โรคเบาหวาน (Diabetes) เกิดจากอะไร อาการ วิธีการรักษา และการป้องกันเบาหวานลงไต หากมีภาวะแทรกซ้อนทางไตแล้วควรรักษาอย่างไร?


โรคเบาหวาน เกิดจาก ความผิดปกติของการควบคุมน้ำตาลในเลือด ส่งผลให้น้ำตาลในเลือดสูง ซึ่งในช่วงแรก ๆ เนื่องด้วยภาวะอ้วน ถือเป็นปัจจัยเสี่ยงของโรคเบาหวาน พ่วงมาด้วยโรคความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง โรคระบบหัวใจและหลอดเลือด และมะเร็ง ภาวะอ้วน พ่วงมาด้วยโรคความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง โรคระบบหัวใจและหลอดเลือด และมะเร็ง

น้ำตาลในเลือดสูงนั้นจะไม่มีอาการอะไร แต่เมื่อสูงขึ้นมาระดับหนึ่งแล้วอาจมีอาการหิวน้ำบ่อย ปัสสาวะบ่อย เนื่องจากน้ำตาลในเลือดสูง นอกจากนี้พบว่า ผู้ป่วยที่ระดับน้ำตาลสูงอยู่เป็นระยะเวลานาน ยังส่งผลเสียต่อระบบหลอดเลือดของร่างกายด้วย โดยทำให้เกิดการอักเสบของผนังหลอดเลือด ทำให้หลอดเลือดแข็งและตีบ โดยหลอดเลือดเล็ก ๆ มักจะได้รับผลกระทบก่อน เช่น หลอดเลือดที่จอประสาทตา ไต เป็นต้น ทำให้เกิดโรคจอประสาทตาเสื่อม ไตวาย เส้นประสาทส่วนปลายเสื่อม เป็นต้น

โรคเบาหวานนั้นจัดเป็นสาเหตุหลักของภาวะไตวายเรื้อรังในประเทศไทย คิดเป็นสัดส่วนใกล้เคียงกับภาวะความดันโลหิตสูงกลไกการเกิดมีหลายด้านร่วมกัน ทั้งในแง่ความเปลี่ยนแปลงของเลือดที่ไปเลี้ยงไต การเกิดการอักเสบและอนุมูลอิสระ 30% ของผู้ป่วยเบาหวานจะมีความผิดปกติของไต หากผู้ป่วยเบาหวานไม่สามารถควบคุมภาวะน้ำตาลให้เหมาะสม หรือไม่ได้รับการรักษาอย่างเหมาะสมจะมีความเสี่ยงต่อการที่ไตทำงานลดลงอย่างรวดเร็ว ซึ่งหากปล่อยไว้นานจะเกิดความเสื่อมอย่างถาวร

บทความโดย Luxury Society Asia

อาการ

ที่บอกว่าผู้เป็นเบาหวานมีภาวะเสี่ยงโรคไตในระยะเริ่มต้นนั้นผู้ป่วยจะยังไม่มีอาการแสดงอะไรเป็นพิเศษ แต่หากไม่ได้รับการดูแลรักษาอย่างเหมาะสม ไตก็จะเสื่อมลงเรื่อย ๆ เมื่อไตเสื่อมมากขึ้นอาจจะมีอาการเช่นเดียวกับโรคไตเรื้อรังอื่น ๆ เช่น ความดันโลหิตสูง บวม ปัสสาวะเป็นฟอง

การตรวจวินิจฉัยการทำงานของไต?ในปัจจุบันมีวิธีการตรวจหลัก ๆ 2 อย่าง คือตรวจ creatinine ในเลือด และตรวจหาโปรตีน albumin ในปัสสาวะ

หากมีภาวะแทรกซ้อนทางไตแล้วควรรักษาอย่างไร?
พบความผิดปกติของไตแล้ว สิ่งแรกที่ต้องจัดการคือการรักษาต้นเหตุคือภาวะน้ำตาลสูงให้ดี ซึ่งต้องอาศัยทั้งการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ร่วมกับการใช้ยารักษาเบาหวาน ในส่วนของไตเองนั้น ก็จะต้องปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเช่นกัน โดยเฉพาะในเรื่องอาหารและความดัน และพิจารณาใช้ยากลุ่ม ACEi/ARB และ SGLT-2 inhibitor

