โรคปอดบวม (Pneumonia) เกิดได้อย่างไร อาการและการรักษา


โรคปอดบวม (Pneumonia) เป็นโรคที่เกิดจากการติดเชื้อเฉียบพลันอย่างรุนแรงของระบบทางเดินหายใจ ทำให้เยื่อบุถุงลมเกิดการอักเสบ บวม และมีน้ำคัดหลั่งมากจนเกิดอุดกั้นทางเดินหายใจทำให้เกิดภาวะขาดออกซิเจน และระบบหายใจล้มเหลวได้ มักเกิดในเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี กว่าร้อยละ 45-50

ชนิดโรคปอดบวม
1. ปอดบวมเฉพาะกลีบ (Lobar pneumonia) เป็นการอักเสบบริเวณเนื้อปอดส่วนหนึ่งหรือทั้งกลีบหรือเกิดขึ้นพร้อมกันของทั้งปอดทั้งสองข้าง
2. ปอดบวมบริเวณหลอดลม (Bronchopneumonia) เป็นการอักเสบบริเวณหลอดลมฝอยที่กระจายเป็นจุดๆ รอบหลอดลมในปอด
3. ปอดบวมในผนังถุงลม (Interstitial pneumonia) เป็นการอักเสบบริเวณผนังถุงลมรอบๆ หลอดลม และเนื้อปอด

สาเหตุ
1. เชื้อไวรัส
โรคปอดบวมที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัสพบมากว่าร้อยละ 42 เชื้อไวรัสที่ทำให้เกิดโรค ได้แก่ เรสไปราทอรี ซินไซเทียไวรัส (respiratory syncytial virus) พาราอินฟลูเอนซา(parainfluenZa) อินฟลูเอนซา (influenZa) และอะดีโนไวรัส (adenovirus) โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เรสไปราทอรี และซินไซเทียไวรัส มักเกิดมากในเด็กอายุต่ำกว่า 1 ปี สูงถึงร้อยละ 90

2. เชื้อแบคทีเรีย
การติดเชื้อแบคทีเรียเป็นสาเหตุของโรคปอมบวมมากที่สุดที่ร้อยละ 60 โดยเฉพาะในเด็กอายุน้อยกว่า 3 เดือน ส่วนใหญ่เกิดจากเชื้อเสตรปโตคอคคัส นิวโมนิเอ และเชื้อเอนเทอริคแบซิไล (enteric bacilli) ส่วนเด็กอายุ 3 เดือนถึง 5 ปี ส่วนใหญ่เกิดจากเชื้อเสตรปโตคอคคัส นิวโมนิเอ และฮีโมฟิลุส อินฟลูเอนซา (haemophilus influenza)

3. การติดเชื้อร่วมกัน
นอกจากการติดเชื้อไวรัสหรือแบคทีเรียอย่างใดอย่างหนึ่งแล้ว ยังพบว่ากว่าร้อยละ 30 ของผู้ป่วยมักเกิดจากการติดเชื้อร่วมกันทั้งไวรัส และแบคทีเรีย

4. ปอดบวมจากการสำลัก (aspirated pneumonia)
เป็นโรคปอมบวมที่เกิดจากการสำลักอาหารหรือสิ่งแปลมปลอมเข้าไปในปอด จนทำให้เกิดอาการปอดบวมอย่างรุนแรง ที่เรียกว่า เมลเดลซัน ซินโดม (Mendelson’s syndrome)

5. ปอดบวมจากสาเหตุอื่น เช่น ผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาด้วยรังสีจนทำให้เกิดอาการปอดบวมจากรังสี (radiation pneumonia) และปอดบวมจากสารพิษ และสารเคมี (chemical pneumonia) เช่น ปอดบวมจาการสูดแอมโมเนียหรือไอกรด เป็นต้น

pneumonia3

การติดต่อ
เชื้อโรคปอดบวมสามารถแพร่ และติดต่อกันทางระบบทางเดินหายใจ จากการสูดดมเชื้อโรคที่กระจายอยู่ในอากาศเข้าไป รวมถึงจากการไอ จามรดกันของผู้ป่วยที่ติดเชื้อนี้อยู่แล้ว รวมถึงสาเหตุจากผู้ป่วยเองที่เกิดการสำลักเอาเชื้อแบคทีเรียในจมูก และคอเข้าในปอด ซึ่งมักเกิดกับเด็กที่อ่อนแอ

อาการโรคปอดบวม
อาการทั่วไป ได้แก่
1. มีไข้ โดยเฉพาะในเด็กอายุน้อยกว่า 2 ปี มักมีไข้สูง แต่ในเด็กบางรายจะไำม่พบอาการเป็นไข้ โดยเฉพาะโรคปอดบวมที่เกิดจากเชื้อบางชนิด เช่น คลามไมเดีย ทราโคมาติส
2. อาการหายใจเร็วกว่าปกติ ตามเกณฑ์อายุ ดังนี้
– เด็กอายุน้อยกว่า 2 เดือน อัตราการหายใจตั้งแต่ 60 ครั้ง/นาที
– เด็กอายุ 2 เดือน – 1 ปี อัตราการหายใจตั้งแต่ 50 ครั้ง/นาที
– เด็กอายุ 2 -5 ปี อัตราการหายใจตั้งแต่ 40 ครั้ง/นาที

