บอนไซที่ทําจากต้นสน ถือว่าเป็นหนึ่งในสายพ้นธุ์ที่ได้รับความนิยมมาทําบอนไซมากที่สุด ซึ่งนักเล่นบอนไซทั่วโลกต่างขนานนามให้บอนไซต้นสนเป็น king of bonsai สายพันธุ์ของต้นสนมากกว่า30สายพันธุ์ สามารถนํามาทําบอนไซได้ ซึ่งบอนไซที่ทําจากต้นสนจัดได้ว่ามีเอกลักษณ์เฉพาะตัว ทั้งรูปทรง ความละเอียดของใบ ความอ่อนช้อยของลําต้น รวมถึงความอดทนต่อสภาพภูมิอากาศที่หลากหลาย ทําให้บอนไซต้นสนจัดว่าเป็นต้นไม้ชนิดหนึ่งที่มีชีวิตยืนยาวที่สุดในโลก นอกจากนี้ต้นสนเองยังสามารถนํามาทําบอนไซให้มีรูปทรงต่างๆได้หลากหลายรูปทรง ว่ากันว่ารูปทรงของบอนไซตระกูลสนที่มีอยู่ในโลกนี้ มีรูปทรงไม่ซํากันเลยทีเดียว นอกจากต้นสนแล้ว ก็ยังมีบอนไซที่ทำจากต้นไม้ชนิดอื่นๆอีกพอสมควร
มาทำความรู้จักตัวตนของหนุ่มคนนี้กัน คุณเก่ง ฐานันดร์ ปฏิภานธาดา หนึ่งใน Young Sucess และคนรักศิลปะบอนไซในยุคนี้
LA: พูดถึงตัวเองหน่อยค่ะ
เก่ง: ผมเป็นคนไทย อาศัยอยู่ในกรุงเทพฯ ผมเป็นสถาปนิก รักศิลปะ และ ธรรมชาติ ความหลงไหลในศิลปะ บอนไซ ของผมเริ่มตั้งแต่ปี 1982(อายุ 10 ขวบ) จากการเปิดหนังสือ บอนไซ เล่มเล็กๆในร้านหนังสือแห่งหนึ่ง นับป็นครั้งแรกที่ได้เห็นต้น บอนไซ จากหนังสือบอนไซต่างประเทศ ผมเปิดหนังสือบอนไซดูแล้วดูอีกซ้ำเป็นสิบรอบ และก็แวะไปที่ร้านหนังสือแห่งนี้ทุกวัน หลังจากนั้นไม่ว่าจะผ่านร้านหนังสือที่ไหนก็ตามก็จะต้องขอแวะเข้าไป เผื่อว่าจะมีหนังสือบอนไซเล่มใหม่ๆให้ดู สมัยนั้นไม่มี อินเตอร์เน็ต ประกอบกับความนิยมบอนไซยังไม่แพร่หลายมากนัก นานๆคร้งถึงจะได้เห็น ต้นบอนไซจริงๆ จากร้านต้นไม้บางร้านเท่านั้น ผมจึงได้เก็บสะสมหนังสือบอนไซทั้งของไทยและ หนังสือบอนไซต่างประเทศ รวมถึงการลองผิดลองถูกกับการสร้างบอนไซที่เก็บสะสมตลอดระยะเวลายี่สิบกว่าปีที่ผ่านมา ไม่น่าเชื่อว่านั่นจะเป็นการจุดประกายให้ผมเริ่มค้นคว้า ศึกษา ทดลองทำบอนไซ จนมีบอนไซสะสมมาจนถึงทุกวันนี้
LA: เล่าถึงคำถามที่มักโดนถามบ่อยๆตั้งแต่เริ่มทำธุรกิจนี้ค่ะ
เก่ง: ส่วนใหญ่คนจะสนใจและถามประมาณนี้คับ
เราจะหาต้นสน (juniper)ได้ที่ไหน ?
ต้นสน จูนิเปอร์ ไม่ไช่ไม้พื้นถิ่นในประเทศไทย แต่เป็นไม้ต่างประเทศ โดยเฉพาะที่ Bonsai Baison ก็ได้นำเข้าสายพันธุ์จากประเทศญี่ปุ่นเป็นหลัก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง สายพันธุ์ที่เราเน้นเป็นหลักคือ Itoigawa Shimpaku ซึ่งถือว่าเป็นสายพันธุ์ Juniper ที่ดีที่สุดในโลก และสามารถปลูกในเมืองไทยได้ทั่วทุกภาค ดังนั้นเราจึงไม่สามารถหาต้นสนจูนิเปอร์ได้ตามร้านทั่ว
ใช้เวลานานแค่ไหน กว่าจะเป็นบอนไซที่สวยพร้อมโชว์ ?
บอนไซถือเป็นศิลปะที่ตกแต่งได้ไม่มีวันจบ สามารถเปลี่ยนรูปทรงได้ตามความพอใจ ขึ้นอยู่กับว่าจะอยู่ในมือของศิลปินท่านไหน โดยพื้นฐานแล้วไม้บอนไซสวยๆ ที่แต่งจบแล้ว เขาใช้เวลาขึ้นอยู่กับ ฟอร์มของไม้นั้นๆ และอยู่ที่คนสร้างบอนไซด้วยว่าจะเห็นจุดเด่นอะไรในไม้นั้นๆ บอนไซบางต้นใช้เวลา 2-3ปีจบ หรือ อาจจะมากกว่านั้นคือ 10-20 ปีจบ ทั้งนี้ทั้งนั้นขึ้นอยู่กับว่า เราอยากให้บอนไซที่เราออกแบบ มีรูปทรงแตกต่างจากของเดิม มากน้อยแค่ไหน เราสามารถหาชมไม้บอนไซสวยๆได้ที่เวปไซด์ต่าง จะทําให้เราเห็นแนวทางในการทําไม้มากขึ้น
บอนไซ ต้นสน juniper อยู่ในร่มได้นานแค่ไหน ?
ปกติแล้วไม้ตระกูลต้นสน จูนิเปอร์ เป็นไม้ที่ชอบแดดตลอดวัน หรืออย่างน้อย 4 ชั่วโมงต่อวัน แต่เคยมีประสบการณ์ที่ได้ทดลองกับตัวเอง เคยเอาต้นสนจูนิเปอร์ไว้ในร่ม ไม่โดนแสงแดดเลย แต่อยู่ภายนอกอาคารนะครับ ไม่ใช่ในห้องทึบๆ อากาศถ่ายเทได้สะดวก ก็อยู่ได้นานถึง 6เดือน โดยที่ไม่เป็นอะไรเลย แต่พบว่าต้นสนจะไม่งามเท่าที่ควร และลักษณะกื่งก้านใบของต้นสนจูนิเปอร์ จะยืดยาว ไม่กระชับสวยเหมือนต้นสนที่อยู่กลางแดด ทั้งนี้ทั้งนั้นขึ้นอยู่กับความแข็งแรงของไม้นั้นนั้นด้วย แต่อย่างไรก็ตาม ถ้าเราต้องการนํา บอนไซ ต้นสนจูนิเปอร์ เข้ามาโชว์ในบ้าน แนะนําว่าควรจะมีหลายต้น และสลับกันไว้ในบ้านสัก 2-3 วัน และคอยเปลี่ยนต้นสลับกันไป ก็น่าจะเหมาะสมที่สุด
ทําอย่างไรเราถึงจะมี idea ในการออกแบบบอนไซได้สวย ?