ป้องกันเบาหวานลงไต ปฏิบัติตัวอย่างไร?
หลักการที่สำคัญคือการควบคุมระดับน้ำตาลให้เหมาะสม โดยทั้งวิธีการควบคุมอาหารร่วมกับการใช้ยารักษา ออกกำลังกาย หลีกเลี่ยงการกินยาชุดหรือยาสมุนไพรที่ไม่ทราบส่วนประกอบที่ชัดเจนเพราะอาจมีสารปนเปื้อนที่เป็นพิษต่อไตได้

วันที่ 14 พ.ย. ของทุกปี เป็นวันเบาหวานโลก (World Diabetes Day) เนื่องด้วยภาวะอ้วน ถือเป็นปัจจัยเสี่ยงของโรคเบาหวาน พ่วงมาด้วยโรคความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง โรคระบบหัวใจและหลอดเลือด และมะเร็ง จากการวิจัยพบว่า ภาวะอ้วนลงพุงมีความสัมพันธ์กับภาวะต้านอินซูลิน ภาวะเบาหวานและโรคระบบหัวใจและหลอดเลือด ซึ่งจะส่งผลให้สุขภาพชีวิตลดลงจากการเกิดโรคเรื้อรัง เกิดความสูญเสียทางเศรษฐกิจเนื่องจากค่าใช้จ่ายทางด้านสุขภาพที่จะเพิ่มขึ้น รวมถึงความพิการและการเสียชีวิตก่อนวัยอันควรอีกด้วย

บทความโดย Luxury Society Asia

นพ.สิทธิผล ชินพงศ์ ผู้อำนวยการศูนย์เบาหวาน ไทรอยด์ และต่อมไร้ท่อ โรงพยาบาลกรุงเทพ กล่าวว่า ปัจจุบันประชากรไทยวัยผู้ใหญ่ป่วยเป็นโรคเบาหวานถึง 4.8 ล้านคน และหลายรายเกิดภาวะแทรกซ้อนในเวลาต่อมา การเพิ่มขึ้นของวิถีชีวิตแบบเนือยนิ่ง โรคอ้วน และอายุที่มากขึ้น นำมาซึ่งการเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง เช่น โรคเบาหวาน เป็นต้น คาดการณ์ว่าความชุกของโรคเบาหวานจะเพิ่มสูงขึ้นถึง 5.3 ล้านคนภายในปี พ.ศ.2583 และความชุกของภาวะอ้วนในประชากรไทยอายุ 15 ปีขึ้นไปร้อยละ 37.5 (ชายร้อยละ 32.9 และ หญิงร้อยละ 41.8) ประมาณการณ์ว่า 24% – 52% ของผู้ที่มีภาวะอ้วนจะเป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ร่วมด้วย

ปัจจุบันมีการใช้ยาฉีดเพื่อควบคุมน้ำหนักในผู้ป่วยที่มีภาวะโรคอ้วนและควบคุมน้ำตาลในผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 นับเป็นอีกหนึ่งทางเลือกในการลดน้ำหนัก โดยแพทย์จะทำการฉีดยาใต้บริเวณผิวหนังตามความเหมาะสม เช่น บริเวณ ต้นขา หน้าท้อง ต้นแขน ร่วมกับคนไข้ต้องควบคุมอาหารและออกกำลังกาย ซึ่งต้องอยู่ภายใต้การดูแลและคำแนะนำของแพทย์อย่างใกล้ชิด ข้อดีของการใช้ยาฉีดเพื่อควบคุมน้ำหนักและควบคุมน้ำตาล คือ 1) ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด 2) ควบคุมความอยากอาหาร รู้สึกหิวน้อยลง 3) น้ำหนักลดลง 4) ผลข้างเคียงน้อย

