บ๊อชและดับบลิวเอชเอ อินดัสเตรียล ดีเวลลอปเมนท์


– บ๊อชตอกย้ำความเชี่ยวชาญด้านโซลูชั่นส์อุตสาหกรรม 4.0 ทั้งในฐานะผู้ให้บริการ และผู้ใช้งานจริงทั่วทั้งองค์กร
– ดับบลิวเอชเอ อินดัสเตรียล ดีเวลลอปเมนท์ ตั้งเป้าพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานในพื้นที่นิคมอุตสาหกรรมรองรับระบบอัจฉริยะ
– รัฐบาลสร้างแรงจูงใจส่งเสริมการใช้ระบบการผลิตอัจฉริยะในภาคการผลิต
– สถาบันวิทยาการหุ่นยนต์ภาคสนาม (FIBO) เชื่อมั่นสร้างแรงงานที่มีความพร้อมสำหรับยุคดิจิทัล

บ๊อช ผู้ผลิตและจัดจำหน่ายเทคโนโลยีและบริการชั้นนำของโลก สนับสนุนการสร้างระบบผลิตอัจฉริยะเพื่ออำนวยประโยชน์ต่อประเทศไทย โดยไทยมีโอกาสมหาศาลในการพัฒนาประเทศอย่างก้าวกระโดด เนื่องจากบริบทด้านการผลิตที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ซึ่งเป็นผลจากซอฟต์แวร์และเทคโนโลยีที่ล้ำสมัย
เนื่องด้วยความเชี่ยวชาญล้ำลึกด้านเทคโนโลยีและประสบการณ์ด้านอุตสาหกรรมที่ครอบคลุม ทำให้ให้บ๊อชมีศักยภาพที่จะสนับสนุนและเพิ่มมูลค่าให้กับอุตสาหกรรมยุคใหม่ของไทย โดยเฉพาะเทคโนโลยีการเชื่อมต่อ บริษัทฯ ยังคงรักษาความแข็งแกร่งด้านความเชี่ยวชาญทางเทคโนโลยีอย่างเหนียวแน่น โดยเป็นทั้งผู้ให้บริการโซลูชั่นส์ต่างๆ และเป็นผู้ใช้งานเทคโนโลยีแห่งยุคอุตสาหกรรม 4.0 อย่างจริงจังในโรงงานผลิตของบริษัทฯ ที่มีอยู่ทั่วโลก
เป้าหมายหลักของการผลิตอัจฉริยะคือ การแสวงหาช่องทางและความเป็นไปได้ต่างๆ ในการเชื่อมต่อระบบการผลิต ระบบอัตโนมัติ รวมทั้งใช้การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงลึกเพื่อพัฒนาประสิทธิภาพของกระบวนการผลิตในภาพรวม โดยตัวเซ็นเซอร์ที่ติดตั้งในเครื่องจักรจะรวบรวมข้อมูลสถานะและสมรรถนะการทำงานของเครื่องจักร
ทั้งนี้ เพื่อช่วยสร้างความตระหนักรู้และสนับสนุนการนำระบบการผลิตอัจฉริยะมาใช้ บริษัท โรเบิร์ต บ๊อช จำกัด และบริษัท ดับบลิวเอชเอ อินดัสเตรียล ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด (มหาชน) จึงได้ร่วมกันจัดงาน “ไทยแลนด์ สมาร์ท แมนูแฟคเจอริ่ง 2018” (Thailand Smart Manufacturing 2018) และเป็นเจ้าภาพรับรองผู้เข้าร่วมงานทั้งจากภาครัฐฯ และเอกชน เพื่อสาธิตศักยภาพของโซลูชั่นส์ที่จะช่วยให้อุตสาหกรรมต่างๆ สามารถเพิ่มประสิทธิภาพและความสามารถในการผลิต เพื่อการพัฒนาในระยะยาวและการนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้ประโยชน์
ภายในงาน มีการนำเสนอเทคโนโลยีที่โดดเด่น ได้แก่ การบูรณาการระบบต่างๆ เข้าด้วยกันในยุคอุตสาหกรรม 4.0 โดยสาธิตสดการทำงานของสายการผลิตที่รวบรวมข้อมูลแบบเป็นปัจจุบัน รวมทั้งระบบหม้อต้มอัจฉริยะ ระบบรักษาความปลอดภัยอัจฉริยะ เครื่องมือที่สามารถในการเชื่อมต่อกัน และอื่นๆ อีกมากมาย