ครูที่สอนบอนไซได้เก่งที่สุด คือ ตัวเราเอง ต้องมีใจที่รักบอนไซอย่างแท้จริง กล้าลองทําเยาะๆด้วยประสบการณ์ที่สะสมมา จะค่อยๆพัฒนารวมถึงการลองผิดลองถูก ก็จะทําให้เราเก่งขึ้น และที่สําคัญที่สุด เราต้องทําความเข้าใจ รูปทรงต้นไม้ใหญ่ที่อย่ในธรรมชาติ โดยพื้นฐานทั่วไปจะเป็นทรงสามเหลี่ยม ฐานกว้าง เพราะเหตุใดจึงเป็นเช่นนั้น กิ่งที่อยู่ตําสุดจะเป็นกิ่งที่แก่ที่สุด ด้วยระยะเวลาที่ยาวนานทําให้กิ่งนั้นถูกบดบังจากแสงอาทิตย์จากกิ่งที่อยู่เหนือขึ้นไป กิ่งนั้นจึงยื่นยาวออกมามากที่สุดเพื่อรับแสง ส่วนกิ่งที่อยู่เหนือขึ้นไป อายุน้อยกว่าก็จะสั้นกว่า จึงทําให้เกิดเป็นรูปทรง สามเหลี่ยม ต้นไม้บางต้นอายุมากกว่า 500ปี กิ่งด้านล่างที่ยื่นออกมามากอาจจะหักโค่นลงทําให้กิ่งดังกล่าวตายไป เกิดเป็นซากไม้แนบอยู่ บ่งบอกถึงอายุที่ยืนยาว
แต่การที่เราจะทําบอนไซให้เป็นรูปสามเหลี่ยมทื่อๆ เสียทั้งหมด ก็จะทําให้บอนไซของเราขาดเสน่ห์ เพราะในธรรมชาติจริงแล้ว ต้นไม้จะมีรูปทรงที่ลื่นไหลขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อม บางต้นขึ้นตรงบริเวณหน้าผา รูปทรงก็จะย้อยต่ำลงมากว่าโคนต้น(ทรงตกกระถาง) บางต้นโดนกระแสลมโกรกอยู่ตลอดเวลา ทําให้เกิดกิ่งหักลู่ลมจนเกิดไม้ซากติดที่ลําต้น นอกจากนี้ทรงของบอนไซ ยังขึ้นอยู่กับว่าเราเอาไม้ชนิดใดมาทํา เช่นถ้าเราเอามะขามมาทําบอนไซ เราควรจะทําให้เหมือนทรงต้นมะขามต้นใหญ่ ไม่ใช่ทําออกมาเหมือนต้นไทร หรือ ต้นสน ซึ่งจะทําให้มองดูขัดตา
ปัจจุบันเราสามารถหาดูรูปทรงบอนไซสวยๆได้จาก เวปไซต่าง และหนังสือบอนไซอีกมากมาย ก็จะทําให้เราเห็นแนวทางในการทําบอนไซสวยมากยิ่งขึ้น
เราควรลดน้ำวันละกี่ครั้ง ?
โดยปกติ การให้น้ำบอนไซต้นสน จูนิเปอร์ ควรให้วันละสองครั้ง ในช่วงเช้า แลั เย็น โดยรดน้ำให้ชุ่มทั้งดินและใบ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นก็ขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย เช่นถ้าอากาศชื้นแฉะมากโดยเฉพาะในฤดูฝน เราอาจจะรดน้ำแค่วันละครั้ง เพราะบอนไซ ต้นสนจูนิเปอร์ ไม่ชอบดินชื้นแฉะ จึงควรระวังรากเน่าที่เกิดจากการให้น้ำมากเกินไป วิธีป้องกันรากเน่า ควรใช้วัสดุปลูกบอนไซให้ถูกต้อง เหมาะสมกับบอนไซ ต้นสนจูนิเปอร์
การลดน้ำบอนไซควรใช้ฝักบัว หรือหัวฉีดที่เป็นละอองฝอย อย่าใช้หัวฉีดที่แรงเกินไป จะทําให้ดินในกระถางบอนไซจับตัวแน่น รากจะขาดอากาศหายใจ และควรรดน้ำให้ทั่วทั้งต้นบอนไซเพือชําระล้างสิ่งสกปรกตามใบต่างๆวัสดุที่ใช้ปลูกบอนไซ ต้นสนจูนิเปอร์ มีอะไรบ้าง ?
