มะเร็งกล่องเสียงสาเหตุ อาการ การกระจายของมะเร็งไปสู่ต่อมน้ำเหลืองและวิธีรักษามะเร็งกล่องเสียง
มะเร็งกล่องเสียง (Laryngeal Cancer) เป็นมะเร็งที่เกิดขึ้นในกล่องเสียง เมื่อเกิดแล้วจะทำรู้สึกเจ็บปวดบริเวณคอหอย มีอาการไอ เสียงแหบ กลืนอาหารลำบาก หากปล่อยเรื้อรังจะทำให้กล่องเสียงเสียหายจนต้องผ่าตัดกล่องเสียงออก
ชนิดมะเร็งกล่องเสียง
1. Glottis tumor เกิดที่ true vocal cord จากระดับสายเสียงแท้ลงมา 5 มิลลิเมตร และขอบเขตด้านบน คือ laryngeal ventricle ตำแหน่งที่พบรอยของโรค ได้แก่ สายเสียงข้างเดียวหรือ 2 ข้าง บริเวณ subglottic ที่ไม่เกิน 5 มิลลิเมตร anterior หรือ posterior commissure และ vocal process ของ arytenoids
2. Supra glottis tumor เนื้องอกอยู่ในบริเวณตั้งแต่ขอบของ epiglottis ถึง laryngeal ventricle
3. Aryepiglottic fold ถือว่าเป็น marginal lesion ซึ่งมีการดำเนินโรคเหมือนมะเร็งที่ pyriform sinus
4. Subglottic tumor มะเร็งที่เกิดขึ้นที่บริเวณต่ำกว่าระดับขอบของสายเสียงแท้ ลงมาถึงขอบล่างของกระดูกอ่อน cricoids
5. Transglottic tumor เป็นมะเร็งที่ข้าม ventricle มีรอยโรคทั้งที่บริเวณสายเสียงแท้และสายเสียงเทียม หรือผ่าน subglottic ลงมามากกว่า 5 มิลลิเมตร
6. Superior hypopharyngeal tumor เป็นมะเร็งที่เกิดขึ้นบริเวณ epiglotti ทางด้าน vallecula หรือ โคลนลิ้นที่อยู่ต่ำกว่า circumvallate papillae และขอบด้านล่างของ superior hypopharynx
7. Inferior hypopharyngeal tumor (pyriform sinus) เป็นมะเร็งที่เกิดบริเวณด้านบนเป็น pharyngoepiglottic fold ด้านล่างสุดเป็น apex ของ pyriform sinus ด้านข้างเป็นกระดูกอ่อนของ thyroid ด้านกลางเป็น aryepiglottic fold และ aryteniod
อาการมะเร็งกล่องเสียง
1.เสียงแหบ (hoarseness) เป็นอาการนำที่พบมาก โดยเฉพาะในรายที่เป็น glottic tumor เสียงจะแหบมากขึ้นเรื่อย ๆ ตามระยะเวลาที่ผ่านไป ถ้าเป็นมะเร็งที่บริเวณอื่นอาจจะมีเสียงแหบเมื่อมะเร็งได้กระจายมายังสายเสียงแล้ว มะเร็งขนาดใหญ่ที่ supraglottic จะมี “hot potato” มีเสียงแหบนานกว่า 2 สัปดาห์ มีอาการเป็นๆ หายๆ
2. หายใจลำบาก (dyspnea และ stridor) พบในผู้ป่วยที่มีมะเร็งก้อนใหญ่ทำให้เกิดการอุดตันของทางเดินหายใจส่วนบน อัตราการบตายสูง
3. อาการปวด มักพบในมะเร็งของ hypopharynx หรือ epiglottic อาการปวดมีตั้งแต่ปวดเล็กน้อยจนถึงกลืนเจ็บ บางครั้งอาจมีอาการปวดร้าวไปถึงหูได้
4. กลืนลำบาก (dysphagia) พบในมะเร็งที่กระจายไปยังบริเวณ postcricoid พบในมะเร็งที่โคนลิ้น supraglottic, hypopharynx และ pyriformsinus
