“เราจะเป็นร้านหนังสืออีบุ๊คที่ใหญ่ที่สุดใน South East Asia”


Ookbee แบรนด์อินเตอร์เน็ตเท่ๆของคนไทย….“เราจะเป็นร้านหนังสืออีบุ๊คที่ใหญ่ที่สุดใน South East Asia” LA: นอกจากไอเดียแล้ว อะไรคือหัวใจสําคัญสําหรับผู้ที่ต้องการเป็นหนึ่งใน Start Up มาทำความรู้จักกับคุณหมู ณัฐวุฒิ พึงเจริญพงศ์ ซีอีโอและผู้ก่อตั้ง Ookbee

Exclusive Interview: บทความโดย Jitlada

คุณหมู: อย่างแรกเลยคือต้องมีทีมหมายถึงว่าคือการทําธุรกิจเปิดใหม่ขึ้นมานี่แหละครับ แต่จะต่าง จาก SME ทั่วไปตรงที่ต้องทําซ้าได้ และเติบโตไปได้อย่างรวดเร็วไม่มีที่สิ้นสุด นี่คือจุด 2 ข้อที่ทําให้ ต่างจาก SME ทําซ้ำและเจริญเติบโตโดยเร็ว นั่นคือหัวใจของ Start Up ทีนี้มันก็มาตกหลาย ๆ ครั้งใน เรื่องของเทคโนโลยีคนก็เลยคิดว่า Start Up มันเป็นบริษัทเทคโนโลยีเพราะว่าจริงๆแล้ว ลักษณะที่แท้ จริงของเทคโนโลยีคือการทําซ้ำได้เพราะมันคือวอร์แฟร์ผ่านอินเทอร์เน็ต หรือว่าก็อบปี้ทําซ้ำๆ กันไปได้

LA: ได้เก็บเกี่ยวประสบการณ์อะไรบ้างหลังจากที่เจอคนเก่งๆ มากมาย

คุณหมู: มีครับมีหลายๆ ครั้ง แล้วก็มีตลอดหมายถึงว่าเวลาหลังนี่ได้เจอคนเยอะขึ้นก็จะรู้สึกว่ามันเป็น มุมมอง เจอบางคนอายุน้อยกว่าเราพอเจอก็จะรู้สึกแก่ครับ (หัวเราะ) แต่ว่าพอมันเป็นมุมมองเนี๊ยมัน ไม่ใช่เรื่องของอายุ ผมเจอคนที่อายุ 30 ขายบริษัทไปแล้ว 2 – 3 รอบแล้วก็ทําขึ้นมาใหม่ได้อีกเรื่อยๆ ซึ่งเวลาไปอยู่ใกล้พวกเขาเหล่านี้จะสัมผัสได้ว่ามันจะเป็นพลังของตัวเขา ซึ่งพอเรามองย้อนกลับมาที่ตัว เองจริงๆ แล้วเราทําได้แค่เซี้ยวกระตึ๊งเดียวเอง ทุกวันนี้พอมีเวลาเหลืออยู่ผมก็จะมานั่งคิดว่าเราใช้เวลา เป็นประโยชน์รึเปล่า เราทําอะไรให้ได้เร็วกว่านี้รึเปล่า

LA: ทุกคนสามารถลุกขึ้นมาเป็น World Leader ได้หรือไม่

คุณหมู: ผมคิดว่ามันเป็นการลองผิดลองถูกนะอย่าง World Leader ถ้าเราไปอ่านประวัติของในแต่ละ คนพอเราไปอ่านเราก็จะรู้ว่าทุกๆ คนก็เป็นมนุษย์ธรรมดา แค่ว่า ณ ตอนนั้นเขาอยู่ถูกที่ถูกทาง พอเขา เองเจอปัญหาเขาก็พยายามจะสู้แล้วก็แก้มันไป ทีนี้ผมคิดว่ามันเป็นแนวคิดซึ่งจริงๆ ถ้ามันเป็นแนวคิด ทางธุรกิจมันคงไม่ได้ต่างกันเท่าไหร่ เพราะไม่ว่าจะเป็นประเทศอะไรอยู่ตรงไหนมันก็คล้ายๆ กัน เพียง แต่ว่าตลาดในหลายๆ ประเทศมันอาจจะใหญ่กว่า เราจะเห็นว่าสิ่งเหล่านี้เริ่มต้นแน่นอนมันอาจจะมา จากอเมริกามาจากฝั่งยุโรปไปญี่ปุ่น แต่หลังๆ เราก็เห็นว่าคอนเซ็ปต์เดียวกันก็มาเมืองจีนอีคอมเมิร์ซ อย่าง Alibaba ของเขาก็ใหญ่กว่าอเมริกาด้วยซ้ำ ผมคิดว่าแนวคิดในการทํามันจะคล้ายๆ กันมันไม่ จําเป็นต้องมีการสอนอะไรแต่ละคนก็ค่อยๆ เรียนรู้แล้วก็ค่อยๆ ทําขึ้นมาได้ ท้ายสุดผมคิดว่ามันเป็น Personality ของคนทํามากกว่า คือถ้าเขามีความเป็นผู้นําเวลาทํางานเขาก็จะรีบทําอย่างมีเป้าหมาย

