ต่อมน้ำลายคืออะไร หน้าที่และประโยชน์
ต่อมน้ำลาย (salivary gland) เป็นอวัยวะที่เกี่ยวข้องกับระบบทางเดินอาหารที่ทำหน้าที่สร้าง และหลั่งน้ำลายเข้าสู่ภายในช่องปาก โดยมีระบบประสาทอัตโนมัติควบคุม น้ำลายประกอบด้วยน้ำ โปรตีน ไกลโคโปรตีน และแร่ธาตุต่างๆที่เป็นอิเล็กโทรไลท์
หน้าที่ และประโยชน์ของน้ำลาย
1. ช่วยให้ช่องปากชุ่มชื้น ป้องกันไม่ให้ช่องปากแห้ง
2. ช่วยคลุกเคล้าอาหาร และช่วยให้อาหารที่เคี้ยวแล้วรวมกันเป็นก้อน
3. ช่วยรักษาสภาพความเป็นกรด-ด่าง ภายในช่องปาก ด้วยระบบบัพเฟอร์หลายชนิดที่ทำงานร่วมกัน
4. ช่วยย่อยอาหารจำพวกแป้งด้วยเอนไซม์เฉพาะ ได้แก่ เอนไซม์อะเลส
5. ช่วยควบคุม และต้านการเติบโต การแพร่กระจายของจุลชีพก่อโทษ
6. การต้านจุลชีพมีผลทำให้ลดการเกิดโรคฟันผุ และโรคในระบบทางเดินอาหาร เช่น โรคท้องร่วง เป็นต้น
7. ช่วยรักษาสมดุลแร่ธาตุระหว่างน้ำลาย และฟัน
อ่านเพิ่มเติม น้ำลาย
ชนิดต่อมน้ำลาย
1. ต่อมน้ำลายหลัก (major gland)
ต่อมน้ำลายหลัก พบได้บริเวณด้านนอกของช่องปาก เป็นต่อมที่ทำหน้าที่ผลิตน้ำลายออกมามากที่สุด กว่าร้อยละ 80 ของน้ำลายทั้งหมด ประกอบด้วยต่อม 3 คู่ ได้แก่ ต่อมน้ำข้างกกหู (parotid gland) ทำหน้าที่ผลิต และหลั่งน้ำลายชนิดใส ต่อมาเป็นต่อมน้ำลายใต้ขากรรไกรล่าง (submaxillary or submandibular gland) ที่อยู่บริเวณใต้คาง ทำหน้าที่ผลิต และหลั่งน้ำลาย ทั้งชนิดใส และชนิดเมือก สุดท้าย คือ ต่อมน้ำลายใต้ลิ้น (sublingual gland) ทำหน้าที่ผลิต และหลั่งน้ำลายชนิดใส และชนิดเมือก (mucous) แต่ผลิตชนิดเมือกมากกว่าชนิดใส
ทั้งนี้ ต่อมน้ำลายแต่ละต่อมจะมีเซลล์อะซินายที่ผลิตน้ำลายต่างกัน ทำให้น้ำลายของแต่ละต่อมมีลักษณะแตกต่างกัน เช่น ต่อมที่มีเซลล์ซีรัส (serous acini cell) จะหลั่งน้ำลายชนิดใส ส่วนต่อมที่มีเซลล์มิวคัส (mucous acini cell) จะน้ำลายชนิดเมือก (mucous)
2. ต่อมน้ำลายรอง (minor gland)
ต่อมน้ำลายรอง เป็นต่อมที่ผลิต และหลั่งน้ำลายได้น้อย โดยเป็นการหลั่งน้ำลายเฉพาะขณะพัก (resting saliva) ช่วยให้ปากชุ่มชื้นอยู่เสมอ ต่อมน้ำลายชนิดนี้ มีขนาดเล็ก พบได้บริเวณด้านในของช่องปาก ได้แก่ เพดานปาก กระพุ้งแก้ม ใต้ลิ้น และริมฝีปาก
ต่อมน้ำลายหลัก 3 ต่อม
1. ต่อมน้ำลายข้างกกหู (parotid gland)
ต่อมน้ำลายชนิดนี้ อยู่บริเวณกกหู ค่อนไปด้านหน้า เป็นต่อมน้ำลายที่มีขนาดใหญ่สุด ผลิตน้ำลายได้ประมาณ 25% ของน้ำลายทั้งหมด โดยเป็นน้ำลายชนิดใสเพียงอย่างเดียว ซึ่งผลิตได้มากกว่าต่อมอื่นๆ น้ำลายจะถูกส่งผ่านท่อที่เรียกว่า parotid duct แล้วหลั่งเข้าสู่ช่องปาก ต่อมชนิดนี้จะสังเกตเห็นได้ง่าย โดยเฉพาะเมื่อเกิดการอักเสบจากเชื้อไวรัส เช่น การเป็นคางทูม ซึ่งจะบวมเป่งบริเวณข้างกกหู