5. อาการไอ เป็นอาการของมะเร็งที่บริเวณ hypopharynx การไอเกิดขึ้นเนื่องจากน้ำลายมากและกลืนลำบาก ทำให้สำลักน้ำลายแล้วไอ บางรายมะเร็งทำลายเส้นประสาท superior laryngeal ทำให้ชา มีการสำลักแล้วไอตามมาได้
6. ไอเป็นเลือด (hemoptsis) พบบ่อยในเนื้องอกบริเวณ subglottic และ supraglottic ที่มีขนาดใหญ่
7. น้ำหนักตัวลดลง แสดงว่ามะเร็งกระจายออกนอกกล่องเสียง มีการอุดตันของทางเดินอาหาร
8. กลิ่นปากเหม็น (halitosis) มีเรื้อตายที่ก้อนมะเร็ง
9. มีก้อนที่คอ เนื่องจากมะเร็งกระจายมาที่ต่อมน้ำเหลืองข้างคอ
10. เจ็บบริเวณกล่องเสียง (laryngeal tenderness) แสดงว่า กระดูกอ่อนธัยรอยด์มีการอักเสบ
การแพร่กระจายของมะเร็งกล่องเสียง
การแพร่กระจายของโรคมักจะพบเมื่อมะเร็งอยู่ในระยะลุกลาม และเซลล์มะเร็งมักมีลักษณะ undifferentiated แบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ คือ
1. มีการลุกลามโดยตรงเข้าสู่อวัยวะข้างเดียวคือ แตกออกที่ผิวผนังที่คอ
2. โดยระบบน้ำเหลือง ตำแหน่งแรกคือต่อมน้ำเหลือง jugulo – digastic ต่อไปจะกระจายเข้าสู่ต่อมน้ำเหลือง lower jugular การแพร่กระจายไปสู่ต่อมน้ำเหลืองขึ้นอยู่กับตำแหน่งของเนื้องอกต้นกำเนิดและขนาดของเนื้องอก มะเร็งกล่องเสียงชนิด supraglottic จะมีการกระจายทางระบบ น้ำเหลืองมาก เป็น contralaterl metastasis ดังตารางด้านล่าง
ตาราง แสดงร้อยละของการแพร่กระจายของมะเร็งไปสู่ต่อมน้ำเหลือง
ตำแหน่งของมะเร็ง | stage | % |
• glottic | T1 | <5 |
T2 | <8 | |
T3 | 15 | |
T4 | 40 | |
• subglottic | All stages | <10* |
• supraglottic | T1 | 25 – 40 |
T2 | 40 – 70 | |
T3 | 65 – 80 |
* ไม่รวม การแพร่กระจายไปสู่ paratracheal node
การตรวจเพื่อวินิจฉัยโรค
ประวัติ
จากประวัติจะตรวจพบอาการไอ เจ็บคอ น้ำหนักตัวลด กลืนลำบาก และเจ็บบริเวณกล่องเสียง
การตรวจร่างกาย
1. การตรวจร่างกายภายนอกเหนือจากการตรวจร่างกายทั่วไป คือ การคลำบริเวณคอ คลำต่อมน้ำเหลืองข้างคอว่าโตจากมะเร็งกระจายมา หรือคลำบริเวณ thyroid membrane ถ้าโปร่งออกมาแสดงว่า มะเร็งผ่านมาถึง preepiglottic space คลำบริเวณกล่องเสียง เพื่อดูว่ากดเจ็บ มุมของกระดูกอ่อนธัยรอยด์กว้างกว่าปกติหรือไม่ และมีมะเร็งกระจายผ่านกระดูกธัยรอยด์ออกมาหรือไม่ โยกกล่องเสียง ควรจะมี larynageal crepitation ถ้าไม่มีแสดงว่ามีการบวมหรือมีมะเร็งกระจายมาบริเวณ postericoid หรือหลอดอาหาร คลำบริเวณโคนลิ้น ถ้าแข็งแสดงว่ามีมะเร็งกระจายมาถึงบริเวณนี้
2. Indrirect laryngoscopy ตรวจดูกล่องเสียงด้วยกระจก (laryngeal mirror) จะเห็นว่ามีรอยโรคอยู่ที่บริเวณใด