LA: การสร้างแรงบันดาลใจให้ทีมงาน Ookbee

คุณหมู: เราจะมี On Hands Meeting โดยทุกๆ คนในบริษัทจะมานั่งรวมกันอย่างน้อยเดือนละครั้ง เรื่องที่ผมจะพูดส่วนใหญ่ก็จะเป็น Vision ของบริษัท บริษัทเริ่มต้นจาก 5 คนตอนนี้ 200 กว่าคนในเวลา ไม่กี่ปี คนที่อยากมาจอยนี่ผมเชื่อนะครับว่าถ้าไปทํางานที่อื่นงานอาจจะน้อยกว่านี้ งานสบายกว่านี้ เงิน เดือนอาจจะเท่ากันหรือดีกว่านี้ แน่นอนครับว่างาน Start Up ตรงนี้จะหนักเพราะมันคือการให้โอกาส แต่คิดว่าหลายๆ คนที่เข้ามาเขาคิดว่าเข้ามาร่วมกับองค์กรที่ตอนแรกๆ มันทําอย่างนี้แล้วมันกําลัง เติบโตขึ้นไปทุกวัน สิ่งที่เราทําคือการบอก Vision ให้คนในทีมว่า ณ ตอนนี้เราอยู่ที่ตรงไหน หลายปีที่

ผ่านมาเราทําอะไรมา แล้วเรากําลังจะไปที่ไหนเราจะสื่อสารตรงนี้ให้องค์กร เหมือนกับเวลาที่ผมไปต่าง ประเทศ หรือผมมีเคสที่ผมไปเจอคนโน้นคนนี้ผมก็จะเอาแชร์ ว่ามันเป็นอย่างนี้นะ โลกทุกวันนี้มันเป็น แบบนี้ คนนี้ทําได้ คนนั้นทําได้ เราทํายังไง หลังๆ นี้ก็จะมีเอาคนในบริษัทให้โอกาสการเขามาเล่า ให้ เขามาพูดในเคสที่เขาชอบไม่ชอบ ให้เขารู้สึกเป็นเจ้าของเป็นส่วนหนึ่งขององค์กร

LA: เท่ากับว่าทีมงาน Ookbee จะได้มีโอกาสเรียนรู้ระบบการทํางาน Start Up

คุณหมู: ใช่ครับ…ผมว่ามันเป็นโอกาส คือผมว่าไม่ใช่ทุกคนที่จะออกมาเป็นเจ้าของกิจการเพราะมีเรื่อง ของแรงกดดัน และการเป็นผู้นํา แต่ในคนทุกคนผมเชื่อว่าสามารถไปจอยกับ Start Up ได้ เขาไปจอย กับบริษัทกับคนแค่ 4-5 คนแล้วเห็นมันโตขึ้นมาผมคิดว่าทุกคนทําได้ หลังจากที่เขาได้เรียนรู้ตรงนี้แล้ว วันนึงที่เขาอยากจะออกไปทําเองเขาก็จะได้เปรียบ เพราะโอกาสแบบนี้ผมว่าดีกว่าการไปทํางานอยู่ใน องค์กรใหญ่ๆ คุณจะทํางานอยู่แค่นั้นแล้วก็หวังว่าสิ้นปีจะได้โบนัสเท่าไหร่ ไม่ต้องไม่นั่งคิดเรื่องอะไรจะ เข้าหานายยังไง ซึ่งผมว่าสมัยนี้มันไม่มีเรื่องแบบนี้แล้ว แค่คุณมีโน๊ตบุ๊คตัวนึงแล้วคุณก็ทําธุรกิจมีคนใส่ เงินเข้ามามันเป็นเวลาของการทํางานจริงๆ มากกว่า

LA: แบบนี้การนั่งทํางานในออฟฟิศกําลังจะเป็นเรื่องล้าหลังรึเปล่า

คุณหมู: ผมว่าองค์กรใหญ่ๆ ก็พยายามจะปรับตัวหลังๆ องค์กรใหญ่ๆเหล่านี้บางทีก็มีการจัดตั้ง Innovation Unit ขึ้นมาในองค์กร หรือว่าไป Acquire บริษัทเล็กๆ เอา อย่าง Microsoft ก็ Acquire บริษัทใหม่ๆ อยู่ตลอดเวลา เพื่อที่จะเปลี่ยนรูปแบบบบริษัทให้มันเร็วขึ้น ก็จะเห็นว่าจริงๆ บริษัทเล็กๆ ต่างหากที่เคลื่อนตัวได้เร็วกว่า แต่..บริษัทเล็กๆ ก็อาจจะมีปัญหาแบบผมที่เคยเกิดขึ้นเป็นปัญหาแบบ บริษัทเล็กๆ ที่เราอยากจะทําให้มันโต