วัสดุที่ปลูกบอนไซ ต้องระบายน้ำได้เป็นอย่างดี แต่ในขณะเดียวกันก็สามารถอมความชื้นได้นานตลอดวัน ถ้าเราใช้วัสดุที่ดี ต่อให้เรารดน้ำนานแค่ไหน ก็ไม่มีทางที่น้ำจะล้นออกนอกกระถางบอนไซ ถ้าพบว่าน้ำที่รดขังนองไม่ระบาย และล้นออกนอกกระถางบอนไซ แสดงว่าเป็นสัญญาณเตือนว่า ดินในกระถางบอนไซเริ่มจับตัวแน่น ทําให้รากบอนไซ ขาดอากาศหายใจ ได้เวลาที่ต้องเปลี่ยนดินในกระถางบอนไซแล้ว
วัสดุปลูกบอนไซ ต้นสนจูนิเปอร์ มีดังนี้
1.หินภูเขาไฟ 65%
2. ดินขุยไผ่ 20%
3.ทรายหยาบ 15%
ปุ๋ยที่ใช้กับบอนไซคือปุ๋ยอะไร ?
เนื่องจากดินที่ใช้ปลูกบอนไซ ต้นสนจูนิเปอร์ จะประกอบไปด้วยอนินทรีย์วัตถุ(กรวด หิน ทราย) ถึง 75% สาเหตูที่ไม่แนะนําให้ใช้ อินทรย์วัตถุ(ใบไม้ มูลสัตว์ ขุยมะพร้าว)เป็นหลัก เพราะนานวันจะเกิดการย่อยสลาย ทําให้ดินจับตัวแน่นขึ้น สังเกตุว่าดินในกระถางที่มีอินทรีย์วัตถุเยอะๆจะยุบตัวลง ต้องเติมดินอยู่เรื่อยๆ จนเป็นสาเหตุให้การระบายน้ำไม่ดี และรากบอนไซเน่าได้ในที่สุด เมื่อเราใช้อินทรีย์วัตถุเป็นแหล่งอาหารเพียง 25% เราจึงควรให้ปุ๋ยอินทรีย์เป็นหลัก เช่น ปุ๋ยอินทรย์อัดเม็ด สำหรับบอนไซโดยเฉพาะ หรือปุ๋ยน้ำชีวภาพ(EM) ก็ได้ แต่ควรจะให้น้อยๆ ระยะห่าง 1-2เดือน/ครั้งก็เพียงพอแล้ว
ระยะเวลาในการเปลี่ยนดินในกระถางบอนไซ นานแค่ไหน ?
ระยะเวลาในการเปลี่ยนดินในกระถางบอนไซ ขึ้นอยู่กับวัสดุที่ปลูกบอนไซ ถ้าหากเราใช้วัสดุปลูกบอนไซได้ถูกต้อง และระบายนําได้ดี สําหรับกระถางบอนไซขนาดเล็ก ก็จะใช้เวลา 1-2 ปี ค่อยเปลี่ยนดินใหม่ หากว่าเป็นกระถางบอนไซขนาดกลาง-ใหญ่ ก็ประมาณ 2-5 ปี ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสุขภาพของต้นบอนไซด้วย
ฤดูฝน ควรดูแลบอนไซ ต้นสนจูนิเปอร์ อย่างไร ?
