|

การทำหมันคืออะไร หมันหญิง-ชาย ข้อห้ามและสิ่งที่ต้องระวังการผ่าตัดทำหมัน


การทำหมัน เป็นวิธีการคุมกำเนิดถาวรชนิดหนึ่งที่ทำได้ทั้งในฝ่ายหญิง และฝ่ายชาย เพื่อป้องกันการตั้งครรภ์อันไม่พึงประสงค์หลังการมีเพศสัมพันธุ์ ทั้งนี้ การทำหมันมักทำโดยขั้นตอนการผ่าตัดร่วมด้วย

การทำหมันสตรี หมายถึง การทำให้ท่อนำไข่ขาดหรืออุดตัน เพื่อมิให้ไข่เดินทางมาพบกับตัวอสุจิของเพศชายหลังการมีเพศสัมพันธุ์สำหรับ การป้องกันการตั้งครรภ์อันไม่พึงประสงค์

การทำหมันชาย หมายถึง การทำให้ท่ออสุจิขาดหรืออุดตัน เพื่อมิให้น้ำเชื้ออสุจิหลั่งออกมาพบกับไข่เพศหญิงหลังการมีเพศสัมพันธุ์ สำหรับการป้องกันการตั้งครรภ์อันไม่พึงประสงค์ของเพศหญิง

การทำหมันในสตรี
การทำหมันในสตรี แบ่งได้ 2 วิธี ตามระยะเวลาในการทำหมัน ได้แก่
1. การทำหมันหลังคลอด หรือ การทำหมันเปียก (Postpartum)
เป็นการทำหมันในระยะหลังคลอดที่นิยมทำภายในเวลา 24-72 ชั่้วโมง หลังการคลอด ซึ่งในระยะนี้ มดลูกยังมีขนาดโตพอที่จะสามารถคลำพบผ่านทางหน้าท้องได้อย่างชัดเจน ซึ่งจะง่ายสำหรับการผ่าตัดหน้าท้องสำหรับทำการอุดตันรังไข่ได้ง่าย

2. การทำหมันอกระยะหลังคลอด หรือ การทำหมันแห้ง (Interval Sterilization)
เป็นการทำหมันหลังการคลอดตั้งแต่ 6 สัปดาห์ หลังการคลอดขึ้นไป ซึ่งในระยะนี้จะทำการผ่าตัดหน้าท้องสำหรับสำหรับการทำหมันได้ยาก เนื่องจาก มดลูกมีขนาดเล็ก และเลื่อนเข้าอยู่บริเวณช่องเชิงกราน และห่างจากหน้าท้องมาก แต่ปัจจุบัน การทำหมันแห้งได้มีการพัฒนากระบวนการให้ทันสมัยมากขึ้น จึงไม่เป็นเรื่องยุ่งยากเหมือนในอดีต

ข้อพึงระวังในการทำหมันสตรี
1. โรคชี้บ่งทางการแพทย์
– โรคหัวใจ ในหญิงที่เป็นโรคหัวใจ หากมีการตั้งครรภ์จะทำให้อาการโรคหัวใจกำเริบมากขึ้น รวมถึงมักเกิดอาการแทรกซ้อน ได้แก่ เกิดการแท้ง การคลอดก่อนกำหนด ทารกตายในครรภ์หรือตายหลังการคลอด
– โรคความดันโลหิตสูง ในหญิงที่ตั้งครรภ์ หากเป็นโรคความดันโลหิตสูงมักจะทำให้เกิดอาการแทรกซ้อนแก่แม่ และทารกในครรภ์ได้ง่าย เช่น รกลอกก่อนกำหนด ครรภ์เป็นพิษ หัวใจวาย เส้นเลือดในสมองแตก จึงควรทำหมันในระยะที่โรคทุเลาลงแล้ว
– โรคไต เนื่องจากการตั้งครรภ์ของหญิงที่เป็นโรคไตจะทำให้เกิดอาการแทรกซ้อนต่างๆ ได้แก่ อาการบวมน้ำ ครรภ์เป็นพิษ และมีอาการความดันโลหิตสูงได้ง่าย
– โรคเบาหวาน เนื่องจากการตั้งครรภ์ของหญิงที่เป็นโรคเบาหวานจะทำให้ให้อาการของโรครุนแรง ขึ้น และควบคุมได้ยาก รวมถึงเกิดภาวะแทรกซ้อนขณะตั้งครรภ์ ได้แก่ การแท้งลูก ทารกตายในครรภ์หรือตายหลังคลอด มีอาการคลอดยากเพราะทารกหัวโต มีการตกเลือดหลังคลอด และเกิดการติดเชื้อได้ง่าย
– โรคจิต และปัญญาอ่อน ซึ่งหากหญิงเป็นโรคนี้จะทำให้มีโอกาสที่เด็กหลังคลอดเป็นโรคปัญญาอ่อน หรือมีความผิดปกติทางจิตได้สูง
2. ข้อบ่งชี้ทางพันธุ์กรรม
โรคติดต่อทางพันธุ์กรรม เนื่องจากหญิงที่เป็นโรคที่สามารถติดต่อหรือถ่ายทอดไปสู่ลูกได้หากมีการตั้ง ครรภ์ เช่น โรคฮีโมฟีเลีย (Hemophilia) และโรคมองโกลิซึม (Mongolism) เป็นต้น ดังนั้น หญิงที่เป็นกลุ่มโรคเหล่านี้จึงควรหลีกเลี่ยงการตั้งครรภ์
3. ข้อบ่งชี้ทางสังคม และเศรษฐกิจ เช่น หญิงที่มีบุตรแล้ว 2 คน และมีฐานะยากจน