LA: Ookbee พร้อมรึยังที่จะมี Content และนักเขียนเป็นของตนเอง

คุณหมู: ตอนนี้เรามีนิตยสารทั้งไทย และต่างประเทศประมาณพันหัว มีหนังสือรวมๆ กันน่าจะประมาณ ซักหนึ่งแสนรายการ ถ้าเรามองว่าร้านหนังสือในเมืองไทย ร้านหนังสือกระดาษสมมุติว่ามีอยู่สี่ถึงห้าพัน รายการ แล้วประเทศไทยมีคนตั้ง 70 ล้านคน มันจะเป็นไปได้เหรอที่ประเทศไทยจะมีนักเขียนแค่สี่ถึง ห้าพันคนจริงๆ เพราะฉะนั้นจริงๆ แล้วมันจํากัดแค่การ Distribution มากกว่าหรือเปล่า เพราะว่ามีที่ ขายอยู่แค่นี้ ที่คนซื้อก็มีอยู่แค่นี้ มีที่วางอยู่แค่นี้รึเปล่า ถ้าเราเข้าไปดูเว็บไซต์อย่างเว็บเด็กดีจะมีคน เข้าไปอ่าน แล้วถ้าเราเข้าไปนับยอดอ่านจริงๆ บางเรื่องผมว่ามันเยอะกว่า Best Seller ซะอีก เยอะกว่า ยอดพิมพ์หนังสือที่เขาพิมพ์ๆ กัน ผมว่ามันเป็นปัญหาของ Distribution มันไม่ใช่ปัญหาของไม่มีคน อ่าน เพราะฉะนั้นนักเขียนหลายๆ คนเหล่านี้ก็จะเริ่มสร้างเป็น Facebook Page ขึ้นมา สร้างการตลาด ให้ตัวเอง แล้วคนส่วนนี้หลายๆ คนก็เริ่มขึ้นมาเป็นลูกค้าของเรา เริ่มมาเขียนให้เราเอาแจกฟรีบ้าง ให้ เอามาขายบ้าง และเรามีโปรแกรม Print on Demand คือให้จอง จองเป็นเล่มกระดาษมีคนจองมากี่ คน เราก็พิมพ์ออกไปตามนั้นแล้วเราก็ส่งไปรษณีย์ให้ เราอยากเปิดให้เป็นตลาดเสรีเลย ใครอยากทํา อีบุ๊คหรือใครอยากจะพิมพ์ก็พิมพ์ได้แล้วก็ส่งออกไป พอถัดมาจากตรงนั้นหลายๆ ครั้งเราพบว่ายังมีนัก เขียนอีกหลายคนที่แม้กระทั่งว่าเป็นนักเขียนขายดี Best Seller ตอนนี้ก็มาลองเอาผลงานมาทําแบบนี้ มาลงในอินเตอร์เน็ตก่อน พอพิมพ์ออกมาก็พิมพ์เผื่อเมื่อพิมพ์ครั้งที่สองก็เอาไปกระจายตามร้าน หนังสือต่อ ตอนนี้เราก็มีหลายๆ ท่านอย่างคุณ บัณฑิต อึ้งรังษี คุณบอย วิสูตร แสงอรุณเลิศ คุณแกะดํา ทําธุกิจ ประเสริฐ เอียมรุ่งโรจน์ ก็มาทําคนละเล่มสองเล่มกับทางเรา เท่าที่ผ่านมาก็สําเร็จไปได้ด้วยดี ครับ

LA: นักเขียนอีบุ๊คต้องมีภาษาเขียนดีหรือไม่

คุณหมู: ผมเชื่อว่าโลกทุกอย่างมันมี Demand Supply เป็นว่า Market Drive มันไป คือคําว่าภาษาดี ไม่ดีผมคิดว่าท้ายสุดคุณมีแฟนรึเปล่า เห็นง่ายๆ จาก Youtube บางครั้งเราเจอคลิปที่ตลกๆ ไม่ได้เป็น มืออาชีพแต่มียอดวิวเป็นล้าน ผมเชื่อว่าตลาดขับเคลื่อนไปด้วยตัวตลาดเอง ถ้าถามผมนะครับเราไม่ จําเป็นต้องไปกํากับมัน เพราะของที่ดีก็จะมีคนใช่ มีคนอ่าน เขาก็จะมีเงินพัฒนางานของเขา จริงๆ คือ Distribution ต่างหากที่มันเป็นปัญหาที่ผมบอก ถ้าเมื่อก่อนโทรทัศน์มีช่องอยู่แค่นี้ โรงหนังมีหนังให้ดู อยู่แค่นี้ ก็แน่นอนว่างานที่ขึ้นมาก็มีลิมิตอยู่แค่นี้ ก็จะกลายเป็นกระแสที่ต้องตามๆ กันไปเพราะต้อง แบบนี้เท่านั้นที่จะได้ขึ้นมาฉาย แต่ตอนนี้เรามี Youtube เราจะทําอะไรขึ้นมาก็ได้ บางอันมีคนดูเป็น ล้านเลย ถามว่ามีเรื่องของการกํากับรึเปล่า มีเรื่องภาษารึเปล่าคือมันไม่ใช่เลย แต่ว่ามันเป็นการเสนอ สิ่งที่มีคนต้องการ ผมเชื่อว่าสิ่งที่เราทําอยู่ทุกวันนี้คือเราต้องสร้างเวทีให้คนเข้ามาแสดงแล้วจะมีผลงาน ตามเข้าไป แล้วอะไรที่พิสูนจ์ว่ามันมีคนใช้มันมีคนอ่านก็แค่ทําให้ Distribute ออกมา ทําให้เขาได้เงิน คือเรามีหน้าที่สนับสนุนเขาให้มากที่สุด อย่างถ้าใครต้องการแล้วมาขอว่าพี่ครับขอ Editor หน่อย ช่วย ทํารูปวาดรูปให้หน่อยพวกนี้เราก็มีบริการ ผมก็จะแจ้งว่าตรงนี้มันมีต้นทุนนะ เขาก็สามารถเอาราคา ตรงนี้ไปเปรียบเทียบราคาที่โน้นที่นี่ได้ครับ

LA: คิดว่าแอพพลิเคชั่นและอีคอมเมิร์ซจะเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางใด

คุณหมู: อย่างที่บอกครับตอนนี้เป็นโลกของคนตัวเล็กลงเรื่อยๆ ทุกวันนี้สิ่งที่คนไม่มีคือเวลาหมาย ถึงว่าเรามีเวลาน้อยลงเรื่อยๆ แล้วมือถือนี่เป็นเหมือนหน้าต่างในการทําธุรกิจของคนรุ่นใหม่ๆ เห็นได้ เลยครับว่าคนเปิดร้านทาง Instagram มีคนโน้นคนนี้แชร์มาก็ไปอ่านในรีวิวในอินเตอร์เน็ต คือมันเป็น โลกของคนตัวเล็ก ไม่ว่าจะเป็นอีคอมเมิร์ซหรือแม้แต่ธุรกิจมีเดียของผมเองคือเป็นว่าใครๆ ก็ทําได้ท้าย สุดมันเป็น Power of Network เพราะทุกคนคอนเนคเข้าสู่อินเตอร์เน็ตได้ ทุกคนมีอํานาจในการทํา ธุรกิจอะไรบางอย่างไม่ว่าคุณจะเป็นนักเขียน นักแต่งเพลง นักดนตรี แนวโน้มหลังๆ ที่คนทําธุรกิจแล้ว สําเร็จเป็นคนสร้างคนเล็กๆ ขึ้้นมาอย่าง Alibaba ก็มีทีมเป็น Taobao หรือว่าอย่าง Line ก็จะพยายาม ทําตัวเองเป็น Line Shop พ่อค้าแม่ค้าก็ขึ้นมาอยู่บนนี้ หรือ Instagram ที่แต่ละคนก็มีแฟนมีคนติด ตามตอนน้ีโลกมันกลายเป็นว่าคนอยากทําธุรกิจไม่จําเป็นต้องเปิดร้านหรือลงทุนใหญ่ๆ แน่นอนว่าตรง นั้นมันอาจเป็นปลายทาง แต่ว่าตอนเริ่มคุณไม่จําเป็นต้องลงทุนลงงานกันมาก่อนหลายสิบล้านถึงจะเริ่ม ขายของอันแรกของคุณได้

LA: นอกเหนือจากธุรกิจ Ookbee มีความชอบหรือสนใจอยากลงทุนทําธุรกิจด้านอื่นๆ หรือไม่

คุณหมู: จริงๆ ผมเป็นคนชอบเทคโนโลยีนะครับ ตอนเด็กๆ ก็เคยไปเรียนเขียนโปรแกรมกับเพื่อนๆ ธุรกิจที่เริ่มทําแต่ก่อนก็จะเกี่ยวกับเทคโนโลยี ฟอร์แมตอาจเปลี่ยนไปแต่ทุกครั้งก็จะเกี่ยวข้องกับ ซอร์แวร์อินเตอร์เน็ตเป็นหลัก ช่วงหลังพอมาทําอุ๊คบีก็จะได้เห็นโลกของบริษัทนักลุงทุนในอินเตอร์เน็ต เริ่มจากมีนักลุงทุนมาลงทุนในเรา เราก็เริ่มลงทุนในบริษัทเล็กผมก็ชวนกับคุณกระทิง เรืองโรจน์ พูนพล ไปลงทุนในบริษัทอินเตอร์เน็ตอื่นๆ คือพอบริษัทมีเงินจากนักลงทุนเข้ามาก็ทําให้ธุรกิจมีโอกาสในการ ขยาย ธุรกิจอินเตอร์เน็ตจะเติบโตได้จริงๆ คือการเข้าไปเปลี่ยนโลกเก่าอย่างเช่น e-commerce ก็ต้อง ไปแข่งกับ Brick and Mortar หรือถ้าเป็นอีบุ๊คก็ต้องไปแข่งกับร้านหนังสือกระดาษ ทําให้หลายๆ ครั้งที่ เรามีมุมมองที่จะเปลี่ยนอะไรบางอย่างมันจึงจําเป็นต้องมีเรื่องของนักลงทุนเข้ามาเพื่อที่จะสนับสนุนให้ ธุรกิจเติบโตไปได้ เพราะฉะนั้นตัวเองก็เริ่มรู้สึกว่านอกจากเรื่องของการธุรกิจของตัวเองกับเรื่อง เทคโนโลยี ก็รู้สึกว่าตรงนี้มันเปลี่ยนไปเป็นคูณสิบได้เลย แล้วเราไม่ต้องทําเองด้วยเพราะเราไปลงทุน ให้เขาทําให้เกิดเป็นธุรกิจใหญ่ๆ ได้ ทําให้รู้สึกว่านี่เป็นอะไรอีกอย่างหนึ่งที่น่าสนใจ

LA: ปัญหา อุปสรรค วิธีแก้ไข

คุณหมู: ทุกวันนี้เราก็ยังเจอปัญหาอยู่เรื่อยๆ นะครับ แต่พอเราทําธุรกิจไปได้สักระยะหนึ่งเราจะรู้ว่า ปัญหาทางด้านธุรกิจนี่ใครๆ ก็มี เพราะฉะนั้นเราก็ค่อยๆ แก้ไปทีละอัน ยิ่งถ้าย้อนกลับไปพูดถึงบริษัท เก่านี่ไม่มีตังค์จ่ายเงินเดือนเลย ทําให้ต้องออกไปขายอะไรบางอย่างเพราะมันไม่มีตังค์ เงินเดือนจะไม่ ออกละ หรือออกช้าละ อย่างทุกวันนี้อาจจะทํางานมีนักลงทุนเข้ามาโน้นนี่ปัญหามันก็เปลี่ยนไปเป็นอีก แบบกลายเป็นปัญหาจะทํายังไงให้มันโตเร็วๆ ให้นักลงทุนรู้สึกมาลงทุนแล้วมันได้ผลตอบแทน ปัญหา มันมีเข้ามาตลอดครับ แค่ว่าเราต้องมองว่ามันเป็นเรื่องปกติ แล้วที่ถูกก็คือเราต้องรู้ว่าอะไรสําคัญ เรา ต้องทําเรื่องใหญ่ๆ ก่อนแล้วก็รีบทําลงไป และกล้าตัดสินใจ คือหมายถึงว่าเราทิ้งไว้ไม่ทําอะไรแล้วคิด ว่ามันจะแก้ไขไปเองเนี๊ยมันไม่มีเรื่องแบบนั้น