มร. โจเซฟ ฮง กรรมการผู้จัดการของบ๊อช ประเทศไทย กล่าวย้ำถึงความสำคัญของการทำงานร่วมกับรัฐบาลไทยว่า “บ๊อชทำงานอย่างใกล้ชิดกับรัฐบาลและภาคอุตสาหกรรม โดยช่วยเร่งให้เกิดการนำนวัตกรรมการผลิตอัจฉริยะต่างๆ ที่สอดคล้องกับนโยบายไทยแลนด์ 4.0 มาใช้”
รัฐบาลไทยกำลังนำมาตรการเชิงรุกมาใช้เพื่อส่งเสริมการผลิตอัจฉริยะ ซึ่งเน้นที่อุตสาหกรรมยุคใหม่ โดยจะนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้เพื่อการพัฒนาประเทศไทย และสร้างความได้เปรียบทางการตลาด ตามแผนยุทธศาสตร์ 20 ปีของประเทศ เรื่องที่รัฐบาลให้ความสำคัญเป็นลำดับต้นๆ คือการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านเทคโนโลยีดิจิทัลของประเทศ และการส่งเสริมให้เกิดการนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้ในการดำเนินงานในองค์กรต่างๆ ทั่วประเทศ ทั้งนี้ ประเทศไทยได้รับการจัดอันดับให้เป็นหนึ่งในประเทศในภูมิภาคนี้ที่มีความยอดเยี่ยมด้านโครงสร้างพื้นฐาน ดิจิทัลคอนเทนท์ ธุรกิจและนวัตกรรม รวมถึงการใช้เครือข่ายดิจิทัลระหว่างบุคคล บริษัทเอกชน และองค์กรภาครัฐฯ ต่างๆ
จุดศูนย์กลางของการเติบโตด้านเทคโนโลยีและการผลิตอัจฉริยะของประเทศไทย อยู่ที่โครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) ซึ่งมีโรงงานต่างๆ ของบ๊อชตั้งอยู่ การลงทุนมหาศาลในโครงสร้างพื้นฐานจะช่วยพัฒนาระบบการเชื่อมต่อกันของพื้นที่แห่งนี้กับภูมิภาคอาเซียนและทั่วโลก โดยเมื่อไม่นานมานี้ รัฐบาลได้ผ่านร่างพระราชบัญญัติเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก ซึ่งมีผลให้รัฐบาล ลงทุนมูลค่า 1.5 ล้านล้านบาท (ประมาณ 45 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ) เพื่อใช้ในการพัฒนาและสร้างความเจริญก้าวหน้าให้กับพื้นที่แห่งนี้
การผลิตอัจฉริยะช่วยเสริมแกร่งศักยภาพของอุตสาหกรรม 4.0 และนโยบายไทยแลนด์ 4.0 ด้วยการปรับปรุงขั้นตอนการดำเนินธุรกิจ และเพิ่มขีดความสามารถในการผลิตให้สูงขึ้น ซึ่งมีหลายตัวอย่างที่เกิดจุดพลิกผันขึ้นจริงในธุรกิจ เนื่องจากผู้ผลิตเครื่องจักรและเจ้าของโรงงานผลิตชาวไทยหันมาใช้ระบบและกระบวนการผลิตอัจฉริยะเพิ่มมากขึ้น ผลลัพธ์ที่ได้จากความพยายามเหล่านี้ ช่วยให้การผลิตและกระบวนการโลจิสติกส์ต่างๆ มีประสิทธิภาพ มีความสามารถในการทำกำไร มีความยืดหยุ่น และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากยิ่งขึ้น
นายวิรัตน์ รัชศฤงคารสกุล ผู้อำนวยการศูนย์เศรษฐกิจการลงทุนภาคที่ 4 (ชลบุรี) สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน กล่าวว่า “คณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนมีนโยบายที่จะสนับสนุนให้เกิดการนำเอาเทคโนโลยีอัตโนมัติ และเทคโนโลยีที่ทันสมัยอื่นๆ มาใช้เพื่อพัฒนากระบวนการผลิต ในขณะเดียวกัน เราก็สนับสนุนการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ด้วยการจัดการฝึกอบรมทางด้านเทคโนโลยีที่ทันสมัย”