ต่อมน้ำลายข้างกกหูจะมีท่อนำน้ำลายเปิดเข้าสู่ช่องปากบริเวณ molar ที่ 2 ของขากรรไกรบน โครงสร้างต่อมมี collagenous capsule หุ้มหนา โดยมี connective tissue septa ยื่นแทรกเข้าไป และแบ่งเป็น lobes และ lobule ส่วน secretory unit ที่ประกอบด้วย serous cells เท่านั้น มีท่อ intercalated duct จำนวนมากอยู่ปะปนกับท่อ striated duct ที่มีขนาดใหญ่กว่า นอกจากนี้ ยังพบ adipose tissue ปะปนร่วมอยู่ในต่อมด้วย
2. ต่อมน้ำลายใต้ขากรรไกรล่าง (submandibular gland)
ต่อมน้ำลายใต้ขากรรไกรล่าง เป็นต่อมน้ำลายขนาดใหญ่ จำนวน 2 ต่อม ในแต่ละข้างของขากรรไกร ทำหน้าที่ผลิตน้ำลายทั้งชนิดใส และชนิดเหนียว แต่ผลิตน้ำลายชนิดใสมากที่สุด โดยผลิตน้ำลายได้ประมาณ 70% ของน้ำลายทั้งหมด
โครงสร้างต่อมมี collagenous capsule หุ้มหนา ท่อจากต่อมแต่ละข้างจะมี main duct ทอดยาวไปในทิศทาง forward และ medially ผ่านไปยังรูเปิดบริเวณ sublingual papillae ที่อยู่ 2 ข้าง ของ frenulum บริเวณลิ้น มี secretory unit ที่ประกอบด้วย serous cells เป็นส่วนใหญ่ และมี mucous cells เล็กน้อย มีท่อ striated duct ที่ยาวกว่าท่อ intercalated duct และท่อ ท่อ intercalated duct จะพบปริมาณน้อยกว่าต่อมน้ำลายข้างกกหู
3. ต่อมน้ำลายใต้ลิ้น (sublingual gland)
ต่อมน้ำลายใต้ลิ้น เป็นต่อมที่มีขนาดเล็กกว่าต่อมน้ำลาย 2 ชนิดแรก ทำหน้าที่ผลิตน้ำลายทั้งชนิดใส และชนิดเหนียว แต่ผลิตน้ำลายชนิดเหนียวมากที่สุด ซึ่งจัดเป็นต่อมชนิด mixed seromucous gland โดยผลิตน้ำลายได้ประมาณ 5% ของน้ำลายทั้งหมด
ต่อมน้ำลายใต้ลิ้นจะอยู่ใต้ลิ้นบริเวณ floor of mount มีท่อขนาดเล็กหลายท่อเปิดเข้าสู่ submandibular duct และมีท่อบางส่วนเปิดเข้าสู่ floor of mount มีโครงสร้างต่อมเป็น secretory unit ที่ประกอบด้วย mucous cells เป็นหลัก และพบบางส่วนเป็น pure mucous ส่วนโครงสร้างจะไม่มีแคปซูลห่อหุ้ม (capsule) แต่มีเนื้อเยื่อ loose connective ยื่นแทรกเข้าไปแบ่งเนื้อต่อมออกเป็น lobes และ lobules โดยมีส่วน intralobular duct ขนาดสั้น และมี striated duct น้อย
ลักษณะของต่อมน้ำลาย
ต่อมน้ำลาย มีโครงสร้างเป็นเนื้อเยื่อเกี่ยวพันหุ้มไว้ เรียกว่า interlobular connective tissue septa และมีเนื้อเยื่อเกี่ยวพันยื่นแทรกเข้าไปแบ่งเนื้อต่อมออกเป็นส่วนๆ เรียกว่า lobes และแทรกแบ่งย่อยลงเป็นส่วนๆขนาดเล็กอีก เรียกว่า lobules ทำให้เนื้อเยื่อเกี่ยวพันนี้ทำหน้าที่โดยตรงในการค้ำจุนเนื้อต่อมไว้ และใช้เป็นทางผ่านของท่อต่อมที่ยื่นเข้าสู่ช่องปาก รวมถึงเป็นที่อยู่ของหลอดเลือด และเส้นประสาทที่ใช้หล่อเลี้ยงเซลล์ต่างๆของต่อมน้ำลาย ทั้งนี้ โครงสร้างหลักของต่อมน้ำลาย แบ่งออกเป็น 2 ส่วน ได้แก่
1. Secretory Unit
โครงสร้างของต่อมน้ำลายส่วนนี้ ทำหน้าที่ผลิต และหลั่งน้ำลายเป็นหลัก มีโครงสร้างต่อมเป็น tubular portion และ alveolar portion แต่เป็นแบบ alveoli (alveolar) เป็นหลัก และแบ่งออกเป็น serous alveoli และ mucous alveoli
• Serous alveoli