LA: มองอนาคตของ Ookbee ไว้อย่างไร

คุณหมู: แน่นอนครับว่าเราอยากจะเป็นร้านหนังสืออีบุ๊คที่ใหญ่ที่สุดใน South East Asia เราพยายาม ขยายดิจิตอลอีบุ๊คเป็นมีเดียอื่นๆ เราเริ่มไปดูเพลง เราเริ่มไปดูหนังสือการ์ตูนมี Ookbee Comic มีเว็บ เพลงในชื่อ fungjai.com ความฝันของเราคือเราอยากทําอันนี้ขึ้นมาในเมืองไทยเราจะเป็นเพ็ทฟอร์มที่ จะให้คนตัวเล็กๆ ขึ้นมาได้ ใครมีผลงานก็ใช้เราเป็นก้าวแรกที่ขึ้นมาไม่จําเป็นต้องรอ แล้วเราก็ขยายไป ในประเทศต่างๆ อันนี้เป็นเป้าหมาย แต่ถ้าในแง่บริษัทความก้าวหน้าของบริษัทเราก็อยากจะเป็น household brands ที่พอใครได้ยินชื่ออุ๊คบีก็จะรู้ว่าเราทําอะไร เหมือนกับที่เราได้ยินแบรนด์เท่ๆ ใน อินเตอร์เน็ตพอมีคนต่างประเทศพูดถึงอุ๊คบีก็จะรู้ว่าเราคือแบรนด์เท่ๆ ของคนไทย

เกี่ยวกับผู้เขียน Jitlada

คุณจิตต์ลดา ชายรี่ย์ คุณปอม จบการศึกษาปริญญาตรีการตลาดจากมหาลัยกรุงเทพ ประสบการณ์การทำงาน Beauty Editor Hiso Party Magazine, Deputy Editor OK.magazineThailand และ Assistant General Manager บริษัท Mediatransasia

บทความลิขสิทธิ์โดย  thai.luxurysocietyasia.com

“ไอเดียแปลกใหม่ กล้าทําอะไรที่ยากกว่าคนอื่น” วราวุธ เจนธนากุล

ถ้าพูดถึงเกมส์โชว์ที่สนุกตื่นเต้น เร้าใจ แปลกใหม่ในยุคนี้คงไม่มีใครปฎิเสธว่าไม่รู้จักหนุ่มคนนี้

Exclusive Interview: บทความและภาพโดย Jitlada

คุณเอ วราวุธ เจนธนากุล หัวเรือใหญ่บริษัท Zense Entertainment นอกจากการเป็นผู้บริหารแล้ว เอ วราวุธยังรับสวมบทบาทพิธีกรอีกด้วย รางวัลเกมโชว์ มณีเมขลาดีเด่นยอดนิยมจาก รายการ “เกมเนรมิต” และ รางวัลโทรทัศน์ทองคํา และมณีเมขลาดีเด่นยอดนิยมจากรายการ “5 มหา นิยม” เป็นเครื่องการันตีความสําเร็จ แต่สิ่งที่เราได้เห็นหรือได้รู้จักเป็นเพียงแค่เกราะบางๆ ภายนอก เพราะตัวตนที่แท้จริงของผู้ชายมากความสามารถ เอ วราวุธ ภายในกลับเต็มเปี่ยมไว้ด้วยความเห็นอกเห็นใจความเอาใจใส่ต่อทีมงานทุกๆ ชีวิต ผู้ชายคุยเก่ง อารมณ์ดีคนนี้มีแนวคิดนอกกรอบ แต่ผูกขาด ไว้กับศีลธรรมอันแน่วแน่ที่เจ้าตัวยึดติด “ถ้าเราอยากให้คนอื่นเคารพทรัพย์สินทางปัญญาของเรา เราก็ ต้องเคารพเขาเช่นกัน ผมไม่เคยลอกใคร ซื่งผมยึดถือเป็นหลักในการทํางาน” สิ่งต่างๆ เหล่านี้เองที่นําไปสู่ประตูแห่งความสําเร็จบนเส้นทาง 5 ปีของบริษัท เซ้นส์ เอนเทอเทนเมนต์

