โรคติดเชื้อ Infectious disease เชื้อไวรัส แบคทีเรีย เชื้อรา สาเหตุ และการรักษา


โรคติดเชื้อ (Infectious disease) หมายถึง โรคที่เกิดจากการติดเชื้อหรือพิษของเชื้อโรคชนิดใดชนิดหนึ่ง ที่อาจเกิดจากการท่ายทอดจากคนสู่คน จากสัตว์หรือแมลงสู่คนหรือจากการติดเชื้อโรคโดยตรง และผ่านพาหะ เชื้อเหล่านี้ ได้แก่ เชื้อไวรัส เชื้อแบคทีเรีย และเชื้อรา

การติดเชื้อโรคแบ่งออกเป็น 5 กลุ่ม คือ
1. เชื้อไวรัส (Virus) ซึ่งเป็นเชื้อโรคขนาดเล็กที่สุด มีขนาดตั้งแต่ 10-400 มิลิไมครอน ต้องส่องด้วยกล้องชนิดพิเศษเท่านั้นจึงจะมองเห็น สามารถดำรงชีวิตได้ในมนุษย์หรือสัตว์ และแพร่กระจายจากพาหะได้ดี โรคที่เกี่ยวข้อง ได้แก่
– โรคเอดส์
– ไข้หวัด ไข้หวัดใหญ่
– โรคมือเท้าปาก
– โรคไข้เลือดออก
– ฯลฯ

2. เชื้อแบคทีเรีย (Bacteria) เป็นเชื้อที่มีขนาดใหญ่ สามารถส่องด้วยกล้องจุลทรรศธรรมดาก็มองเห็นได้ อาศัย และแพร่พันธุ์ร่วมกับสิ่งมีชีวิตอื่นๆ และในสิ่งแวดล้อมได้ดี โรคที่เกี่ยวข้อง ได้แก่
– วัณโรค
– โรคฉี่หนู
– โรคบิด
– ฯลฯ

บทความโดย Luxury Society Asia

3. เชื้อรา (Fungi)
เชื้อราที่ทำให้เกิดโรคส่วนมากมักพบทำให้เกิดโรคภายนอก ได้แก่ โรคกลาก เกลื้อน โรคน้ำกัดเท้า เป็นต้น แต่บางครั้ง อาจพบการติดเชื้อในระบอวัยวะภายใน เช่น เชื้อราในสมอง เป็นต้น โรคที่เกิดจากเชื้อราสามารถแบ่งออกเป็น 2 แบบ คือ โรคของเชื้อราชนิดตื้น(Super fungi mycoses) และโรคของเชื้อราชนิดลึก (Deep or systemic mycoses) โดยทั่วไปเชื้อราที่ทำให้เกิดโรคจะไม่ปล่อยหรือสร้างสารพิษออกมา แต่จะทำให้เกิดภูมิไว (Hypersensitivity) ต่อสารเคมีที่มีอยู่ในตัวเชื้อรา ส่วนเชื้อราชนิดลึก เนื้อเยื่อของคนเรามักจะมีปฏิกิริยาแกรนนูโลมาเรื้อรัง เนื้อตาย หรือเป็นฝี โรคที่เกี่ยวข้องได้แก่
– กลาก
– เกลื้อน
– หิต
– โรคน้ำกัดเท้า
– ฯลฯ

ชนิดการติดเชื้อ
1. การติดเชื้อในระบบเลือด มักเกิดจากเชื้อแบคทีเรีย และเชื้อไวรัสเป็นหลัก ได้แก่ โรคเอดส์ โรคฉี่หนู
2. การติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจ มักเป็นการติดเชื้อไวรัสเป็นหลัก ได้แก่ โรคปอดอักเสบ
3. การติดเชื้อในระบบทางเดินอาหาร มักเกิดจากเชื้อแบคทีเรียเป็นหลัก ได้แก่ โรคท้องร่วง
4. การติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะ และอวัยวะสืบพันธุ์ มักเกิดจากเชื้อแบคทีเรีย และเชื้อไวรัสเป็นหลัก ได้แก่ โรคหนองใน
5. การติดเชื้อในผิวหนัง มักเกิดจากเชื้อราเป็นหลัก ได้แก่ โรคกลาก โรคเลื้อน โรคน้ำกัดเท้า เป็นต้น