มร. เดวิด นาร์โดน ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธุรกิจนิคมอุตสาหกรรมและการลงทุนต่างประเทศ บริษัท ดับบลิวเอชเอ อินดัสเตรียล ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า “ในสภาพแวดล้อมเช่นนี้ ผู้ผลิตจำเป็นต้องเร่งสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขัน ด้วยการปรับปรุงขั้นตอนการผลิตโดยนำเทคโนโลยีระบบอัตโนมัติและเทคโนโลยีใหม่ๆ เข้ามาใช้งานมากขึ้น ทั้งนี้ ดับบลิวเอชเอ ตั้งอยู่ในชัยภูมิที่ดีเยี่ยมภายในเขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก ภายใต้คอนเซ็ปต์นิคมอุตสาหกรรมอัจฉริยะ (Smart Industrial Estate) ที่ครบครันด้วยโครงสร้างพื้นฐานอันทันสมัย จึงช่วยให้เรามีความพร้อมในการสนับสนุนการสร้างระบบการผลิตอัจฉริยะให้เกิดขึ้นในประเทศไทย”
ความเห็นนี้ยังได้รับการสนับสนุนจาก รองศาสตราจารย์ ดร. ชิต เหล่าวัฒนา ผู้ก่อตั้งสถาบันวิทยาการหุ่นยนต์ภาคสนาม (FIBO) และกรรมการคลัสเตอร์หุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ สำนักงานเพื่อการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (สกรศ.) โดยกล่าวว่า “ในความเป็นจริง เรารู้มาตลอดว่าระบบอัตโนมัติและหุ่นยนต์สามารถทำงานแทนมนุษย์ได้ในสถานที่ที่มีอันตรายต่างๆ เช่น พื้นที่ความร้อนสูงจัด หรือในสถานที่สูงและแคบ ซึ่งหุ่นยนต์สามารถปฏิบัติงานได้อย่างต่อเนื่องและถูกต้องแม่นยำ ผมคิดว่าเรามาถูกทางแล้ว และมั่นใจว่าประเทศไทยมีขีดความสามารถมากพอที่จะผลิตแรงงานที่มีความสามารถ เพื่อช่วยพัฒนายุคแห่งการผลิตอัจฉริยะนี้”
งานไทยแลนด์ สมาร์ท แมนูแฟคเจอริ่ง 2018 ซึ่งจัดโดยบ๊อช ด้วยความร่วมมือกับ ดับบลิวเอชเอ อินดัสเตรียล ดีเวลลอปเมนท์ ได้ทำหน้าที่ในการเป็นแพลตฟอร์มเพื่อนำพันธมิตรและผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องมาพบปะ เพื่อร่วมเสวนาในประเด็นต่างๆ แลกเปลี่ยนแนวทางปฏิบัติและประสบการณ์เฉพาะทางจากการนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาพัฒนาการดำเนินธุรกิจ แลกเปลี่ยนมุมมอง องค์ความรู้ และประสบการณ์ เหล่านี้จะเป็นเครื่องมือสำคัญที่จะช่วยส่งเสริมการผลิตอัจฉริยะ และนำพาประเทศไทยไปสู่การพัฒนาในระดับต่อไป

เกี่ยวกับบ๊อชในประเทศไทย