3. Direct laryngoscoppy ด้วย fiberroptic laryngoscope หรือ rigid laryngoscope จะสามารถบอกขนาด ตำแหน่งและขอบเขตของมะเร็งได้แม่นยำขึ้น อาจใช้ microscope หรือ telescope ร่วมด้วยก็ได้
4. การตรวจพิเศษ เพื่อให้ได้การวินิจฉัยขั้นสุดท้าย และประเมินขนาดของรอยโรค
– การถ่ายภาพรังสีองคอทางด้านตรงและด้านข้าง อาจมองเห็นขนาดของมะเร็งได้
– การถ่ายภาพรังสีทรวงอก ดูว่ามีมะเร็งกระจายมาที่ปอดหรือไม่
– การถ่ายภาพรังสีพิเศษ เช่น polytomography, xeroradiography, laryngogram ปัจจุบันนิยมทำ CT scan หรือ MRI สามารถเห็นขนาดและขอบเขตของมะเร็งได้ชัดเจน รวมทั้งเห็นได้ว่ามีการทำลายกระดูกอ่อนธัยรอยด์หรือไม่
– Esophagogram เพื่อดูว่ามีเนื้องอกกระจายเข้าหลอดอาหารหรือไม่
– ตัดชิ้นเนื้อส่งตรวจทางพยาธิวิทยา
โรคอื่นที่คล้ายมะเร็งกล่องเสียง
1. วัณโรคของกล่องเสียง (Tuberculous lesion) จะทำให้บริเวณกล่องเสียงบวมแดง ผิวหนาขึ้น มักมีรอยโรคที่บริเวณ posterior commissure, arytenoid และ posterior vocal coed
2. Lypus erythematosus รอยโรคเป็นตุ่ม ผิวไม่เรียบ มีแผลและเป็นแผลเป็น (epiglottic notching) ซิฟิลิส ระยะแรกบริเวณกล่องเสียงจะบวมหรืออักเสบเป็นหนอง ระยะหลังจะเป็นแผล gumma ตำแหน่งที่พบรอยโรค คือ epiglottic, laryngeal, erytenoid และ interaryteniod space
3. เนื้องอกชนิดอื่นของกล่องเสียง เช่น polyp, organizing hematoma, vocal nodule, traumatic หรือ postintubation polyp จะมีก้อนผิวเรียบมีก้านหรือไม่มีก้าน และอาศัยประวัติช่วยแยกโรค papilloma ซึ่งจะพบบ่อยในเด็ก โรคที่พบน้อย คือ ventricular prolapsed, scleroderma, amyloidosis, neuro fibroma, chondroma และ lymphoma
ระยะของโรค
ระยะของโรคแบ่งตาม American Joint Committee on Cancer ดังนี้
1. Primary Tuber (T)
• TX Orimarry tumor cannot be assessed
• T0 ไม่พบ primary tumor
• Tis มะเร็งอยู่บริเวณ in situ
2. Supraglottis
• T1 มะเร็งอยู่ในตำแหน่งเดียวของ มะเร็งอยู่ในตำแหน่งเดียวของ supraglottic และ vocal cord ปกติ
• T2 มะเร็งกระจายไปมากกว่าหนึ่งแห่งของ supraglottis หรือ glottis และ vocai cord ยังเคลื่อนไหวได้ดี
• T3 มะเร็งอยู่ในกล่องเสียง และ vocal cord ไม่เคลือนไหว และ/ หรือ กระจายไปยัง postcricoidm, medial wall of pyriform sinus หรือ pre-epiglottic tissues
• T4 มะเร็งกระจายออกไปบริเวณ thyroid cartilage หรือกระจายออกไปสู่เนื้อเยื่อบริเวณอื่นนอกกล่องเสียง เช่น oropharynx tissues บริเวณคอ
3. Glottis
• T1 มะเร็งอยู่บริเวณ vocal cord ข้างเดียวหรือ 2 ข้าง อาจกระจายไปยัง anterior หรือ posterior commisures และ vocal cord ยังเคลือนไหวได้