การเกิดโรค
เชื้อโรคสามารถเข้าสู่ร่างกายคนเราได้หลายทาง และก่อให้เกิดอาการของโรคได้ ดังนี้
1. การบุกรุก โดยเชื้อจะเติบโต แพร่พันธุ์ และเข้าทำลายเนื้อเยื่อโดยตรง เช่น โรคเรื้อน กลาก เกลื้อน เป็นต้น
2. จากพิษของเชื้อโรค โดยอาการของโรคจะเกิดจากพิษที่เชื้อโรคสร้าง และขับออกมา ทั้งที่ทำลายเนื้อเยื่อเฉพาะบริเวณที่เชื้ออาศัยอยู่ และอาจทำลายเนื้อเยื่อที่ห่างออกไปยังอวัยวะส่วนอื่นข้างเคียง เช่น โรคบาดทะยัก เป็นต้น
3. จากภูมิไวเกิน ที่เกิดจากการกระตุ้นของเชื้อโรคให้ร่างกายสร้างภูมิไวเกินต่อเชื้อโรค เช่น โรคจากเชื้อรา

บทความโดย Luxury Society Asia

องค์ประกอบการติดเชื้อ
1. ตัวเชื้อโรค ที่ประกอบด้วยเชื้อไวรัส เชื้อแบคทีเรีย เชื้อรา พยาธิ และริคเคทเชีย

2. แหล่งก่อโรค ได้แก่
– ผู้ป่วยที่ติดเชื้อโรค ซึ่งมีทั้งผู้ป่วยที่มีอาการแสดงออกอย่างเห็นได้ชัด และผู้ป่วยที่ไม่แสดงอาการ ผู้ป่วยเหล่านี้เป็นแหล่งก่อโรคที่อยู่ในระยะการเจริญเติบโต และแพร่พันธุ์ของเชื้อ และสามารถเป็นแหล่งแพร่กระจายเชื้อโรคไปยังบุคคลอื่นได้
– คนพาหะ เป็นผู้ที่ที่มีการติดเชื้อในระยะแรกที่ไม่แสดงอาการหรือผู้ที่มีการปน เปื้อนของเชื้อแต่ไม่ติดเชื้อ ซึ่งสามารถแพร่กระจายเชื้อไปยังคนอื่นได้ คนที่อยู่ในระยะพาหะอาจเป็นผู้ที่มีสุขภาพดี ไม่ติดเชื้อ แต่มีการปนเปื้อนของเชื้อ และบุคคลที่สัมผัสโรค หรือคนที่ติดเชื้อแล้วแต่อยู่ในระยะฟักตัวของเชื้อ โดยไม่แสดงอาการออกมา รวมถึงผู้ป่วยที่อยู่ในระยะของการฟักฟื้นจากโรค ซึ่งยังมีเชื้อโรคบางส่วนอาศัยอยู่
– สัตว์พาหะ สัตว์หรือแมลงต่างๆล้วนสามารถเป็นพาหะนำเชื้อแพร่สู่มนุษย์ได้ เช่น หนู ไก่ ยุง ที่มีเชื้อโรคอาศัยอยู่พร้อมที่จะแพร่กระจายเชื้อเข้าสู่ร่างกายมนุษย์ได้ เช่น เชื้อมาลาเรียหรือเชื้อไข้เลือดออกจากยุง
– แหล่งก่อโรคไม่มีชีวิต ได้แก่ มูลสัตว์ แหล่งน้ำเสีย อาหารเสีย เป็นต้น

3. ทางออกของเชื้อ
ทางออกของเชื้อ หมายถึง จุดที่เชื้อโรคสามารถแพร่ออกจากผู้ป่วยหรือพาหะนำโรคต่างๆไปสู่มนุษย์หรือสิ่งมีชีวิตอื่น ได้แก่
– ตา เช่น เชื้อจากโรคตาอักเสบ ตาแดง
– หู เช่น เชื้อจากหูอักเสบ
– ปาก และระบบทางเดินอาหาร เช่น เชื้ออหิวาตกโรค เชื้อโรคท้องร่วง จากการถ่มน้ำลาย การดื่ม การกิน และการการขับถ่าย
– จมูก และระบบทางเดินหายใจ เช่น เชื้อไข้หวัดนก เชื้อวัณโรค จากการไอ การจาม
– ระบบสืบพันธุ์ และปัสสาวะ เช่น เชื้อเอดส์ เชื้อโรคหนองใน จากการมีเพศสัมพันธุ์
– ทางอื่นๆ เช่น การกัดของยุง การให้เลือดที่มีเชื้อโรคปะปนในเลือด