บ๊อชได้เริ่มเข้ามามีบทบาทในประเทศไทยตั้งแต่ปี พ.ศ. 2466 ปัจจุบัน บ๊อชสร้างความหลากหลายในธุรกิจถึงสี่ด้าน ได้แก่ โซลูชั่นส์แห่งการขับเคลื่อน เทคโนโลยีอุตสาหกรรม สินค้าอุปโภคบริโภค และเทคโนโลยีพลังงานและอาคาร บริษัทมีโรงงานผลิตในธุรกิจโซลูชั่นส์แห่งการขับเคลื่อนถึงสามแห่ง พร้อมทั้งศูนย์วิจัยและพัฒนา อีกทั้งสำนักงานขายและศูนย์บริการสำหรับอุปกรณ์ไฮดรอลิกและเครื่องจักรในจังหวัดระยอง และสายการผลิตโซลูชั่นส์และการบริการส่วนเครื่องจักรเพื่อบรรจุภัณฑ์ในจังหวัดชลบุรี ในปี 2560 บ๊อชในประเทศไทยมียอดขาย 12.8 พันล้านบาท (335 ล้านยูโร) และมีพนักงานราว 1,400 คน ข้อมูลเพิ่มเติม http://www.bosch.co.th และ https://www.facebook.com/BoschThailand

เกี่ยวกับบ๊อช
กลุ่มบริษัทบ๊อช ผู้ผลิตและจัดจำหน่ายเทคโนโลยีและบริการชั้นนำของโลก มีพนักงานทั่วโลกกว่า 402,000 คน (ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2560) ในปี 2560 บริษัทมียอดขายรวมทั้งสิ้นกว่า 7.8 หมื่นล้านยูโร โดยแบ่งการดำเนินงานออกเป็น 4 กลุ่มธุรกิจสำคัญได้แก่ กลุ่มโซลูชั่นส์แห่งการขับเคลื่อน กลุ่มเทคโนโลยีอุตสาหกรรม กลุ่มสินค้าอุปโภคบริโภค และกลุ่มเทคโนโลยีพลังงานและอาคาร ในฐานะผู้นำทางด้าน IoT (Internet of Things) บ๊อชนำเสนอนวัตกรรมแห่งโซลูชั่นส์เพื่อบ้านอัจฉริยะ เมืองอัจฉริยะ ยานยนต์ และ อุตสาหกรรมที่สามารถเชื่อมต่อถึงกัน ด้วยความเชี่ยวชาญในเทคโนโลยีเซนเซอร์ ซอฟต์แวร์ และการให้บริการ รวมถึงไอโอทีคลาวด์ของบ๊อชเอง เราจึงสามารถให้บริการโซลูชั่นส์ที่เชื่อมต่อแบบข้ามโดเมนได้เบ็ดเสร็จจากแหล่งเดียว เป้าหมายกลยุทธ์ของเรา คือการส่งมอบนวัตกรรมและสร้างแรงบันดาลใจเพื่อชีวิตที่เชื่อมต่อถึงกัน ผลิตภัณฑ์และบริการทั้งหมดได้รับการออกแบบมาเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิต โดยการเสนอคำตอบที่ล้ำสมัยและเป็นประโยชน์ที่นับได้ว่าเป็น “เทคโนโลยีเพื่อชีวิต” กลุ่มบ๊อช ประกอบด้วยบริษัท โรเบิร์ต บ๊อช จีเอ็มบีเอช และบริษัทในเครืออีกกว่า 440 บริษัท รวมถึงสำนักงานระดับภูมิภาคในประเทศต่างๆ อีกกว่า 60 ประเทศ หากรวมบริษัทคู่ค้าผู้จัดจำหน่ายและให้บริการต่างๆ ทั้งส่วนการผลิตงานวิศวกรรม และเครือข่ายด้านการขาย บ๊อชครอบคลุมอยู่เกือบทุกประเทศทั่วโลก เพราะพื้นฐานสำคัญสำหรับการขยายตัวในอนาคตของบริษัทขึ้นอยู่กับความแข็งแกร่งด้านนวัตกรรม บริษัทจึงมีพนักงานในส่วนการวิจัยและพัฒนากว่า 64,500 คน ในศูนย์วิจัยกว่า 125 แห่งทั่วโลกในปัจจุบัน

เกี่ยวกับ ดับบลิวเอชเอ กรุ๊ป
บริษัท ดับบลิวเอชเอ คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) (ดับบลิวเอชเอ กรุ๊ป) ผู้นำอันดับหนึ่งในการให้บริการโซลูชั่นครบวงจรด้านโลจิสติกส์และนิคมอุตสาหกรรมของไทย โดยบริษัทมีความเชี่ยวชาญทั้งในด้านโลจิสติกส์ และการพัฒนานิคมอุตสาหกรรม และบริการโซลูชั่นแบบครบวงจรสำหรับลูกค้าทุกกลุ่มอุตสาหกรรมทั้งในและนอกนิคมอุตสาหกรรม ธุรกิจของดับบลิวเอชเอ กรุ๊ป ประกอบด้วย 4 กลุ่มหลัก ได้แก่
