สมาคมไทยผู้ประกอบธุรกิจเงินร่วมลงทุน สมาคมฟินเทคประเทศไทย สมาคมการค้าเฮลท์เทคไทย สมาคมโปรเกรมเมอร์ไทย ชมรมผู้ประกอบการโลจิสติกส์อิเล็กทรอนิกส์ สตาร์ทอัพรุ่นใหม่ และตัวแทนนิสิต นักศึกษา เยาวชนไทย จาก STARTUP Thailand League
ดร. สุวิทย์ เมษินทรีย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (วท.) พร้อมผู้บริหารจากสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (สนช.) นำผู้แทนวิสาหกิจเริ่มต้นหรือสตาร์ทอัพ จากสมาคมการค้าเพื่อส่งเสริมผู้ประกอบการเทคโนโลยีรายใหม่ สมาคมไทยผู้ประกอบธุรกิจเงินร่วมลงทุน สมาคมฟินเทคประเทศไทย สมาคมการค้าเฮลท์เทคไทย สมาคมโปรเกรมเมอร์ไทย ชมรมผู้ประกอบการโลจิสติกส์อิเล็กทรอนิกส์ สตาร์ทอัพรุ่นใหม่ และตัวแทนนิสิต นักศึกษา เยาวชนไทย จาก STARTUP Thailand League รวมประมาณ 600 ราย เข้าพบและยื่นข้อเสนอ “THAILAND TOWARDS STARTUP NATION” เพื่อการขับเคลื่อนประเทศไทยสู่ “ประเทศแห่งสตาร์ทอัพ” (Thailand: Startup Nation) ภายในปี 2564 ซึ่งจะเป็นเครื่องจักรทางเศรษฐกิจตัวใหม่ที่สร้างการเปลี่ยนแปลงต่อเศรษฐกิจและสังคมของประเทศไทย ทั้งด้านรายได้ การลงทุน และการจ้างงาน โดยมีเป้าหมายสร้างผลกระทบเชิงเศรษฐกิจ 5% ของ GDP ประเทศไทย เพิ่มการจ้างงาน 50,000 ตำแหน่ง เพิ่มจำนวนวิสาหกิจเริ่มต้นที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม 1,000 ราย โดยกำหนด Position ของประเทศไทย เป็น แพลทฟอร์มสำหรับสตาร์ทอัพจากทั่วโลกเพื่อเข้าสู่ตลาดเอเชีย (Thailand is Startup’s Global Platform of Asia)
ในการก้าวไปสู่การเป็น “ประเทศแห่งสตาร์ทอัพ” ต้องได้รับการพัฒนาให้เกิดระบบนิเวศที่เอื้อต่อการเติบโตของสตาร์ทอัพ การอำนวยความสะดวกในการประกอบธุรกิจ และการลงทุนทั้งภายในประเทศและจากต่างประเทศ จึงมีข้อเสนอขอรับการสนับสนุนจากรัฐบาล ใน 7 ประเด็นสำคัญ ได้แก่ 1) ควรส่งเสริมให้การจัดตั้งและประกอบกิจการวิสาหกิจเริ่มต้นในประเทศเป็นไปอย่างสะดวก โดยจัดตั้ง หน่วยงานที่กากับดูแลวิสาหกิจเริ่มต้นโดยเฉพาะการจัดตั้งหน่วยงานบริการแบบจุดเดียวเบ็ดเสร็จ (One Stop Service: “OSS”) 2) ควรให้การสนับสนุนทางการตลาดรวมไปถึงการขยายกิจการวิสาหกิจเริ่มต้นไปยังต่างประเทศ ทั้งตลา ดภาครัฐ ตลาดภาคเอกชนและตลาดความร่วมมือระหว่างประเทศ 3) ควรให้การสนับสนุนเพื่อดึงดูดบุคลากรที่มีทักษะสูงต่อระบบนิเวศวิสาหกิจเริ่มต้นในไทย โดยอาจสนับสนุนในรูปแบบของการให้งบประมาณสนับสนุนจากภาครัฐเป็นค่าตอบแทนในการฝึกงานในวิสาหกิจเริ่มต้นหรือการให้สิทธิประโยชน์ทางด้านภาษี 4) ควรสนับสนุนให้การใช้เทคโนโลยีขั้นสูงตั้งแต่ขั้นตอนการพัฒนา