เนื่องจากบอนไซตระกูลต้นสนจูนิเปอร์ ไม่ชอบความชื้นแฉะ แต่ในขณะเดีวกัน ก็ต้องการแสงแดดมากพอ จึงมักเกิดคําถามว่า ฤดูฝนจําเป็นต้องเก็บบอนไซเข้าที่ร่มรึเปล่า ถ้าดินที่เราปลูกบอนไซถูกต้องเหมะสม ระบายน้ำได้ดี ก็ไม่จําเป็นต้องเก็บ สามารถตั้งบอนไซไว้กลางแจ้งท้าแดดท้าฝนได้เลย แต่ในสวนบอนไซระดับอาชีพ มักจะทําโรงเรือนบอนไซขึ้นมาโดยเฉพาะ เพื่อควบคุมปริมาณน้ำที่ให้แก่ไม้บอนไซ เพราะบอนไซในบางสายพันธุ์เมื่อได้รับน้ำมากเกินไป จะทําให้กิ่งก้านรวมถึงขนาดของใบบอนไซ ผิดทรงได้
ฤดูหนาว ควรดูแลบอนไซ ต้นสนจูนิเปอร์ อย่างไร ?
จริงๆแล้วไม้ตระกูลต้นสน เป็นไม้ที่ชอบอากาศเย็นอยู่แล้ว เพราะฉนั้นอากาศหนาวในบ้านเราไม่รุนแรงมาก เราจึงสามารถตั้งบอนไซไว้กลางแจ้งเหมือนเดิม เพียงแต่ระวังเรื่องอากาศที่แห้ง จะทําให้ดินในกระถางบอนไซสูญเสียความชื้น ยิ่งถ้าหากบอนไซ อยู่ในกระถางที่เล็กและแบน จะทําให้ดินแห้งไว เราควรรดน้ำบอนไซเช้าเย็น ดังนั้นต้นบอนไซในฤดูนี้อาจจะหยุดการเจริญเติบโตไปบ้าง ก็อย่าแปลกใจ ถือว่าเป็นฤดูที่ต้นบอนไซเขาพักตัว(hibernate)เจ้าของบอนไซก็จะได้พักเช่นกันไม่ต้องคอยตัดแต่งกิ่งบ่อยๆ ในบางประเทศที่มีหิมะตก เจ้าของสวนบอนไซจะมี โรงเก็บไม้บอนไซเพื่อปรับอุณหภูมิ ลดความเสียหายจากความเย็น
ฤดูร้อน ควรดูแลบอนไซ ต้นสนจูนิเปอร์ อย่างไร ?
สําหรับฤดูร้อนในเมืองไทยค่อนข้างร้อนจัด และมีอุณหภูมิที่สูง บอนไซไม่ควรถูกแดด100% ตลอดวัน อาจจําเป็นต้องย้ายสถานตั้งบอนไซให้โดนแดดประมาณ4ชั่วโมง ช่วงเช้า จะดีที่สุดเพื่อป้องกันใบไหม้ และทิ้งกิ่ง หรืออาจจะใช้แสลงมาคลุมโรงเรือนบอนไซ และเพิ่มการให้น้ำบอนไซเป็นวันละ2ครั้ง เช้าและเย็น
วิธีเลือกกระถางบอนไซ ?