ข้อห้ามการผ่าตัดทำหมัน
1. โรคปอด หญิงที่เป็นโรคเกี่ยวกับปอดที่มีอาการรุนแรง เช่น โรคหอบหืด โรคปอดอักเสบ วัณโรค ให้รักษาให้หายก่อน เพราะหากผ่าตัดอาจทำให้เกิดการติดเชื้อได้ง่าย
2. โรคโลหิตจาง หญิงที่เป็นโรคโลหิตจาง อาจเกิดภาวะแทรกซ้อนขณะผ่าตัด เช่น ภาวะแทรกซ้อนจาการใช้ยากล่อมประสาท และการใช้ยาชา
3. โรคความดันโลหิตสูง หญิงที่เป็นโรคความดันโลหิตสูงอาจเกิดอาการแทรกซ้อนจากการใช้ยาสลบ และอาการขณะผ่าตัด ดังนั้น จึงควรรักษาโรคนี้ให้หายก่อนเข้ารับการผ่าตัด
4. โรคหัวใจ หญิงที่เป็นโรคหัวใจถูกห้ามให้มีการผ่าตัด เพราะขณะผ่าตัดผู้ป่วยมักมีอาการเกิดความกลัว และความเครียดได้ง่าย ซึ่งจะทำให้หัวใจทำงานผิดปกติ อาจทำให้หัวใจวายหรือหัวใจล้มเหลวได้
5. โรคเบาหวาน หญิงที่เป็นโรคเบาหวานที่ไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้จะมีโอกาส เสี่ยงสูงที่ทำให้เกิดการแทรกซ้อน เช่น ห้ามเลือดไม่ได้ หรือ แผลหายช้า และติดเชื้อได้ง่าย
6. ผู้ที่ป่วยมีอาการติดเชื้อ และมีไข้สูง หากทำการผ่าตัดอาจทำให้เกิดการติดเชื้อลุกลามได้

วิธีการทำหมันหญิงทั่วไป
1. การผูก การตัดปีกมดลูกบางส่วน หรือ การจี้ด้วยไฟฟ้า (Tubal ligation and remove of a portion of oviduct, Electrocoagulation) วิธีนี้ถือเป็นวิธีที่นิยมมากที่สุด และนิยมทำกันในปัจจุบัน

หมันหญิง

2. การตัดรังไข่ออก (Ovariectomy) เป็นวิธีตัดเอารังไข่ออกทั้งสองข้าง ซึ่งมีผลทำให้หญิงนั้นเป็นหมันอย่างถาวร และไม่มีประจำเดือนอีก แต่เป็นวิธีที่ไม่นิยมทำ เนื่องจากรังไข่เป็นอวัยวะที่ผลิตฮอร์โมนเพศหญิง หากตัดออกจะทำให้ผลต่อการทำงานของร่างกาย และไม่สามารถรักษากลับมาให้เป็นปกติเหมือนเดิมได้
3. การตัดมดลูกออก (Hysterectomy) เป็นวิธีการทำหมันด้วยการตัดมดลูกออก วิธีรี้จะทำในเฉพาะกรณีพิเศษที่หลีกเลี่ยงไม่ได้เท่านั้น เช่น เป็นเนื้องอกในมดลูก หรือ เป็นโรคที่เกี่ยวกับมดลูกจนแพทย์วินิจฉัยให้ตัดมดลูกทิ้ง