โดยให้ความช่วยเหลือแก่สถาบันการศึกษาที่คิดค้นนวัตกรรมหรืออาจจัดตั้งกองทุนสำหรับสนับสนุนการใช้เทคโนโลยีขั้นสูงโดยจัดสรรงบประมาณไว้สำหรับเรื่องนี้โดยเฉพาะ 5) ควรส่งเสริมการเข้าถึงแหล่งเงินทุนและการระดมทุนของวิสาหกิจเริ่มต้น เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับนักลงทุน 6) ควรส่งเสริมให้มีการสร้างสังคมผู้ประกอบการ โดยให้ความสำคัญต่อการพัฒนาทักษะและความรู้ด้านเทคโนโลยีและความเป็นผู้ประกอบการ รวมถึงสนับสนุนให้ผู้คนในทุกช่วงอายุให้สามารถเป็นผู้ประกอบการได้ และ 7) ควรให้การสนับสนุนการพัฒนานวัตกรรมและการจัดตั้งหน่วยงานที่เป็นศูนย์รวมข้อมูลที่เกี่ยวข้อง โดยควรให้มีกฎหมายที่เอื้ออำนวยให้เกิดการทดสอบและพัฒนานวัตกรรมและมีระบบโครงสร้างพื้นฐานของระบบนิเวศวิสาหกิจเริ่มต้นในภาพรวมระดับประเทศ อาทิ กฎหมายการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว กฎหมายบริษัทจำกัดและข้อจำกัดอื่นๆ เช่น ข้อจำกัดในเรื่องของการแปลงหนี้เป็นทุน การเสนอขายหุ้นให้แก่บุคคลอื่นซึ่งมิใช่ผู้ถือหุ้นเดิม เป็นต้น ทั้งยังควรจัดให้มีศูนย์วิสาหกิจเริ่มต้นแห่งชาติเพื่อทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางการติดต่อให้ข้อมูลและบริการภายในระบบนิเวศของวิสาหกิจเริ่มต้น
“จะเห็นได้ว่าในแต่ละประเทศได้มีการออกกฎหมาย รวมถึงนโยบายช่วยเหลือและ ส่งเสริมวิสาหกิจเริ่มต้นด้วยเล็งเห็นว่าธุรกิจรูปแบบนี้จะนามาซึ่งความก้าวหน้าทางนวัตกรรมให้แก่ประเทศของตนและมีบทบาทในระดับโลก ซึ่งการสนับสนุนต่างๆ ของแต่ละประเทศจะมีความแตกต่างกันไปตามสภาพเศรษฐกิจและสังคม รวมทั้งจุดแข็งและจุดอ่อนของประเทศนั้นๆ เพื่อให้เกิดความเหมาะสมแก่ประเทศของตนมากที่สุด สำหรับประเทศไทยนั้นมีการวางรากฐานทางกฎหมายต่างๆ ที่เอื้อต่อการส่งเสริมวิสาหกิจเริ่มต้นในระดับหนึ่ง แต่อย่างไรก็ตามยังปรากฏข้อจำกัดที่เป็นอุปสรรคต่อการดึงดูดนักลงทุน ซึ่งถ้าสามารถแก้ไขข้อจากัดเหล่านี้ อาจจะเป็น การเปิดโอกาสให้นักลงทุนเข้ามาลงทุนในประเทศไทยมากขึ้น” ดร.สุวิทย์ ระบุ
ในการก้าวไปสู่การเป็น “ประเทศแห่งสตาร์ทอัพ” ต้องได้รับการพัฒนาให้เกิดระบบนิเวศที่เอื้อต่อการเติบโตของสตาร์ทอัพ การอำนวยความสะดวกในการประกอบธุรกิจ และการลงทุนทั้งภายในประเทศและจากต่างประเทศ จึงมีข้อเสนอขอรับการสนับสนุนจากรัฐบาล ใน 7 ประเด็นสำคัญ ได้แก่ 1) ควรส่งเสริมให้การจัดตั้งและประกอบกิจการวิสาหกิจเริ่มต้นในประเทศเป็นไปอย่างสะดวก โดยจัดตั้ง หน่วยงานที่กากับดูแลวิสาหกิจเริ่มต้นโดยเฉพาะการจัดตั้งหน่วยงานบริการแบบจุดเดียวเบ็ดเสร็จ (One Stop Service: “OSS”) 2) ควรให้การสนับสนุนทางการตลาดรวมไปถึงการขยายกิจการวิสาหกิจเริ่มต้นไปยังต่างประเทศ ทั้งตลา ดภาครัฐ ตลาดภาคเอกชนและตลาดความร่วมมือระหว่างประเทศ 3) ควรให้การสนับสนุนเพื่อดึงดูดบุคลากรที่มีทักษะสูงต่อระบบนิเวศวิสาหกิจเริ่มต้นในไทย โดยอาจสนับสนุนในรูปแบบของการให้งบประมาณสนับสนุนจากภาครัฐเป็นค่าตอบแทนในการฝึกงานในวิสาหกิจเริ่มต้นหรือการให้สิทธิประโยชน์ทางด้านภาษี 4) ควรสนับสนุนให้การใช้เทคโนโลยีขั้นสูงตั้งแต่ขั้นตอนการพัฒนา โดยให้ความช่วยเหลือแก่สถาบันการศึกษาที่คิดค้นนวัตกรรมหรืออาจจัดตั้งกองทุนสำหรับสนับสนุนการใช้เทคโนโลยีขั้นสูงโดยจัดสรรงบประมาณไว้สำหรับเรื่องนี้โดยเฉพาะ 5) ควรส่งเสริมการเข้าถึงแหล่งเงินทุนและการระดมทุนของวิสาหกิจเริ่มต้น เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับนักลงทุน 6) ควรส่งเสริมให้มีการสร้างสังคมผู้ประกอบการ โดยให้ความสำคัญต่อการพัฒนาทักษะและความรู้ด้านเทคโนโลยีและความเป็นผู้ประกอบการ รวมถึงสนับสนุนให้ผู้คนในทุกช่วงอายุให้สามารถเป็นผู้ประกอบการได้ และ 7) ควรให้การสนับสนุนการพัฒนานวัตกรรมและการจัดตั้งหน่วยงานที่เป็นศูนย์รวมข้อมูลที่เกี่ยวข้อง โดยควรให้มีกฎหมายที่เอื้ออำนวยให้เกิดการทดสอบและพัฒนานวัตกรรมและมีระบบโครงสร้างพื้นฐานของระบบนิเวศวิสาหกิจเริ่มต้นในภาพรวมระดับประเทศ อาทิ กฎหมายการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว กฎหมายบริษัทจำกัดและข้อจำกัดอื่นๆ เช่น ข้อจำกัดในเรื่องของการแปลงหนี้เป็นทุน การเสนอขายหุ้นให้แก่บุคคลอื่นซึ่งมิใช่ผู้ถือหุ้นเดิม เป็นต้น ทั้งยังควรจัดให้มีศูนย์วิสาหกิจเริ่มต้นแห่งชาติเพื่อทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางการติดต่อให้ข้อมูลและบริการภายในระบบนิเวศของวิสาหกิจเริ่มต้น
“จะเห็นได้ว่าในแต่ละประเทศได้มีการออกกฎหมาย รวมถึงนโยบายช่วยเหลือและ ส่งเสริมวิสาหกิจเริ่มต้นด้วยเล็งเห็นว่าธุรกิจรูปแบบนี้จะนามาซึ่งความก้าวหน้าทางนวัตกรรมให้แก่ประเทศของตนและมีบทบาทในระดับโลก ซึ่งการสนับสนุนต่างๆ ของแต่ละประเทศจะมีความแตกต่างกันไปตามสภาพเศรษฐกิจและสังคม รวมทั้งจุดแข็งและจุดอ่อนของประเทศนั้นๆ เพื่อให้เกิดความเหมาะสมแก่ประเทศของตนมากที่สุด สำหรับประเทศไทยนั้นมีการวางรากฐานทางกฎหมายต่างๆ ที่เอื้อต่อการส่งเสริมวิสาหกิจเริ่มต้นในระดับหนึ่ง แต่อย่างไรก็ตามยังปรากฏข้อจำกัดที่เป็นอุปสรรคต่อการดึงดูดนักลงทุน ซึ่งถ้าสามารถแก้ไขข้อจากัดเหล่านี้ อาจจะเป็น การเปิดโอกาสให้นักลงทุนเข้ามาลงทุนในประเทศไทยมากขึ้น” ดร.สุวิทย์ ระบุ