เริ่มต้นที่วัสดุที่ใช้ทํากระถางบอนไซก่อน สําหรับประเทศไทยมีอากาศร้อนชื้น ถ้าเราใช้กระถางบอนไซที่ทําจากกระเบื้องเคลือบหรือเซรามิก จะไม่เหมาะสม เพราะเนื้อของกระเบื้องจะอมความร้อนและกักเก็บความร้อน ทําให้อุณหภูมิภายในกระถางบอนไซสูง ระบบรากบอนไซจะได้รับความเสียหาย ดังนั้นควรใช้กระถางบอนไซที่ทําจากดินเผาจะดีที่สุด เพราะจะดูดซับความชื้นของดิน และทําให้กระถางบอนไซเย็นตลอดทั้งวัน
ส่วนเรื่องของขนาดกระถางบอนไซ หลายคนสงสัยว่าบอนไซของเราต้องใช้กระถางขนาดเท่าไรถึงจะเหมาะสม เรามีแนวทางในการเลือกขนาดกระถางบอนไซง่ายๆดังนี้ ให้เราวัดขนาดของต้นบอนไซ ด้านหน้าของไม้ จากปลายใบข้างซ้ายสุดมาขวาสุด ยาวเท่าไร เช่น ถ้าเราวัดได้60 ซ.ม. เราควรใช้กระถางบอนไซที่มีความยาว 2ใน3 ของ 60 ซ.ม. ดังนั้นกระถางบอนไซควรมีความยาว 40 ซม. เป็นต้น
ถ้าหากบอนไซของเราเป็นทรงตกกระถาง หรือ กึ่งตกกระถาง เราควรใช้กระถางบอนไซที่มีความสูงมากพอที่กิ่งล่างสุด จะไม่สัมผัสพื้น เป็นต้น
วิธีการย้ายต้นบอนไซจากกระถางใหญ่มาสู่กระถางบอนไซขนาดเล็ก ควรทําอย่าไร ?
ขั้นตอนนี้ต้องยึดหลักค่อยเป็นค่อยไป คือถ้าเดิมต้นบอนไซของเราอยู่ในกระถางที่มีขนาดใหญ่มาก แต่เราอยากใส่กระถางบอนไซใบเล็ก เราไม่สามารถทําโดยทันที เพราะถ้าทําเช่นนั้น เราจะต้องตัดรากบอนไซออกเป็นจํานวนมาก อาจทําให้บอนไซตายได้ เราควรลดทอนขนาดกระถางบอนไซเป็น2-3ระยะ ทีละขั้น อาจกินเวลาในการปลูกในกระถางที่เล็กลงในแต่ละขนาด นานถึง 6-8 เดือน เพื่อให้รากต้นไม้มีระยะเวลาในการฟื้นตัวที่นานพอ หลังจากนั้นก็ลดขนาดกระถางบอนไซต่อไปอีกเรื่อยๆ จนท้ายที่สุดจะเป็นกระถางบอนไซที่แท้จริง จําไว้ว่าไม่ควรตัดรากบอนไซต้นสนจูนิเปอร์ เกิน 30-40% และบอนไซต้นสนจูนิเปอร์ไม่ควรล้างรากถ้าไม่จําเป็น และทุกครั้งที่เปลี่ยนกระถางบอนไซใหม่ ควรจะตั้งไว้ในที่ที่มีแสงแดดรําไร ประมาณ 2-3 สัปดาห์ หลังจากบอนไซแตกใบใหม่แล้ว จึงค่อยนําบอนไซมาไว้กลางแจ้งเหมือนเดิม หลังจากเปลี่ยนดินหรือ กระถางใหม่ บอนไซของเราอาจมีใบแห้งเป็นสีน้ำตาลบริเวณโคนกิ่งบ้าง ก็อย่ากังวลเพราะเป็นช่วงที่ไม้บอนไซปรับตัว ให้เราสังเกตูว่าตรงโคนกิ่งที่เป็นสีน้ำตาล จะมีหน่อใบใหม่สีเขียวแตกขึ้นมา ก็ให้ถือว่าเป็นสัญญาณที่ปลอดภัย
LA: สำหรับคนที่ชอบบอนไซรับรองคุยกันได้ทั้งวัน หากต้องการติดต่อคุณเก่งติดต่อได้ที่ไหนค่ะ
เก่ง: ฐานันดร์ ปฏิภานธาดา
mobile 089-000-5544, 089-155-8580
keng@bonsaibaison.com Skype name : thanun-bonsaibaison
ขอบคุณภาพและข้อมูลจาก www.bonsaibaison.com www.facebook.com/thanun.patipantada
Clips “Lightning Talk กับ สายสวรรค์ ขยันยิ่ง” www.youtube.com