3. อาการหายใจลำบากซึ่งพบในโรคปอดบวมชนิดรุนแรงมาก ได้แก่ อาการหน้าอกบุ๋มหรือชายโครงบุ๋มขณะหายใจเข้า จมูกบาน ใช้กล้ามเนื้อมากในการช่วยหายใจ ริมฝีปากเขียว

4. เสียงหายใจผิดปกติ
– เสียงกรอบแกรบ (crepitation) ในกรณีเสมหะคั่งค้างในทางเดินหายใจส่วนปลายหรือถุงลม หรือความผิดปกติของเนื้อปอดบางส่วน
– เสียงหลายใจจากหลอดลม จากการมีเสมหะมาอุดกั้นที่ตำแหน่งแขนงหลอดลม หรือมีการคั่งของเม็ดเลือดขาวทำให้เนื้อปอดแข็งขึ้น
– ในกรณีปอดบวมรุนแรงมากจะได้ยินเสียงอี้ด จากการอุดตันของทางเดินหายใจส่วนบน
-เสียงหวีด จากการไหลของอากาศจากปอดที่เกิดการอุดกั้นทำให้ทางเดินหายใจที่ตีบแคบจากต่อมเมือกหนาตัว และเพิ่มจานวนมากขึ้น

5. อาการที่ไม่แสดงจำเพาะ อาจบ่งชี้ถึงการติดเชื้อในกระแสโลหิต เช่น ซึม ไม่ดูดนม ไม่รับประทานอาหาร หรือหยุดหายใจเป็นพักๆ

pneumonia4

อาการแบ่งตามระดับความรุนแรงของโรค ได้แก่
1. โรคปอดบวมชนิดไม่รุนแรง
ผู้ป่วยมักมีอาการไอ และหอบหรือหายใจเร็ว ตามเกณฑ์ ดังนี้
– เด็กอายุน้อยกว่า 2 เดือน อัตราการหายใจตั้งแต่ 60 ครั้ง/นาที
– เด็กอายุ 2 เดือน – 1 ปี อัตราการหายใจตั้งแต่ 50 ครั้ง/นาที
– เด็กอายุ 2 -5 ปี อัตราการหายใจตั้งแต่ 40 ครั้ง/นาที

2. โรคปอดบวมชนิดรุนแรง
ผู้ป่วยจะมีอาการไอร่วมกับการหายใจแรงมากจนอกบุ๋มขณะหายใจเข้า

3. โรคปอดบวมชนิดรุนแรงมาก
– มีเสียงฮืดเวลาหายใจเข้า
– มีเสียงหวีดขณะหายใจออก
– เด็กซึม ปลุกตื่นยาก ไม่รับประทานอาหาร ไม่ดูดนม หรือน้ำ
– มีอาการหอบเหนื่อยมาก ริมฝีปากเขียว หรือมีอาการชัก
– เด็กอายุต่ำกว่า 2 เดือน หากเป็นโรคปอดบวมจะมีอาการในระดับรุนแรงทุกราย

การรักษา
1. การให้ยาปฏิชีวนะ
– โรคปอดบวมไม่รุนแรง
เด็กอายุ 2เดือนถึง 5 ปี รับประทาน amoxicillin 40-50 มก./กก./วัน  หรือให้ยาอิริโทรไมซิน (erythromycin) 30-40 มก./กก./วัน หากแพ้ยาในกลุ่มเพนนิซิลิน และหากเชื้อมีการดื้อยาเพนนิซิลิน ให้รับประทานอะม็อกซิซิลินในขนาดสูง 80-90 มก./กก./วัน

– โรคปอดบวมรุนแรง
เด็กอายูต่ากว่า 2 เดือน ให้ยาเพนนิซิลินหรือแอมพิซิลิน (ampicilin) ร่วมกับอะมิโนไกลโคไซค์ (amino glycosides) ทางหลอดเลือดนาน 7-10 วัน

– โรคปอดบวมรุนแรง
เด็กอายุ 2 เดือนถึง 5 ปี ให้ยาแอมพิซิลินทางหลอดเลือดดำ ทุก 6 ชั่วโมง อย่างน้อย 3 วัน เมื่ออาการดีขึ้น เปลี่ยนเป็นอะม็อกซิซิลิน ชนิดรับประทาน 7–10 วัน ในรายที่มีอาการมากหรือภูมิคุ้มกันบกพร่องให้ฉีกแอมพิซิลินรร่วมกับอะมิโนไกลโคไซค์หรือยาในกลุ่มเซฟาโลสปอริน ระยะเวลานาน 10-14 วัน