– T1a มะเร็งอยู่บริเวณ vocal cord ข้างเดียว
– T1b มะเร็งกระจายไปที่ vocal cord ทั้ง 2 ข้าง
• T2 มะเร็งกระจายไปยัง supraglottis และ / หรือ subglottic และ vocal cord ยังเคลื่อนไหวได้
• T3 มะเร็งอยู่ภายในกล่องเสียง และ vocal cord ไม่เคลื่อนไหว
• T4 มะเร็งกระจายไปที่ cricoids หรือ thyroid cartilage และ / หรือกระจายไปยังเนื้อเยื่อนอกกล่องเสียง เช่น oropharynx หรือ soft tissues บริเวณคอ
4. Regional Lymph Nodes (N)
• NX ไม่พบต่อมน้ำเหลืองโต
• N0 คลำไม่ตรวจพบต่อมน้ำเหลือง
• N1 คลำได้ต่อมน้ำเหลืองต่อมเดียวในด้านที่เป็นมะเร็ง เส้นผ่านศูนย์กลางน้อยกว่า 3 เซนติเมตร
• N2 คลำได้ต่อมน้ำเหลืองต่อมเดียวในด้านที่เป็นมะเร็ง ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางมากกว่า 3 เซนติเมตร แต่น้อยกว่า 6 เซนติเมตร หรือคลำได้มากกว่าต่อมเดียวในด้านตรงข้ามแต่เส้นผ่าศูนย์กลางน้อยกว่า 6 เซนติเมตร
• N3 คลำได้ต่อมน้ำเหลืองด้านเดียวกับมะเร็ง และมีเส้นผ่านศูนย์กลางมากกว่า 6 เซนติเมตร
5. Distant Matastasis (M)
• MX ไม่สามารถตรวจพบได้
• M0 ไม่มีการกระจายไปยังอวัยวะอื่น
• M1 กระจายไปยังอวัยวะอื่น
6. Stage Grouping
• Stage 0 Tis No M0
• Stage I T1 N0 M0
• Stage II T2 N0 M0
• Stage III T3 N0 M0
– T1 N1 M0
– T2 N1 M0
– T3 N1 M0
• Stage IV T4 N0,N1 M0
– Any T N2,N3 M0
– Any T Any N M1
7. Histologic Grade (G)
• GX Grade cannot be assessed
• G1 Well differentiated
• G2 Moderately well diffentiated
• G3 Poorly differentiated
• G4 Undifferentiated
วิธีรักษามะเร็งกล่องเสียง
1. รังสีรักษา (Radiation therapy)
การใช้รังสีรักษาอาจใช้ลำพังอย่างเดียวหรือร่วมกับการผ่าตัดต้องพิจารณาเป็นรายๆ ไป ถ้าฉายรังสีอย่างเดียวใช้ขนาด 60-70 Gouy (Gy) บางแห่งให้ก่อนผ่าตัดขนาด 40-50 Gy ใน 4 – 6 สัปดาห์ แล้วตามด้วยการผ่าตัดนำกล่องเสียงออก (total laryngectomy)
2. การผ่าตัด (Surgery)
การเลือกวิธีการผ่าตัดจะพิจารณาจากขนาดและตำแหน่งของมะเร็ง ภาวะโภชนาการและสภาพร่างกายของผู้ป่วยแต่ละราย การผ่าตัดกล่องเสียง ตำแหน่ง และขนาดของมะเร็งเป็นสิ่งสำคัญในการกำหนดวิธีการผ่าตัด
• Cordectomy ตัดเฉพาะสายเสียงที่เป็นมะเร็งออกโดยใช้มีด หรือเลเซอร์
• Frontolateral laryngectomy
• Frontal laryngectomy
• Transverse supraglottic laryngectomy
• ทำ Total laryngectomy
คำจำกัดความของการผ่าตัดมะเร็งกล่องเสียง (มหาวิทยาลัยมหิดล)
1. Partial laryngectomy หมายถึง ตัดส่วนของ larynx ออกน้อยกว่าร้อยละ 50