เซลล์ที่อยู่ใน serous alveoli มีรูปร่างเป็นปิรามิด ฐานเซลล์กว้าง ปลายเซลล์แคบ บริเวณปลายเซลล์พบ lumen เล็กๆ ทำหน้าที่เป็นทางผ่านของสารคัดหลั่งที่มาจาก serous cells โดย serous alveoli มีฐานเซลล์วางบน basal lamina ขอบเซลล์มีความชัดเจน มีนิวเคลียสค่อนมาทางฐานเซลล์ มีไซโตพลาสซึมที่ส่วนฐาน และรอบนิวเคลียสติดสี basic dyes
เมื่อส่องด้วยกล้องจุลทรรศน์จะพบ rough endoplastmic reticulum เรียงซ้อนกัน และมีแทรกด้วยไมโตคอนเดรีย และส่วนยอดมี zymogen granules จำนวนหนึ่ง zymogen granules นี้ สามารถย้อมติดสีได้ด้วยเทคนิค PAS ซึ่งบ่งชี้ได่ว่าภายใน granules มีคุณสมบัติเป็นกรด
ระหว่าง basal surface ใน serous cells กับ basal lamina จะมี myoepithelial cells ที่มี processes ล้อมรอบ และใน alveoli processes เหล่านี้ จะเกาะกลุ่มกันคล้ายตะกร้า เรียกว่า basket cells ที่หากมีการหดตัวจะช่วยขับสารคัดหลั่งออกจาก alveoli ได้ และส่งต่อเข้าสู่ท่ออื่นๆต่อไป
ต่อมน้ำลายชนิดผสมจะมี serous cells เรียงตัวคล้ายรูปพระจันทร์เสี้ยว คลุมอยู่ด้านปลายของ mucous alveolus ซึ่งเป็นลักษณะเฉพาะของต่อมน้ำลายชนิดผสม โดยสารคัดหลั่งที่ออกมาจาก serous cells จะผ่านท่อเล็กๆที่อยู่ระหว่าง mucous cells แล้วเข้าที่ปลายท่อของ mucous alveoli
2. Duct System
โครงสร้างของต่อมน้ำลายส่วนนี้ ทำหน้าที่เป็นที่อยู่ของท่อน้ำลายเพื่อส่งผ่านน้ำลายเข้าสู่ช่องปาก โครงสร้างส่วนนี้มีอยู่ทั้งด้านในเนื้อต่อม และนอกเนื้อต่อม
ท่อส่งน้ำลายในเนื้อต่อมบริเวณ Secretory Unit ซึ่งเชื่อมต่อเป็นท่อแรกจากเนื้อต่อม เรียกว่า intercalated duct โดยน้ำลายจากท่อส่วนนี้จะส่งผ่านมายังท่อที่มีขนาดใหญ่ขึ้น เรียกว่า striated duct และทั้ง intercalated duct และ striated duct จัดเป็นท่อต่อมด้านในที่เรียกว่า intralobular duct แทรกตัวอยู่ในส่วนของ lobules
จากนั้น น้ำลายจะส่งผ่านเข้าสู่ท่อที่มีขนาดใหญ่ขึ้น ซึ่งจัดเป็นท่อต่อมด้านนอก เรียกว่า inter lobular duct แทรกอยู่ในส่วนของ lobes และส่งผ่านน้ำลายเข้าสู่ท่อหลัก (main duct) ซึ่งมีขนาดใหญ่ที่สุดเข้าสู่ช่องปาก
– Striated duct เป็นท่อส่วนแรกที่รับส่งน้ำลายจากเนื้อต่อม มีเยื่อบุผิวท่อเป็นชนิด simple cuboidal epithelium
– Intercalated duct เป็นท่อที่ต่อจาก striated duct ถูกบุด้วยเนื้อเยื่อ simple cuboidal epithelium มีนิวเคลียสอยู่ตรงกลางเซลล์ ส่วนไซโตพลาสซึมติดสีเข้มทั่วไปได้ โดยด้านในของไซโตพลาสซึมมีแถบเป็นลายแทรก เรียกว่า basal striation มีเยื่อหุ้มเซลล์บริเวณส่วนฐานเว้า และแทรกเข้าไปในไซโตพลาสซึม และมีไมโตคอนเดรียแทรกอยู่
– Interlobular duct เป็นท่อที่มีขนาดใหญ่ขึ้น ถูกบุด้วยเยื่อชนิด simple columnar epithelium และจะเปลี่ยนเป็น pseudostratifield epithelium
– Main duct เป็นท่อที่บุด้วยเยื่อ stratified columnar epithelium และเมื่อไกล้ปากช่องเปิดในช่องปากจะเปลี่ยนเป็นชนิด stratified squamous epithelium