วิธีทำหมันหญิงที่นิยม
1. การผูกปีกมดลูก (Tubal ligation) ด้วยการผ่าตัด และผูกปีกมดลูก
2. การทำให้ปีกมดลูกอุดตัน (Tubal occlusion)  โดยการใช้ยางรัด หรือ คลิบ หรือ การจี้ด้วยไฟฟ้า

หมันหญิง1

เทคนิคการผ่าตัดเพื่อทำหมันหญิง
1. มินิลาพาโรโตมี (Minilaparotomy)
เป็นวิธีที่ทำโดยใช้เครื่องมือ อีลีเวเตอร์ (Elevator) สอดผ่านช่องคลอดเข้าไปในโพรงมดลูก และดันมดลูกให้สูงขึ้นเข้ามาใกล้ผิวหนังหน้าท้อง ก่อนทำการผ่าตัดให้เป็นแผลตามแนวขวาง 2-5 เซนติเมตร บริเวณเหนือหัวเหน่าประมาณ 2 เซนติเมตร และสอดเปิดเข้าไปผูก และตัดปีกมดลูก ทั้งนี้ แพทย์อาจใช้ยาชา หรือ ยาสลบสำหรับหญิงที่กลัวการผ่าตัด

วิธีนี้ ทำได้ทั้งในระยะหลังคลอด และระยะนอกหลังคลอด จึงเป็นวิธีที่นิยมมากในหญิงที่ไม่ได้อยู่ในระยะหลังคลอด หลังผ่าตัดเสร็จไม่ต้องนอนค้างคืน (ผู้ประดิษฐ์ คือ นายแพทย์วิทูร โอสถานนท์โรงพยาบาลรามาธิบดี)

2. ลาปาโลสโคปี (Laparoscopy)
เป็นวิธีการทำให้ท่อรังไข่อุดตัน ด้วยการใช้เครื่องมือลาปาโลสโคปี สอดผ่านหน้าท้อง แล้วจี้ปีกมดลูกด้วยไฟฟ้า หรือ ใช้คลิบบีบรัดปีกมดลูกทั้ง 2 ข้าง ให้อุดตัน

ระยะเวลาการทำหมันที่เหมาะสม
1. ระยะปกติ หรือ การทำหมันแห้ง
เป็นการทำหมันนอกระยะหลังคลอด ที่สามารถทำหมันในช่วงเวลาใดก็ได้แต่จะหลีกเลี่ยงในช่วงที่เป็นประจำเดือน หรือในวันแรกที่มีประจำเดือน

2. การทำหมันในระยะหลังคลอด หรือ การทำหมันเปียก
เป็นการทำหมันหลังจากการคลอดบุตรใหม่ อาจทำหลังการคลอดทันที หรือ ทำหลังการคลอดแล้วประมาณ 2-3 วัน ซึ่งในทางการแพทย์ถือว่าระยะนี้มีประสิทธิภาพ และง่ายต่อการทำมาก เพราะหน้าท้องบาง และมดลูกอยู่ในระดับสูงที่ทำให้หาท่อนำไข่ได้ง่าย

3. การทำหมันขณะผ่าตัดกรณีอื่น
เป็นการทำหมันควบคู่กับการผ่าตัดอุ้งเชิงกรานในกรณีที่มีความจำเป็นต้องผ่า เช่น การผ่าตัดคลอด เป็นต้น

การทำหมันชาย
ประวัติการทำหมันชาย
การทำหมันชายมีประวัติที่เริ่มจากปี ค.ศ. 1775 ที่ John Hunter แพทย์ชาวอังกฤษสังเกตพบว่าท่ออสุจิที่มีการอุดตันด้วยพังผืด ซึ่งแต่ละข้างนั้นกลับมีขนาดเท่าเดิมไม่เปลี่ยนแปลง

ในปี ค.ศ. 1830 Sir Astly Cooper พบว่า การผูกท่ออสุจิของสุนัขจะไม่มีผลต่อการสร้างน้ำเชื้ออสุจิของอัณฑะ

ในปี ค.ศ. 1893 White ได้ริเริ่มการผูกท่อนำอสุจิมาใช้ในทางการแพทย์เป็นครั้งแรก เพื่อรักษาโรคเนื้องอกของต่อมลูกหมาก

ต่อ มาในช่วงต้นศตวรรษที่ 20 ได้เริ่มนำวิธีการผูกท่ออสุจิมาใช้เพื่อป้องกันการมีลูกสำหรับคนที่ป่วยเป็น โรคติดต่อทางพันธุ์กรรม รวมถึงคนปัญญาอ่อน คนวิกลจริต และอาชญากร