2. Hemilaryngectomy หมายถึง ตัดส่วนของ larynx แบ่งตามแนวของ vertical
3. Subtotal laryngectomy หมายถึง ตัดส่วนของ larynx ออกมากกว่า ร้อยละ 50
4. Total laryngectomy หมายถึง ตัด larynx ออกทั้งหมด
3. เคมีบำบัด (Chemotherapy)
เคมีบำบัดมักจะใช้เป็นการรักษาแบบบรรเทาอาการในมะเร็งที่เป็นมากหรือเป็น adjunctive treatment และเป็น combined therapy ยาที่ใช้ได้แก่ Methotrexate®, 5-FU®, Cisplatinum®
การติดตามผู้ป่วยหลังการรักษา
ผู้ป่วยมะเร็งกล่องเสียงที่ได้รับการรักษาโดยการผ่าตัดนำกล้องเสียงออกหมดจะพูดไม่ได้ ผู้ป่วยสามารถติดต่อสื่อความหมายโดยการฝึกให้ผู้ป่วยใช้ esophageal speech, artificial larynx หรือทำ neoglottis เมื่อผู้ป่วยได้รับการรักษาครบตามแผนการรักษาแล้ว มีแผนการนัดผู้ป่วยมาตรวจหลังรักษาเพื่อติดตามการกลับเป็นซ้ำของโรค ดังนี้
1. ปีแรก นัดผู้ป่วยมาตรวจทุก 1 เดือน
2. ปีที่ 2 นัดผู้ป่วยมาตรวจทุก 2 เดือน
3. ปีที่ 3 นัดผู้ป่วยมาตรวจทุก 3 เดือน
4. หลังจากนั้น นัดผู้ป่วยมาตรวจทุก 6 เดือน
ปัจจัยที่มีผลต่อการเกิด และการรอดชีพของผู้ป่วย
1. เพศ
ผู้ป่วยมะเร็งกล่องเสียงพบได้ทั้งเพศชาย และหญิง จากการศึกษาของ Kokoska และคณะ ได้ศึกษาผู้ป่วยแบบย้อนหลัง 193 ราย พบว่า ผู้ป่วยเพศชายส่วนใหญ่เป็นมะเร็งกล่องเสียง Glottic และ เพศหญิงส่วนใหญ่เป็นมะเร็งกล่องเสียง supreglottic โดยเกิดในเพศชาย ร้อยละ 65 และเพศหญิง ร้อยละ 69 และยังพบว่าปัจจัยที่มีผลต่อการรอดชีพในเพศชาย คือ อายุ, anatomic subsite, comorbidity และ TNM Stage ส่วนในเพศหญิง พบปัจจัยที่มีผลต่อการรอดชีพ คือ อายุ และ symptom severty
Manni และคณะ ได้ศึกษาผู้ป่วยมะเร็งกล่องเสียง Stage III พบว่า เพศไม่มีผลต่อการรอดชีพของผู้ป่วย เช่นเดียวกับการศึกษาหลายคนที่พบว่า เพศไม่มีผลต่อการรอดชีพของผู้ป่วย
2. อายุ
จากการศึกษางานวิจัยต่างๆ พบว่า อายุมีผลต่อการรอดชีพของผู้ป่วย กลุ่มผู้ป่วยที่อายุมาก จะมีระยะเวลารอดชีพสั้นกว่ากลุ่มที่มีอายุน้อย อายุเป็นปัจจัยหนึ่งที่เพิ่มโอกาสการเกิด recurrence ของโรค โดยผู้ป่วยที่มีอายุมากกว่า 65 ปี จะมีโอกาสเสี่ยงต่อการเสียชีวิตมากกว่ากลุ่มอายุน้อยกว่า 50 ปี
3. ตำแหน่งของเนื้องอก (Location of primary site)
ตำแหน่งของมะเร็งจะบอกการเป็นไปของโรคได้ และมีผลต่อระยะเวลารอดชีพของผู้ป่วย โดยพบว่า ตำแหน่งของมะเร็งกล่องเสียงที่พบมากที่สุดมามารักษาในโรงพยาบาลศิริราช คือ บริเวณ supraglottic ร้อยละ 44.2 รองลงมาคือ glottis และ tranglottic ร้อยละ 35.8 และ 20.0 ตามลำดับ และจากการศึกษาในโรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ พบมะเร็งกล่องเสียงของ supraglottic ร้อยละ 86.0 รองลงมา คือ glotticและ subglottic ร้อยละ 13.0 และ 1.00 ตามลำดับ
