การจัดฟัน และการดัดฟัน ข้อดีข้อเสียในการทำ
กระดูกขากรรไกรเพื่อให้กลับสู่สภาพปกติตามธรรมชาติหรือตามลักษณะที่ต้องการ ลักษณะของฟันที่มีการเรียงตัวผิดปกติ ได้แก่ ฟันขึ้นซ้อนกัน ฟันยื่น ฟันเอียง ฟันเก ฟันล่างคบฟันบน ฟันไม่ชนหรือไม่ชิดกัน
การจัดฟันสามารถทำได้ในทุกวัย โดยเริ่มได้สำหรับเด็กที่สามารถดูแลตนเองได้ ซึ่งการจัดฟันในวัยนีี้ถือเป็นการป้องกันรูปทรงของฟันมากกว่าการดัดฟัน เช่น หากพบว่าขากรรไกรของเด็กเล็กซึ่งจะส่งผลทำให้ฟันที่เกิดขึ้นมามีการซ้อนทับกันสามารถป้องกันได้โดยการใส่อุปกรณ์ขยายกระดูกขากรรไกรไว้ รวมไปถึงการใส่อุปกรณ์ป้องกันการจัดรูปของฟัน การเจริญของกระดูกขากรรไกร และการเรียงตัวของฟันที่ผิดรูปจากนิสัยของเด็ก เช่น การดูดนิ้ว การดูดริมฝีปากตัวเอง เพราะในระยะนี้เป็นช่วงที่มีทั้งฟันน้ำนม และฟันแท้
การจัดฟันในวัยรุ่นและผู้ใหญ่ถือว่าเป็นการจัดฟันของฟันแท้ที่เกิดครบแล้วเพื่อจัดการปัญหารูปทรงของฟัน สำหรับการจัดฟันในวัยนี้ต้องคำนึงถึงปริมาณกระดูกที่ห่อหุ้มรากฟันเป็นสำคัญ โดยเฉพาะคนที่มีอายุมากแล้วมักพบปัญหาในเรื่องโรคปริทันต์อักเสบที่มีการทำลาย และเสื่อมของกระดูกหุ้มรากฟัน ซึ่งจะทำให้ฟันไม่แข็งแรง เมื่อมีการดัดฟันโดยใส่อุปกรณ์จัดฟันจะทำให้ฟันโยก และกระดูกรากฟันเกิดความเสียหายได้ง่าย ดังนั้น ผู้จัดฟันในวัยที่อายุมากต้องมีการตรวจสภาพฟันว่าเป็นโรคปริทันต์อักเสบหรือไม่
การจัดฟันต้องใช้เวลาในการจัดเรียงฟันให้เป็นปกตินั้นต้องใช้เวลานานเป็นปี และต้องมีการพบแพทย์ตามนัดเป็นระยะเพื่อตรวจสภาพฟัน และอุปกรณ์ในการจัดฟัน ซึ่ีงหากไม่มีการไปพบแพทย์มักเกิดปัญหาในเรื่องระยะเวลาในการจััดฟันอาจนานขึ้น ทั้งนี้ การใส่อุปกรณ์ในการจัดฟันเป็นเวลานานอาจเสี่ยงต่อโรคฟันผุ และเหงือกอักเสบ นอกจากนั้น การปรับเปลี่ยนอุปกรณ์การจัดฟันแต่ละครั้งจะทำให้รู้สึกเจ็บ และปวดฟันนานหลายวัน
การปฏิบัติตนสำหรับผู้จัดฟัน
1. ควรไปพบแพทย์ตามนัดทุกครั้ง
การไปพบแพทย์ทุกครั้งถือเป็นการตรวจเช็คสุขภาพฟันหลังการจัดฟันเพื่อป้องกันการเคลื่อนของฟัน การอักเสบของรากฟัน รวมไปถึงการป้องกันโรคฝันผุ เหงือกอักเสบ และโรคปริทันต์โดยวิธีทำความสะอาดฟัน การเคลือบฟันด้วยฟลูออไรด์
2. ระวังไม่ให้มีสิ่งของมากระทบฟัน
การถูกระทบด้วยของแข็งที่รุนแรงอาจมีผลต่อโครงสร้างของรากฟันทำให้อุปกรณ์การจัดฟันเสียหาย และเกิดการเคลื่อนที่หรือโยกของฟันได้ ซึ่งหากเกิดเหตุการณ์ดังกล่าวต้องไปพบแพทย์ทันที
3. การพิถีพิถันในการรับประทานอาหาร
การรับประทานอาหารควรเลือกรับประทานอาหารที่เคี้ยวง่าย และหลีกเลี่ยงการเคี้ยวอาหารที่แข็ง อาหารเหนียวหรือกรอบ เช่น น้ำแข็ง เมล็ดผลไม้ รวมไปถึงผักผลไม้ที่ต้องออกแรงในการเคี้ยว เช่น ฝรั่ง พุทรา มันแกว มะเขือ เป็นต้น
4. การแปรงฟันเป็นประจำ
การแปรงฟันควรแปรงทุกครั้งหลังรับประทานอาหาร และก่อนนอน เพื่อป้องกันการเกิดโรคฟันผุ เหงือกอักเสบ รวมไปถึงการป้องกันเชื้อแบคทีเรียในช่องปาก โดยเฉพาะการจัดฟันที่ใช้อุปกรณ์จัดฟันประเภทยึดติดแน่น การแปรงฟันจะค่อนข้างลำบาก และต้องใช้เวลาในการแปรงนานกว่าปกติ ซึ่งอาจใช้น้ำยาทำความสะอาดฟัน และช่องปากร่วมด้วย
ข้อเสียของการจัดฟัน
1. เสี่ยงต่อโรคฟันผุ เหงือกร่น และเหงือกอักเสบได้ง่าย
2. การแปรงฟันค่อยข้างลำบาก ซึ่งต้องแปรงหลังรับประทานอาหารทันที
3. การนำอุปกรณ์การจัดฟันไปไว้บนผิวฟันจะทำให้มีรอยต่อระหว่างผิวฟันซึ่งเสี่ยงต่อการเกิดคราบอาหาร หินปูน และฟันผุ
4. เกิดการสะสมของแบคทีเรีย และมีโอกาสเกิดกลิ่นปากได้ง่าย