ย้อนเวลากลับไปในวัยเด็กของคุณเอ วราวุธ เจ้าตัวเล่าให้ฟังว่า “ตอนเด็กๆ จริงๆ แล้วเป็นคนที่ขี้อาย และไม่กล้าแสดงออก ต้องขอบคุณพ่อเพราะคุณพ่อเป็นคนชอบให้ออกมาพูดสมมุติว่าว่าวันนี้วันเกิดผม หรือวันเกิดน้องให้ออกมาพูดหน่อยซิ ขอบคุณคนนั้น ขอบคุณคนนี้ ผมก็ออกมายืนเก้ เก้กังๆ ขนาดพูด ต่อหน้าแค่คนในครอบครัวนะ 3 – 4 คนเองยังไม่รู้จะพูดอะไรดี (หัวเราะ) แต่พอทุกวันนี้มานั่งนึกมันคือ การจุดประกายการฝึกตั้งแต่เล็กๆ ให้เรากล้าแสดงออก พอโตขึ้นมาก็ได้มีโอกาสทํากิจกรรมของ โรงเรียนบ้าง เริ่มตั้งแต่ประถมคุณครูก็จับไปรํา ไปเต้น แต่ผมไม่ได้อยู่กลุ่มเด็กที่ชอบแสดงออกนะ ผมจําเป็นเพราะพอถูกครูจับไปก็ต้องทําทุกอย่างทั้งรํา ทั้งโขน ในแง่ของกีฬาก็เป็นประธานสีคอยจัดการทุกอย่าง”

ดีกรีนักศึกษาหนุ่มปริญญาโทบริหารธุรกิจจาก Kellogg School of Management โรงเรียนที่เก่งทาง ด้าน Marketing อันดับหนึ่งของโลกโดยได้อาจารย์ Phillip Kotler เป็นผู้ตีเหล็กให้แกร่งกล้า แล้วอะไร คือจุดเปลี่ยนให้นักวิเคราะห์การเงินมาจับงานพิธีกร “หลังจากได้รับการเชื้อเชิญให้มาเป็นพิธีกร รายการ “ตู้ซ่อนเงิน” ถามว่าใช้เวลาตัดสินใจนานไหม ผมบอกได้เลยว่าผมลังเล ผมจําได้ว่าผมจะเบี้ยว ซะด้วยซ้ำผมจําได้เลยว่าตู้ซ่อนเงินเทปแรกคือวันเสาร์ ตอนนั้นเป็นวันพฤหัสช่วงปลายปีด้วย ผมคิด เลยว่าผมจะไม่บินกลับมาดื้อๆ อย่างนี้แหละ ผมโทรไปสารภาพกับคุณพ่อว่าสงสัยเอจะไม่บินกลับละนะ เอจะเบี้ยวคือไม่เอา ไม่ใช่อะ คือมันก็มีความต่อต้านตัวเองว่า เราใช่เราเหรอ จะทําได้เหรอ แต่คุณพ่อ กลับให้มุมมองที่ผมลืมคิดไปว่า ในเมื่อผู้ใหญ่สองท่านคือพี่ตา (คุณปัญญา นิรันดร์กูล) และพี่จิก (คุณ ประภาสชลศรานนท์)ที่เห็นอะไรในตัวเราซึ่งคุณพ่อก็ไม่เห็นอะไรในตอนนั้นแต่คุณพ่อก็มั่นใจว่าถ้า ผู้ใหญ่สองท่านนี้เห็น แล้วให้โอกาสเราๆ ก็ควรจะทํานะ ทําได้หรือไม่ได้ก็ไม่เป็นไรถือว่าเป็น ประสบการณ์ชีวิต”

“แรกๆ ก็คลุมเคลือๆ เพราะต้องเปลี่ยนถ่ายจาก สมองซีกซ้าย มาซีกขวาพอโปรดิวเซอร์สั่งว่าเอาแบบ เครียดๆ นะ แต่ว่าตลกก็ตลกด้วย ผมคิดนะว่ามันจะ เป็นยังไง เราก็นึกไม่ออก เรารู้แต่เครียดแล้วก็ เครียดๆ เลย ก็ค่อยๆ ฝึกมาเรื่อยๆ ช่วงแรกที่ทํานี่ไม่ ได้คิดอะไรนะครับ คิดว่าเราได้ไปลองเป็นพิธีกรก็ เป็นทักษะหนึ่ง ก็ไม่ได้คิดอะไรเลยก็ทําอยู่ประมาณปี เศษก็มีทีมงานมาชักชวนว่าสนใจจะทําไหม มีไอเดียไหม ซึ่งจริงๆ ผมก็มีอยู่หลายไอเดียแต่มันไม่เคยเห็น คนเอามาทําเป็นรายการโทรทัศน์ ก็เลยลงทุนตั้ง บริษัทขึ้นมาคิดว่าอยากจะลองทําดูสักครั้งนึง

รายการแรกก็คือ “ศึกน้ําผึ้งพระจันทร์” ทุกวันนี้ก็ยังออกอากาศอยู่ทางช่อง 3 ซึ่งตอนขอแต่งงาน Will you merry me เป็นช่วงที่ผมอยากให้ผู้หญิงหลายๆ คนที่มีความฝัน อยากมีใครสักคนมาขอเธอ แต่งงาน ถึงแม้จะไม่ได้เป็นตัวของเธอเองแต่ก็มีโอกาสได้เห็น ได้มีความสุข ได้ความประทับ ได้แบ่งปัน ความรู้สึกทั้งหมดนี้ร่วมกัน และนั่นคือรายการแรกของบริษัทจริงๆ”

