยาว ส่วนชั้นนอกเป็นกล้ามเนื้อชนิดวงกลม ซึ่งทั้งหลอดเลือดแดง และหลอดเลือดดำจะอาศัยกล้ามเนื้อวงกลมในการหดตัว และการคลายตัว

หลอดเลือดในสายสะดืออาจมีความยาวมากกว่าสายสะดือ เพราะมีการคดงอไปตามความยาวของสายสะดือ ซึ่งบางครั้งอาจพบหลอดเลือดโป่งออกจนเป็นปุ่มปมให้เห็นบริเวณด้านนอกสายสะดือ ที่เรียกว่า ปมเทียม (false knot) หรือบางครั้งที่สายสะดือยาวมากเกินไปก็อาจพบสายสะดือผูกเป็นปมได้เช่นกัน ลักษณะนี้เรียกว่า true knot และหากมีการผูกแน่นมากก็จะทำให้เลือดไม่ไหลเวียน ทำให้ค้าง และอุดตันในบริเวณดังกล่าวจนจนบวมหรือพองเป็นก้อนเลือดให้เห็น ส่งผลทำให้ทารกไม่ได้รับสารอาหาร และออกซิเจน จนเสียเสียตามมาในที่สุด นอกจากนั้น การมีสายสะดือที่ยาวมากเกินไปยังเสี่ยงต่อการพันรัดคอทารก แต่มีโอกาสเกิดน้อยมาก เพราะทารกมีการขยับร่างกายตลอด ซึ่งที่สำคัญหญิงตั้งครรภ์ต้องเข้ารับการตรวจสภาพครรภ์อย่างเป็นประจำ

นอกจากนั้น หลอดเลือดแดง และหลอดเลือดดำที่พบแล้ว อาจพบสิ่งที่คล้ายหลอดเลือดที่เรียกว่า urtrachus คือ ส่วนที่เหลือจากท่อ allantois ซึ่งเป็นส่วนที่ติดระหว่างกระเพาะปัสสาวะกับ allantois ซึ่งจะพบได้ในหลังคลอด

%e0%b8%ab%e0%b8%8d%e0%b8%b4%e0%b8%87%e0%b8%95%e0%b8%b1%e0%b9%89%e0%b8%87%e0%b8%84%e0%b8%a3%e0%b8%a3%e0%b8%a0%e0%b9%8c

ความแตกต่างระหว่างหลอดเลือดสายสะดือกับหลอดเลือดทั่วไป
1. หลอดเลือดสายสะดือจะไม่มีระบบประสาทอัตโนมัติ ขณะที่หลอดเลือดทั่วไปจะมีระบบประสาทอัตโนมัติ
2. พบลักษณะเฉพาะที่เรียกว่า fold and nodule of Hoboken และ semilunar folds ที่หลอดเลือดดำ
3. หลอดเลือดสายสะดือจะไม่มีท่อส่งอาหาร และเปลือกหุ้ม ขณะที่หลอดเลือดทั่วไปมีท่อส่งอาหาร และเปลือกหุ้ม
4. หลอดเลือดสายสะดือไม่มีลิ้นหลอดเลือด
5. หลอดเลือดสายสะดือมีการกระจายตัวของ elastic tissue
6. ผนังหลอดเลือดสายสะดือประกอบด้วยเนื้อเยื่อเกี่ยวพัน (connective tissue) บางๆ
7. หลอดเลือดสายสะดือเกิดการพัฒนาให้หลอดเลือดมรการหดตัวอย่างแรง

จากลักษณะของเลือดเลือดสายสะดือที่แตกต่างจากหลอดเลือดทั่วไปข้างต้น ทำให้การไหลเวียนเลือด และการหดตัวของหลอดเลือดส่วนมากจะเกิดขึ้นจาก local factor ที่ผลิตขึ้นในหลอดเลือดสายสะดือขณะตั้งครรภ์ สารเหล่านั้น ได้แก่ autacoid และhormones เป็นต้น

ทั้งนี้ ยา และสารเคมีบางชนิดที่มารดารับประทานเข้าไปจะผ่านเข้าสู่สายสะดือทางเยื่อรก ซึ่งจะไม่ถูกทำลายขณะส่งผ่าน ทำให้เข้าสู่สายสะดือ และเข้าสู่ร่างกายทารกได้

สายสะดือ (umbilical cord) และหน้าที่สายสะดือ


Similar Posts