ผลของการรักษามะเร็งกล่องเสียงในตำแหน่ง glottis จะให้ผลการรักษาที่ดีไม่ว่าจะเป็นการผ่าตัดหรือการใช้รังสีรักษา Kawalski และคณะ ศึกษาผู้ป่วยมะเร็งกล่องเสียง glotticใน stage I และ stage II ได้ติดตามผู้ป่วยเป็นเวลา 5 ปี พบว่า 5 year for overall survival ร้อยละ 84.6 เนื่องจากผู้ป่วย early glottis เป็นกลุ่มเสี่ยงที่จะเกิด multiple primary cancer ในการศึกษาจึงพบว่า ผู้ป่วยมี multiple primary cancer ร้อยละ 15.2 และถ้ามะเร็ง glottis แพร่กระจายไปบริเวณ arythenoid จะทำให้โอกาสเสี่ยงต่อการตายสูงขึ้น
Shvero และคณะ ได้ทำการศึกษาผู้ป่วยมะเร็งกล่องเสียง early glottic T1N0M0 ชนิด squamous cell ที่มีการลุกลามไปยัง antermissureได้รับการรักษาด้วยรังสีรักษา พบว่า overall 5 year survival rate ร้อยละ 85 เมื่อเปรียบเทียบกลุ่มที่มะเร็งลุกลามไปที่ anterior commissure กับกลุ่มที่มะเร็งลุกลามไปสายเสียงข้างเดียวร่วมด้วย พบว่ามีการรอดชีพแตกต่างกัน แต่เมื่อเปรียบเทียบกลุ่มที่มะเร็งลุกลามไปที่สายเสียงข้างเดียวกับสายเสียงสองข้าง การรอดชีพของผู้ป่วยไม่แตกต่างกัน
4. ขนาดของก้อนมะเร็ง
ขนาดของก้อนมะเร็งมีผลทำให้การแพร่กระจายของมะเร็งไปยังต่อมน้ำเหลืองข้างคอแตกต่างกัน Pera และคณะได้ติดตามผู้ป่วยมะเร็งกล่องเสียงเป็นระยะเวลา 2 – 13 ปี พบว่า ผู้ป่วยมีขนาดก้อนมะเร็งตั้งแต่ 0.4 เซนติเมตร ถึง 7 เซนติเมตร และขนาดก้อนมะเร็งเล็กกว่า 2.5 เซนติเมตร พบ ร้อยละ 50 มีเพียงร้อยละ 16 ที่พบว่า มะเร็งมีขนาดเล็กกว่า 2 เซนติเมตร ซึ่งขนาดที่เล็กกว่า 2.5 เซนติเมตร ทำให้ลักษณะของโรคดีกว่าก้อนมะเร็งขนาดใหญ่
5. การแพร่กระจายไปต่อมน้ำเหลืองข้างคอ
ถ้าก้อนมะเร็งมีขนาดโตกว่า 2 เซนติเมตร มักจะพบว่าต่อมน้ำเหลืองข้างคอโตด้วย อัตราการรอดของผู้ป่วยจะลดลงร้อยละ 40 จากการศึกษามะเร็งกล่องเสียงของ ยุพา สุมิตสวรรค์ และคณะ จากผู้ป่วย 191 ราย พบว่ามะเร็งมีการแพร่กระจายไปยังต่อมน้ำเหลืองในด้านที่เป็นมะเร็งร้อยละ 30 และคลำไม่พบก้อนมะเร็งร้อยละ 30 สามารถคลำได้ต่อมน้ำเหลืองที่อยู่ด้านเดียวกับก้อนมะเร็งมีขาดโตกว่า 6 เซนติเมตร ร้อยละ 27
Prarider และคณะ ศึกษาผู้ป่วยชาย 296 ราย เป็นมะเร็งกล่องเสียงบริเวณ supraglottic และ glottic พบว่า supraglottic มีการแพร่กระจายไปยังต่อมน้ำเหลืองข้างคอมากกว่า glottis และมีหลายการศึกษา พบว่า การที่มี nodal involvement มีผลต่อระยะเวลารอดชีพของผู้ป่วยโดยเฉพาะในผู้ป่วยมะเร็งกล่องเสียง stage II และ