“ตั้งแต่เริ่มต้นทําบริษัท เซ้นส์ฯ มาก็มีปัญหามาตั้งแต่เริ่มต้นเลยครับ เพราะเราเป็นบริษัทที่ใหม่อุตสาหกรรมผู้ผลิตรายการ โทรทัศน์ผมว่าความน่าเชื่อถือเป็นสิ่งสําคัญ เป็นสิ่งแรกที่ทุกๆสถานที่ให้ความสําคัญเลย ไม่มีประสบการณ์อย่างเป็นรูปธรรมก็ไม่ได้่รับการยอมรับ ไปขอเวลาก็ยาก ไปขอโฆษณาก็ลําบาก จําได้ว่าการออกไปขายโฆษณาครั้งแรกด้วยตัวเองไปด้วยความมั่นใจ แต่พอเดินออกมาเรียกว่าหมดสภาพเลยก็ได้ว่าผมเข้าไปบรรยายอย่างสนุกสนานเต็มที่ แต่ฟีตแบ็คที่ออกมาถือว่าไม่ดีเลย จําได้เลยว่าออกมายืนหน้าตึกแหงนหน้ามองท้องฟ้ายังแบบว่าหรือเราคิดอะไรผิดไปรึ เปล่าเนี๊ย! ตอนแรกที่เราฮึกเฮิมคิดว่าเราทําได้ เอ๊ะ..สงสัยมันจะไม่เป็นความจริงแล้วหละ ก็นั่นคืออุป สรรคแรกๆ แต่ก็ก้าวผ่านอุปสรรคมาได้ เราเชื่อมั่นในส่ิงที่เราคิด ผมยังจําทุกความรู้สึกได้ รายการแรก

คือศึกน้ําผึ้งพระจันทร์ รายการ “เกมเนรมิต” เป็นรายการที่สองของบริษัท และเป็นรายการที่ใหญ่ เรา ได้สปอนเซอร์จาก SCG มาร้อยกว่าล้าน ซึ่งตอนนั้นเราแข่งกับบริษัทใหญ่ๆ ที่มีประสบการณ์มาหลาย สิบปี เราเสียเปรียบเขาทุกอย่างแต่เรานําเสนอไอเดียที่แปลกใหม่ และกล้าทําอะไรที่ยากกว่าคนอื่นเรา ก็เลยได้งานนั้นมา ผมจําได้เลยว่าผมดีใจยิ่งกว่าอะไรอีก”

“สองสิ่งสําคัญที่เป็นกุญแจความสําเร็จของ เซ้นส์ฯ คือ หนึ่งแนวคิดที่เราทําไม่เหมือนใคร เรากล้าทําใน สิ่งที่คนอื่นไม่กล้าทํา และเรากล้าลงทุนในส่วนของโปรดักชั่น 5 ปีที่ผ่านมาเป็นเครื่องพิสูจน์ว่าเรากล้าทําในส่ิงที่แตกต่าง และเราก็ทําในส่ิงที่แตกต่างนั้น ให้เป็นจริงให้ได้ สองคือให้ความสําคัญกับบุคลากร ต่อให้มีอุปกรณ์ หรือเทคโนโลยีทุกอย่างดีโปรดักชั่นที่อลังการมาก แต่ถ้าเราขาดบุคลากรที่ดีที่เก่ง สิ่งต่าง เหล่านี้ก็ไม่เกิดประโยชน์อะไร ผมได้ทีมงานที่ดีไม่ว่าจะเป็นทีมผลิต ทีมขาย ทีมประชาสัมพันธ์ ผมว่าทีมงานทุกๆ ส่วนที่อยู่ที่ เซ้นส์ฯเป็นทีมงานที่แข็งแรง ทุกๆคนมีความสามารถ และมีประสบการณ์ แล้วทุกๆคนพร้อมที่จะแชร์ความฝัน ไปร่วมๆ กับผม ทุกคนที่ผมไปชักชวนมาพวกเราทุกคนมองเห็นไปในทิศทางเดียวกัน”

“ก่อนที่ผมจะลงมือทําอะไรผมจะออกไปดูซิว่าโลกนี้พัฒนาไปถึงไหนแล้ว โลกนี้มีเรื่องราวอะไรที่คน กําลังฮิตกันอยู่ สมัยนี้โลกแคบขึ้น ทุกบ้านมีอินเตอร์เนท มียูทูบ เราไม่ควรไปเอาของใครมาทําให้เป็น ของเรา เพราะะนั้นถ้าเราอยากให้คนอื่นเคารพทรัพย์สินทางปัญญาของเรา เราก็ต้องเคารพเขาเช่นกัน ผมไม่เคยลอกใคร ซื่งผมยึดถือเป็นหลักในการทํางาน นอกจากในประเทศไทยที่รู้จัก เซ็นส์ฯ แล้วชาว ต่างชาติก็ให้การยอมรับเพราะเราผลิตรายการได้ดีมีคุณภาพ ผมเคยบอกกับทีมงานเลยว่าต่อไปเราจะ คิดฟอร์แมทใหญ่ๆ ไปขายต่างชาติ ซึ่งจริงๆ แล้วขณะนี้ก็มีการคุยกันอยู่ อนาคตข้างหน้าภายใน 3-4 ปี เราก็อาจจะผลิตภาพยนต์ ซึ่งจริงๆ ผมเป็นคนชอบภาพยนต์ และผมคิดว่าศาสตร์และศิลป์ของการทํา ภาพยนต์นี้คือที่สุดแล้ว”

