ความหมาย ทมะ ทำไมต้องฝึกการข่มใจตน อานิสงส์ของการมีทมะ
1. การข่มใจ
2. การฝึกตน
ทมะ 2 ประการ
1. การข่มใจตนเอง
การข่มใจตนเอง คือ การรู้จักใช้ปัญญาในการยับยั้งจิตใจตนเองไม่ให้ตกอยู่ในกิเลสทั้งหลายอันจะทำให้ตนเสื่อมลง อันประกอบด้วยการรู้จักข่มใจตนเองให้ห่างจากกิเลส 3 อย่าง ได้แก่
– ความโกรธ คือ รู้จักระงับความโกรธอันเป็นภาวะที่เกิดจากความขุ่นเคือง ความคับแค้นใจ ธรรมที่ใช้เป็นแนวทางในการระงับความโกรธ ได้แก่ ขันติ คือ การรู้จักความอดทน
– ความโลภ คือ รู้จักระงับความทะยานอยากเพื่อตอบสนองความต้องการของตน อันเป็นความทะยานอยากในรูปธรรมที่ทวารทั้ง 5 สัมผัสได้ ธรรมที่ใช้ระงับความอยากนี้ ได้แก่ การมีความเมตตา กรุณา และจาคะ คือ การรู้จักให้ รู้จักบริจาค
– ความหลง คือ รู้จักระงับใจตนเองไม่ให้หลงมัวเมาในรูปธรรมที่ตนพอใจทั้งหลาย และไม่หลงมัวเมาในภาวะความสุขอันเกิดจากการปรุงแต่งขึ้นจากจิตของตน ธรรมที่ใช้ในการระงับความหลงมัวเมานี้ ได้แก่ ปัญญา คือ การรู้จักใช้ความรู้หรือประสบการณ์ของตนพิจารณาวิเคราะห์ให้รู้แจ้งในสิ่งเหล่านั้นตามหลักแห่งเหตุ และผล อันนำมาสู่สัมมาทิฏฐิ คือ ความเห็นชอบ รู้ชอบในทางอันเป็นกุศลธรรม
2. การฝึกฝนตนเอง
การฝึกฝนตนเอง คือ การรู้จักฝึกฝน ฝึกปฏิบัติ และมั่นยับยั้งจิตใจของตนให้ห่างจากกิเลสทั้งหลายข้างต้น อันจะทำให้ความดีนั้นให้คงอยู่ และให้เจริญยิ่งขึ้นไป การฝึกฝนตนนั้น พึงให้ใช้ปัญญา คือ การใช้ความรู้เป็นพื้นฐานในการคิดพิจารณาต่อสิ่งใดสิ่งหนึ่งเป็นนิจ ทั้งที่เคยเกิดแล้วมาเป็นประสบการณ์ ทั้งที่ขณะเกิดมาคิดถึงผลเสียที่จะตามมา และสิ่งที่อาจจะเกิดในอนาคตด้วยการหลีกเลี่ยงให้ห่าง ทั้งนี้ วธีการฝึกฝนตนท่านพึงให้ใช้การฝึกสมาธิ และมรรคทั้ง 8 เป็นแนวทาง
อานิสงส์ของการมีทมะ
1. ปลูกฝังให้ตนเป็นผู้มีความอดทน
2. เป็นผู้มีจิตใจสงบ มีสมาธิ ทำกิจการใดด้วยความรอบคอบ
3. เป็นผู้มีลาภ ยศ และทรัพย์ในภายภาคหน้า และไม่เสื่อมในลาภ ในยศ และในทรัพย์นั้นได้ง่าย
4. เป็นผู้มีปัญญา ไม่หลงมัวเมาในสิ่งทั้งหลาย
5. ผู้อื่นให้ความเคารพนับถือ
– ฯลฯ
โทษของการขาดทมะ
1. มักเป็นผู้โกรธง่าย โมโหร้ายจนผู้อื่นไม่คบหา
2. มักสร้างศรัตรู คู่อริ
3. มักถูกหลอกลวงได้ง่าย
3. มักเป็นผู้ขาดสติปัญญา ขาดการรู้คิด
4. ทำให้เสื่อมในทรัพย์ ในยศที่ตนมี
5. มักถูกติฉินนินทา ผู้คนรังเกียจ
– ฯลฯ