ทั้งนี้ การดูแลรักษาโรคเบาหวานและโรคอ้วนแบบองค์รวม (Multidisciplinary Team) ตามลักษณะเฉพาะบุคคล(Personalized Care) ถือเป็นการบูรณาการรักษาแนวใหม่ โดยนำข้อมูลในอดีตผนวกกับปัจจุบันมาวิเคราะห์ แนวโน้มของการเกิดโรคในอนาคตให้เกิดประโยชน์ ในการตัดสินใจ แนะนำการรักษา และการดำเนินของโรคในอนาคต ซึ่งเป็นการทำงานร่วมกันของผู้ชำนาญการในทุกสหสาขาวิชาชีพ (Center of Excellent) ที่พร้อมให้การดูแลรักษาโรค ตามมาตรฐานในระดับสากล(JCI) ประกอบไปด้วย

  • การให้ความรู้ เพื่อระวัง ป้องกัน ดูแลตัวเองที่บ้าน (Self – Management)
  • จัดกลุ่มผู้ป่วยอบรมนอกสถานที่กับกลุ่มผู้ที่มีความชำนาญในทุกสหสาขาวิชาชีพ (Seminar and Camp)
  • นักโภชนาการ นักกำหนดอาหาร ร่วมดูแลและให้คำปรึกษาการทานอาหารตามลักษณะเฉพาะบุคคล
  • แพทย์สหสาขาวิชาชีพดูแลแบบครบวงจร (One Stop Services) เกี่ยวกับโรคแทรกซ้อนที่เกี่ยวข้องกับโรคเบาหวานและโรคอ้วน
  • ยารักษาโรคในปัจจุบันที่มีให้เลือกทุกชนิดทุกแบบ ทั้งชนิดรับประทาน ทางผิวหนัง และฉีดอินซูลินแบบ Insulin Pump ซึ่งปัจจุบันมียาฉีดเข้าใต้ผิวหนังที่ช่วยลดน้ำหนักและน้ำตาลได้พร้อมกัน ยังมีประโยชน์ต่อการลดโรคหัวใจ สะดวกในการบริหารยาทำให้ผู้ป่วยได้รับยาต่อเนื่องและสม่ำเสมอ
  • การดูแลต่อที่บ้านโดยส่งข้อมูลผ่านอุปกรณ์เชื่อมต่อออนไลน์ เช่น เครื่องเจาะน้ำตาลปลายนิ้ว (Self – Monitoring Blood Sugar (SMBG)), Continuous Glucose Monitoring System (CGMS) แบบ Internet of Medical Things (IOMTs) เช่น เครื่องวัดความดัน เครื่องชั่งน้ำหนัก เป็นต้น
  • การเก็บข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์สุขภาพ ประวัติการรักษาของผู้ป่วย (Electronic Medical Records) เพื่อใช้ในการรักษาและส่งต่ออย่างราบรื่นและทันเวลา
  • ระบบการดูแลผู้ป่วยกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ผ่านออนไลน์นอกโรงพยาบาล (Telemedicine) เพื่อความต่อเนื่องในการรักษา เพิ่มความสะดวกในการนัดหมายดูแลผู้ป่วยเบื้องต้น ติดตามผลเลือด ส่งยาถึงบ้านได้ทุกวัน ลดการเดินทางโดยไม่จำเป็น และลดความแออัดของสถานที่อีกด้วย

อย่างไรก็ตาม วิธีการลดน้ำหนักที่ยั่งยืนที่สุดคือ การปรับพฤติกรรมการรับประทานอาหาร ควบคุมปริมาณที่เหมาะสม และออกกำลังกายเป็นประจำสม่ำเสมอ ในส่วนของการใช้ยาฉีดเพื่อควบคุมน้ำหนักและควบคุมน้ำตาลเป็นเพียงอีกตัวเลือกที่จะช่วยในการลดน้ำหนัก ป้องกันโรค และลดความรุนแรงของโรคได้

ศูนย์เบาหวาน ไทรอยด์ และต่อมไร้ท่อ รพ.กรุงเทพ โทร. 02-755-1129

บทความโดย Luxury Society Asia


Similar Posts