2. การให้ยาขยายหลอดลม
ให้ยาพ่นขยายหลอดลมในผู้ป่วยที่ได้ยินเสียงหวีด เช่น ซาบูตามอล (salbutamol) หรือ เทอบูทาริน (terbutaline)

3. ยาขับเสมหะ
ยาขับเสมหะอาจให้ร่วมในผู้ป่วยผู้ใหญ่ที่ไม่สามารถขับเสมหะออกได้ง่าย เพื่อลดความเหนียว และลดแรงตึงผิวของเสมหะ

4. ยาละลายเสมหะ
ยาละลายเสมหะใช้ช่วยการละลายเสมหะ  ได้แก่ Acetylcysteine, bromhexine, carbocysteine

5. การให้สารน้ำ
การให้สารน้ำจะช่วยลดความเหนียวของเสมหะ และสามารถขับออกมจากร่างกายโดยการไอได้ง่าย ลดการค้างของเสมหะที่อุดกั้นทางเดินหายใจ และช่วยทดแทนการสูญเสียน้ำจากร่างกายจากไข้สูง และอาการหายใจหอบเร็ว

6. การให้ออกซิเจน
การให้ออกซิเจนจะพิจารณาให้ในกรณีที่มีอาการเขียว หายใจเสียงกรั้นติ้ง กระวนกระวาย ซีด ซึมลง ไม่กินนม ไม่กินน้ำ หอบชายโครงบุ๋มมาก และมีอัตราหายใจเกิน 70 ครั้ง/นาที

การป้องกัน
การป้องกันผู้ไม่ติดเชื้อ
1. หลีกเลี่ยงการอยู่ในที่แออัด
2. รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ให้ครบ 5 หมู่ และให้เพียงพอ
3. หลีกเลี่ยงควันไฟหรือควันบุหรี่
4. ดูแลให้ความอบอุ่นแก่เด็กอยู่เสมอ โดยใส่เสื้อผ้าหนาๆ เวลาที่อากาศเย็น
5. การฉีดวัคซีนป้องกันโรคที่ป้องกันได้ ได้แก่ การให้วัคซีนป้องกันคอตีบ ไข้หวัดใหญ่ หัด ไอกรน  และวัคซีนป้องกันโรคปอดบวม เป็นต้น

Pneumonia5

การป้องกันอาการของผู้ป่วย
1. ดูแลรักษาตามอาการ เช่น ถ้ามีไข้สูงก็ให้เช็ดตัวด้วยน้ำอุ่น กินยาลดไข้ และดื่มน้ำมากๆ
2. หลีกเลี่ยงการอยู่ในที่มีคนแออัด เพราะอาจทำให้มีการแพร่เชื้อไปสู่ผู้อื่นได้
3. นอนหรืออาศัยในที่อากาศถ่ายเทได้สะดวก แสงแดดส่องถึง
4. เมื่อผู้ป่วยมีอาการมาก เช่น มีไข้สูง หายใจหอบจนชายโครงบุ๋ม ควรรีบนำส่งแพทย์ทันที

การดูแลผู้ป่วย
1. อาการไข้
เด็กที่ป่วยเป็นโรคปอดบวม ไม่ควรเช็ดตัวด้วยน้ำเย็น เพราะอาจทำให้อุณหภูมิภายนอกร่างกายลดลง ควรเช็ดตัวด้วยน้ำอุ่นแทน และให้ยาลดไข้ได้ทุก 4-6 ชั่วโมง สำหรับผู้ป่วยที่สูญเสียน้ำมาก ควรให้สารน้ำทดแทน โดยการกินหรือให้ทางหลอดเลือดดำ และต้องควบคุมปริมาณน้ำที่ให้ในแต่ละวัน เพื่อป้องกันภาวะน้ำเกิน

2. การคั่งค้างของเสมหะ
เสมหะหรือน้ำมูกที่อุดกั้นทางเดินหายใจ ให้ลดความเหนียวของเสมหะด้วยการดื่มน้ำหรือพิจารณาให้ยาละลายเสมหะ รวมถึงการสูดดมละอองไอน้ำ แต่ต้องคอยดูแลป้องกันการสาลัก ในผู้ป่วยบางรายที่พบหลอดลมเกร็งร่วมด้วยอาจพิจารณาให้ยาขยายหลอดลมชนิดพ่นหรือฉีด

3. การให้ยาขับเสมหะ
ยาขับเสมหะ เช่น แอมโมเนียมคาร์บอเนต หรือ แอมโมเนียมคลอไรด์ อาจให้แก่ผู้ป่วยในรายที่ไม่สามารถขับเสมหะออกมาได้ง่าย

4.หลีกเลี่ยงแหล่งมลพิษ
พยายามหลีกเลี่ยงแหล่งมลพิษ เช่น ฝุ่นละออง ควัน ควันบุหรี่ เพราะจะสาเหตุทำให้เกิดการระคายเคืองในระบบทางเดินหายใจ และเกิดการหลั่งมูกมากขึ้น

โรคปอดบวม (Pneumonia)


Similar Posts