วันที่ 2 สิงหาคม 2557 เอ วราวุธท้าทายความสามารถตนเองครั้ง ใหญ่ด้วยการซื้อลิขสิทธิ์ “The Money Drop” จากบริษัท Endemol จน เกิดเป็น “The Money Drop ไทยแลนด์”สร้างเรทติ้งสูงสุดถึง 10.6 ควันแห่งความร้อนแรงยังไม่ทันจางหาย ประกายไฟแห่งความคิดครั้ง ใหม่ก็เกิดขึ้นด้วยการตัดสินใจซื้อรายการใหม่ล่าสุดจากบริษัท Endemol อีกครั้งในชื่อ “Sing Your Face Off” ฟอร์แมทระดับโลกที่ทุ่ม ทุนงบประมาณในการสร้างมหาศาลถึง 50 ล้านบาท “เพื่อให้สมกับ การครบรอบ 5 ปี เซ้นส์ฯ “Sing Your Face Off เป็นรายการที่เกิดขึ้น ครั้งแรกในปี 2013 ถ้าในยุโรปจะใช้ชื่อ Your Face Star Familiar แต่ เวอร์ชั่นของในสหรัฐอเมริการจะใช้ชื่อ Sing Your Face Off ซึ่งเป็น รายการเดียวกัน ผมชอบในคอนเซ็ปต์นะแต่ด้วยความที่ยังใหม่ ผมเลยรอเวลาให้ฟอร์แมททุกอย่างมันลงตัว ภายในหนึ่งปีหลังจากนั้นเรา ได้ศึกษาจากทุกๆ กระแสจากทุกๆ ประเทศที่นําไปผลิตฟีตแบ็คออกมา

ค่อนข้างดี ก็เลยตัดสินว่าต้องเอารายการใหญ่รายการนี้เข้ามานําเสนอในประเทศไทย คอนเซ็ปต์ของ รายการ Sing Your Face Off คือการเชิญดารา ศิลปิน และเซเลบริตี้มาร่วมกันเปลี่ยนหน้า โดยที่ทาง รายการจะจัด Spacial Effect, Choreographer, Producer ในการจัดเพลงหาคีย์ให้กับผู้เข้าแข่งขัน และ ให้พวกเขาเหล่่านี้ได้ใช้เวลาในการซ้อมให้เหมือนกับศิลปินต้นฉบับที่เรากําหนดให้ ใครทําโชว์ได้ดีที่สุด ก็จะได้เงินรางวัล 100,000 บาท เงินทั้งหมดนี้ผู้เข้าแข่งขันจะนํามอบให้กับมูลนิธิที่ผู้แข่งได้เลือกที่จะ มอบให้ ผมมองดูแล้วว่าองค์ประกอบทั้งหมดของรายการนี้คือคนดูดูแล้วสนุก ดูแล้วตื่นตาตื่นใจ คน เล่นทําเต็มที่เพื่อเอาเงินตรงนี้ไปมอบให้กับมูลนิธิต่างๆ คนดูก็สามารถทําบุญได้ด้วยจากการโหวตเข้า มา เงินจากการโหวตตรงนี้เซ้นส์ฯ ขอนําร่วมส่งต่อบุญร่วมกันเราไม่ได้มีรายได้จากส่วนนี้เลย”

ก่อนจากกันคุณเอ วราวุธขอฝากให้กําลังใจกับผู้ที่กําลังตามล่าฝันของตัวเอง “ในแง่ของการทํางาน ผมเชื่อว่าตอนนี้หลายๆ คนที่กําลังทําความฝันของตัวเองให้เป็นความจริงอยู่ แล้วผมเชื่อว่าทุกความ ฝันเป็นสิ่งที่ดีและสวยงาม อย่าพึ่งท้อกับการจะเริ่มต้นหรือทําอะไรสักอย่างแล้วมีอุปสรรค ขอให้คุณ เชื่อในส่ิงที่คุณฝัน ขอให้คุณลงมือทํามันให้เต็มที่แล้วคุณก็จะภาคภูมิใจกับความฝันของคุณที่เป็นจริง ทุกๆ ก้าวของการเดินฝ่าอุปสรรคผมเชื่อว่ามันเหนื่อย และมีปัญหา แล้วบางครั้งก็ไม่รู้ว่าเมื่อไหร่มันจะ สิ้นสุด แต่อยากให้ก้าวต่อไปเพราะถ้าคุณยืนถอดใจหยุดอยู่กับที่คุณก็จะไม่ไปถึง ผมขอให้กําลังใจทุกๆ คนที่กําลังทําอยู่ บางครั้งเราจะชื่นชมคนที่ประสบความสําเร็จแล้ว ผมอยากให้เราช่วยกันสนับสนุนคน ที่กําลังจะสร้างอะไรใหม่ๆ ขึ้นมาไม่ใช่แต่ในแวววงเอ็นเทอร์เมนท์อย่างเดียว แต่ขอเป็นแรงใจให้กับทุก แวววงเพื่อให้ประเทศเรามีอะไรใหม่ๆ ดีๆ เกิดขึ้น”

ใครที่ชอบเกมส์โชว์ฟอร์แมทระดับโลกต้องห้ามพลาดกับรายการเปลี่ยนหน้า…ท้าโชว์ Sing Your Face Off ที่จะเกิดขึ้นครั้งแรกในประเทศไทยออกอากาศทุกวันเสาร์ เวลา 15:45 น. เริ่มวันเสาร์ที่ 13 มิถุนายน 2558 นี้แน่นอน

เกี่ยวกับผู้เขียน Jitlada

คุณจิตต์ลดา ชายรี่ย์ คุณปอม จบการศึกษาปริญญาตรีการตลาดจากมหาลัยกรุงเทพ ประสบการณ์การทำงาน Beauty Editor Hiso Party Magazine, Deputy Editor OK.magazineThailand และ Assistant General Manager บริษัท Mediatransasia

บทความลิขสิทธิ์โดย  thai.luxurysocietyasia.com


Similar Posts