ความหมาย อปริหานิยธรรมสำหรับคหัสถ์ 7 และแนวทางปฏิบัติ


อปริหานิยธรรม หมายถึง ธรรมไม่เป็นที่ตั้งแห่งความเสื่อม แต่เป็นธรรมเพื่อความเจริญ กล่าวคือ ถ้าบุคคล ปฏิบัติตามอปริหานิยธรรม บุคคลนั้น จะมีแต่ความเจริญความก้าวหน้าในชีวิต ไม่มีความเสื่อม ความเสียหาย อันเป็นอุปการะมากสำหรับผู้ปฏิบัติ ผู้บริหาร หมู่ชน และคนในสังคม

อปริหานิยธรรม แบ่งเป็น 2 ลักษณะ คือ
1. อปริหานิยธรรมสำหรับคฤหัสถ์
2. อปริหานิยธรรมสำหรับพระสงฆ์

อปริหานิยธรรมสำหรับคหัสถ์ (วัชชีอปริหานิยธรรม) 7 ประการ
อปริหานิยธรรมสำหรับคหัสถ์ 7 ประการ แสดงธรรมโดยพระพุทธองค์ แก่เจ้าลิจฉวีเพื่อให้ปฏิบัติตาม เมื่อครั้นประทับ ณ สารันทเจดีย์ ใกล้กรุงเวสาลี แคว้นวัชชี ประกอบด้วยธรรม 7 ประการ ที่พออธิบายให้เข้าใจง่ายๆ คือ
1. จัดประชุม และหารือกันเพื่อแลกเปลี่ยนความรู้เป็นนิตย์
2. การประชุมต้องให้หมู่คณะมีเพรียงกัน รวมถึงการเลิกประชุม และการทำกิจอันสมควรให้พร้อมเพรียง
3. บัญญัติหรือมีมติในสิ่งในเรื่องใหม่ และข้อบัญญัติไม่ขัดหรือตัดรอนบัญญัติก่อน พร้อมยอมรับ และศึกษาในธรรมะของชาววัชชีที่ได้บัญญัติก่อน
4. ให้เคารพนับถือคำกล่าวของผู้อาวุโส
5. ไม่ล่วงละเมิดทางใจ และกายในสตรีที่มีสามีหรือสตรีสาวในชาววัชชี
6. ให้ความเคารพ และสักการะ รวมถึงการบูรณะเจดีย์หรือพุทธสถานที่ปลูกสร้างไว้
7. ให้การสงเคราะห์ และอุปการะแก่สงฆ์ทั้งหลาย

ครูอาจารย์

และในสมัย พระเจ้าอชาตศัตรู กษัตริย์แห่งรัฐมคธ ทรงหวังจะตีเอาแคว้นวัชชีมาปกครอง แต่ก่อนนั้นได้ส่งวัสสการพราหมณ์ ผู้เป็นมหาอำมาตรประจำแคว้นไปเฝ้าพระพุทธองค์ที่เขาคิชฌกุฎ พร้อมให้เล่าแจ้งให้ทรงทราบ และให้วัสสการพราหมณ์ฟังดูว่า พระพุทธองค์จะทรงพยากรณ์ว่าอย่างไร

เมื่อวัสสการพราหมณ์เข้าไปเฝ้า และได้กราบทูลในเรื่องนั้นเหล่านั้น พระพุทธองค์ทรงตรัสถามพระอานนท์ในเนื้อหาแห่งอปริหานิยธรรม 7 ประการ ที่พระองค์เคยตรัสแสดงอปริหานิยธรรมทั้ง 7 ประการ เมื่อครั้นประทับ ณ สารันทเจดีย์ใกล้กรุงเวสาลี เพื่อยังให้วัสสการพราหมณ์ได้รับฟัง อันจะหวังความเจริญเพื่อไม่ให้เกิดความเสื่อมว่า ครั้นกล่าวจบ วัสสการพรามหมณ์ก็กราบทูลว่า เพียงข้อใดข้อหนึ่งก็หวังความเจริญเพื่อไม่ให้เกิดความเสื่อมได้ อันไม่จำเป็นต้องทำให้เกิดถึง 7 ข้อ ดังนั้น พระเจ้าอชาตศัตรูไม่ควรทำการรบกับชาววัชชี เว้นไว้แต่จะใช้วิธีการยุให้ชาวเมืองแตกแยกกัน เมื่อกล่าวจบแล้ว วัสสการพรามหมณ์ก็กราบทูลลากลับไป

อปริหานิยธรรมสำหรับพระภิกษุ (ภิกขุอปริหานิยธรรม) 7 ประการ
หลังจาก ได้แสดงอปริหานิยธรรม 7 ประการ แก่วัสสการพราหมณ์แล้ว ต่อมาจึงตรัสเรียกประชุมสงฆ์ทั้งหมดที่อยู่ในกรุงราชคฤห์ พร้อมกับแสดงธรรมอปริหานิยธรรมทั้ง 7 ประการ ดังนี้
1. ให้หมั่นประชุม และหา เพื่อแลกเปลี่ยนธรรมกันเป็นนิตย์
2. การประชุมให้เกิดความพร้อมเพรียงทั้งในหมูคณะ การเลิกประชุม และการทำกิจอันสมควร
3. ไม่พึงบัญญัติในสิ่งที่พระพุทธองค์ไม่เคยบัญญัติ และไม่เพิกถอนที่สิ่งที่พระพุทธองค์ได้บัญญัติไว้ รวมถึงข้อบัญญัติใหม่ไม่พึงขัดหรือตัดรอนกับบัญญัติที่พระพุทธองค์ได้ทรงบัญญัติไว้
4. พึงเชื่อ และเคารพในภิกษุที่อาวุโส
5. พึงละเว้น และไม่ลุในความอยากทั้งหลาย
6. พึงยินดีในสถานที่พักของตน
7. พึงตั้งความปรารถนาดีในทางธรรมต่อพระภิกษุหรือสามเณรผู้ที่จะเข้ามาอยู่ร่วม

ที่มา 


Similar Posts