4. การแพร่ของเชื้อโรค
4.1 การสัมผัส แบ่งเป็น 2 แบบ คือ
– การสัมผัสโดยตรง เป็นการสัมผัสโดยตรงทางผิวหนังของผู้ติดเชื้อ และผู้ไม่ติดเชื้อ ทำให้เกิดการส่งผ่านเชื้อจากผู้ป่วยผ่านทางการสัมผัสได้
– การสัมผัสทางอ้อม เป็นการสัมผัส และได้รับเชื้อปนเปื้อนจากผู้ป่วย แล้วมีการสัมผัสต่อกับผู้ไม่ได้รับเชื้อคนอื่น รวมถึงการสัีมผัสกับข้าวของเครื่องใช้ของผู้ป่วย และวัสดุอื่นที่มีเชื้อปนเปื้อนอยู่ เช่น ถุงมือ ขยะ เป็นต้น

4.2 อากาศ และละอองฝอย ที่เกิดจากการจาม การไอ การหายใจที่มีละอองฝอยที่ปะปนเชื้อลอยตามอากาศ และเข้าสู่ผู้ไม่ติดเชื้อคนอื่นผ่านการหายใจเข้าไป

4.3 อุปกรณ์ และอาหาร การแพร่เชื้อลักษณะนี้เกิดจากอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่มีการปนเปื้อนของเชื้อ เช่น เข็มฉีดยา เลือด ที่เกิดในขั้นตอนการรักษาโรค เช่น การผ่าตัด การเปลี่ยนถ่ายเลือด เป็นต้น รวมถึงอาหาร เครื่องดื่มต่างๆที่รับประทานเข้าไปซึ่งมีเชื้อปนเปื้อน

5. ทางเข้าของเชื้อโรค ซึ่งได้แก่ อวัยวะรับสัมผัส และส่วนต่างๆของร่างกายหรือตามทางออกของเชื้อโรค

6. ตัวบุคคล ซึ่งไม่มีภูมิต้านทานหรือมีภูมิต้านทานต่อโรคต่ำ เมื่อติดเชื้อจะทำให้เกิดอาการของโรคตามมาได้ง่าย

บทความโดย Luxury Society Asia

การรักษาโรคติดเชื้อ
การรักษาโรคติดเชื้อชนิดต่างๆ ปัจจุบันใช้วิธีการให้ยาปฎิชีวนะเป็นหลักเพื่อกำจัดเชื้อโรคที่มีอยู่ในร่าง กาย แต่ก็มีเชื้อโรคบางชนิดที่ยังไม่มียารักษา เป็นเพียงการให้ยาต้านหรือลดเชื้อเท่านั้น เช่น โรคเอดส์

การป้องกันจากโรคติดเชื้อ มีหลักการ 3 ด้านที่สำคัญ คือ
1. การป้องกันที่จุดก่อโรค
– การฆ่าเชื้อในแหล่งก่อเชื้อ เช่น แหล่งขยะ แหล่งน้ำเสีย
– การกักกันบริเวณก่อโรค

2. การป้องกันที่ทางผ่านโรค
– การฆ่าเชื้อในอากาศ
– การใช้เครื่องฟอกอากาศ

3. การป้องกันที่ตัวบุคคล
– การให้วัคซีน
– การออกกำลังกาย
– การสวมใส่อุปกรณ์ป้องกันเชื้อโรค เช่น หน้ากาก รวมถึงการป้องกันโรคขณะมีเพศสัมพันธุ์
– การทำความสะอาดร่างกาย และเสื้อผ้าอย่างสม่ำเสมอ
– การรับประทานอาหารที่เป็นประโยชน์ สะอาด ไม่มีเชื้อโรคปะปน

โรคติดเชื้อ Infectious disease

บทความโดย Luxury Society Asia


Similar Posts