– กลุ่มธุรกิจพัฒนาโลจิสติกส์ มุ่งให้บริการศูนย์กระจายสินค้า คลังสินค้า และโรงงานแบบ Built-to-Suit แบบพรีเมียมแก่ลูกค้า โดยบริษัทเป็นผู้ริเริ่มแนวคิดการสร้างอาคารอุตสาหกรรมแบบ Built-to-Suit มาตั้งแต่ปี 2546 โดยปัจจุบันมีพื้นที่คลังสินค้าและโรงงานแบบ Built-to-Suit รวมทั้งสิ้นกว่า 2.2 ล้านตารางเมตร บนทำเลที่ตั้งในจุดยุทธศาสตร์กว่า 19 แห่งทั่วประเทศ ภายใต้การบริหารงานของบริษัท ดับบลิวเอชเอ คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน)
– กลุ่มธุรกิจนิคมอุตสาหกรรม ในฐานะผู้พัฒนานิคมอุตสาหกรรมคุณภาพระดับโลก มีทั้งโครงสร้างพื้นฐาน สาธารณูปโภค คลัสเตอร์อุตสาหกรรม และบริการด้านอุตสาหกรรม ปัจจุบัน บริษัทมีนิคมอุตสาหกรรมทั้งสั้น 10+ แห่ง ในจังหวัดระยอง ชลบุรี และสระบุรี บนพื้นที่กว่า 48,586 ไร่ (7,774 เฮกตาร์)โดยมีลูกค้าจากทั่ว โลก 730 ราย จำนวนสัญญาซื้อที่ดินและเช่าโรงงานกว่า 1,108 สัญญา รวมมูลค่าการลงทุน 31,200 ล้านดอลลลาร์สหรัฐฯ โดยพื้นที่ส่วนใหญ่ตั้งอยู่ในเขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี)ภายใต้การบริหารงานของบริษัท ดับบลิวเอชเอ อินดัสเตรียล ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด (มหาชน)
– กลุ่มธุรกิจสาธารณูปโภคและไฟฟ้า ในฐานะผู้ให้บริการด้านระบบสาธารณูปโภคต่างๆ ให้กับลูกค้าในนิคมอุตสาหกรรมแต่เพียงผู้เดียว รวมถึงการร่วมลงทุนด้านไฟฟ้ากับผู้ผลิตพลังงานไฟฟ้าชั้นนำของโลก โดยมีกำลังการผลิตน้ำโดยประมาณ 109 ล้านลบ.ม. ต่อปี และมีกำลังการผลิตไฟฟ้าตามสัดส่วนการถือหุ้นของโรงไฟฟ้าที่เริ่มดำเนินการเชิงพาณิชย์รวม 510.5 เมกะวัตต์ ภายใต้การบริหารงานของบริษัท ดับบลิวเอชเอ ยูทิลิตี้ส์ แอนด์ พาวเวอร์ จำกัด (มหาชน)
– กลุ่มธุรกิจสาธารณูปโภคและไฟฟ้า ในฐานะผู้ให้บริการด้านระบบสาธารณูปโภคต่างๆ ให้กับลูกค้าในนิคมอุตสาหกรรมแต่เพียงผู้เดียว รวมถึงการร่วมลงทุนด้านไฟฟ้ากับผู้ผลิตพลังงานไฟฟ้าชั้นนำของโลก โดยมีกำลังการผลิตน้ำโดยประมาณ 109 ล้านลบม.ต่อปี และมีกำลังการผลิตไฟฟ้าตามสัดส่วนการถือหุ้นของโรงไฟฟ้าที่เริ่มดำเนินการเชิงพาณิชย์รวม 510.5 เมกะวัตต์ ภายใต้การบริหารงานของบริษัท ดับบลิวเอชเอ ยูทิลิตี้ส์ แอนด์ พาวเวอร์ จำกัด (มหาชน)
– กลุ่มธุรกิจดิจิทัล ดับบลิวเอชเอกรุ๊ปมีบริการดาต้าโซลูชั่น และดิจิทัลแพลตฟอร์มต่างๆ อย่างครบครัน รวมถึง การลงทุนด้านดิจิทัลอินฟราสตรักเจอร์ เพื่อรองรับการดำเนินธุรกิจเชิงอัจฉริยะของลูกค้า ซึ่งเป็นบริษัทชั้นนำทั้งในและต่างประเทศ ภายใต้การบริหารงานของบริษัท ดับบลิวเอชเอ อินโฟนิท จำกัด
เว็บไซต์: www.wha-group.com www.wha-industrialestate.com


Similar Posts