Guzam และคณะ ศึกษาผู้ป่วยมะเร็งกล่องเสียง supraglottic ชนิด epidermoid carcinoma ผู้ป่วยทุกรายได้รับการผ่าตัด และรังสีรักษา ติดตามผู้ป่วยเป็นระยะเวลา 5 ปี พบว่า 5 year survival rate ร้อยละ 75 ผู้ป่วยใน early stage จะมีระยะเวลารอดชีพดีกว่า advance stage และ Primary tumor กับ lymph node histiphatological มีผลต่อระยะเวลารอดชีพของผู้ป่วยมากกว่า TNM staging
6. การแพร่กระจายไปยังอวัยวะอื่น (Distant metastasis)
ยุพา สุมิตสวรรค์ และคณะ ศึกษาผู้ป่วยมะเร้งกล่องเสียง 191 ราย มี distant metastasis ร้อยละ 2 มะเร็งกระจายไปที่ปอด จำนวน 3 ราย และแพร่กระจายไปที่ตับจำนวน 1 ราย
7. TNM staging
การศึกษาของ Suzuki และคณะ ทำการศึกษาผู้ป่วยมะเร้งกล่องเสียง พบว่า cumulative 5 year survival ของผู้ป่วยทั้งหมด ร้อยละ 79.6 ใน stage I , stage II , stage III และ stage IV มี cumulative 5 year survival ร้อยละ 83.7 , 83.9 และ 55.5 ตามลำดับ
Harwood และคณะ ศึกษาผู้ป่วยมะเร็งกล่องเสียง glottic T2N0M0 และ T2N1M0 พบว่า การที่มี mobility เป็นปัจจัยทีทำให้ระยะเวลารอดชีพของผู้ป่วยลดลง ร้อยละ 12 และ ผู้ป่วยที่มี normal vocal cord mobility กับ impaired vocal cord mobility มีระยะเวลารอดชีพแตกต่างกัน
Kowalski และคณะ พบว่า primary tumor และ site of primary tumor มีความสัมพันธ์กับการรอดชีพ ผู้ป่วยใน stage IV มีความเสี่ยงต่อการ recurrence และการเสียชีวิต เท่ากับ 5 – 6 เท่า ผู้ป่วยใน stage I มะเร็งของglottic มีระยะเวลารอดชีพดีกว่า transglottic และsupraglottic และการ involvement ไปสู่ cervical lymph node ทำให้ระยะเวลารอดชีพสั้นลง
8. การรักษา
การศึกษาของ Barra และคณะ การศึกษาผู้ป่วยมะเร็งกล่องเสียงที่ได้รับการผ่าตัด พบว่า วิธีการผ่าตัด และ tumor recurrence มีความสัมพันธ์กับระยะของโรค และทำให้อัตราตายเพิ่มขึ้น 2 เท่า มีผลต่อการรอดชีพของผู้ป่วยในระยะ advance stage ผู้ป่วยที่ทำการผ่าตัด partial laryngectomy มีการรอดชีพนานกว่าผู้ป่วยที่ทำ total laryngectomy และ Kowalski และคณะ พบว่าปัจจัยเสี่ยงต่อ recurrence และการเสียชีวิต คือ การผ่าตัด primary tumor ถ้าผ่าตัดไม่หมดทำให้ผู้ป่วยมีความเสี่ยงต่อการตายเพิ่มขึ้น 2 เท่า
Manni และคณะ พบว่าผลการรักษามีความสัมพันธ์กับระยะเวลารอดชีพของผู้ป่วยการรักษา ผู้ป่วยตาม standard protocol จะทำให้การรอดชีพของผู้ป่วยดีขึ้น การเริ่มต้นให้การรักษาโดยการผ่าตัดหรือรังสีรักษา ให้ผลไม่แตกต่างกัน ซึ่งตรงกับที่ แต่ผู้ป่วยที่รักษาหลายอย่างร่วมกัน จะมีระยะเวลารอดชีพดีกว่าการรักษาด้วยรังสีรักษาเพียงอย่างเดียว