ใน ปี ค.ศ. 1910 Stienach ได้ตั้งทฤษฎีเกี่ยวกับการผูกท่ออสุจิว่า การผูกท่ออสุจิจะทำให้มีการสร้างฮอร์โมนมากขึ้น ซึ่งขณะนั้น ทฤษฎีนี้ไม่เป็นที่ยอมรับในวงการแพทย์ แต่หลังจากนั้นมา การผูกท่ออสุจิเพื่อการทำหมันชายก็เริ่มนิยมมากขึ้น แต่ก็ไม่เป็นที่ยอมรับในแถบประเทศอิสลาม

การทำหมันชายนั้น ทำได้ง่าย สะดวก และรวดเร็ว ไม่ต้องใช้ยาสลบ เพียงฉีดยาชาเข้าบริเวณเฉพาะที่เท่านั้น หลังการผ่าตัดไม่ต้องนอนโรงพยาบาล สามารถกลับบ้านได้เลย และสามารถทำได้ตลอดระยะเวลาที่ไม่เหมือนเพศหญิง

การผ่าตัดทำหมันชาย (Vasectomy)
การผ่าตัดทำหมันชาย เป็นวิธีการทำหมันชายที่ต้องใช้กระบวนการผ่าตัดเข้าช่วย โดยวิธีนี้ ได้เริ่มใช้แพร่หลายในสหรัฐอเมริกามาตั้งแต่ปี ค.ศ. 1970 ส่วนในแถบประเทศลาตินอเมริกาเริ่มทำในช่วงปี ค.ศ. 1972

วิธีการทำหมันชาย
1. การผ่าตัด และรัดถุงอัณฑะด้วยไหม
2. การตัดส่วนท่อน้ำกามออกทั้ง 2-3 นิ้ว แล้วผูกรัดปลายทั้งสองข้าง
3. ตัดท่อน้ำกามให้ขาดออกจากกัน แต่ไม่ตัดออกทั้งหมด แล้วเย็บปิดปลายท่อทั้งสองเข้าด้วยกัน
4. ตัดท่อน้ำกามให้ขาดออกจากกัน แล้วหักพับปลายท่อให้หันออกจากกัน แล้วผูกด้วย Non-Absorbable -Suture
5. ตัดท่อทิ้ง 1-2 นิ้ว แล้วผูกปลายส่วนต้นด้วย Non-Absorbable -Suture แล้วฝังเข้าในพังผืดบริเวณนั้น
6. ตัดท่อออกจากกัน แล้วผูกปลายบนด้วยด้าย ส่วนปลายล่างพับกลับ และผูกด้วยด้าย
7. ตัดท่อให้ขาดออกจากกัน โดยตัดข้างหนึ่งสูง และอีกข้างตัดต่ำ แล้วดึงปลายยาวของทั้งสองข้างไปยังด้านตรงข้าม ผูกปลายบนเข้าด้วยกัน และปลายล่างผูกเข้าด้วยกัน

??????????

ขั้นตอนการผ่าตัดทำหมันชายด้วยการผูกไหม
ทำความสะอาดบริเวณอัณฑะ และหัวเหน่าด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อ หลังจากนั้น ปูผ้าในตำแหน่งผ่าตัดบริเวณหนังหุ้มอัณฑะ และคลำหาท่อน้ำกามด้วยนิ้วหัวแม่มือ และนิ้วชี้ โดยพยายามแยกท่อน้ำกามออกจาก Spermatic Cord แล้วจับยึดให้แน่น

หลังจากจับยึดท่อน้ำกามแล้วจะทำการฉีดยาชาบริเวณผิวหนังอัณฑะรอบบริเวณผ่าตัด ปริมาณ 1-2 ซีซี หลังจากนั้น จะทำการกรีดผิวหนังอัณฑะยาวประมาณ 0.5-2 ซม. แล้วผูกปลายทั้ง 2 ข้าง ด้วยไหม เสร็จแล้วจะทำการเย็บปิดปากแผลด้วยไหมละลาย ทำการเช็ดแผลด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อ และปิดทับด้วยผ้ากร๊อส

ภาวะแทรกซ้อนจากการผ่าตัด
1. อาการแพ้ยาชาที่พบได้ในบางราย
2. อัณฑะบวม และปวด
3. แผลอาจเกิดการอักเสบจากการรักษาไม่ดีพอ และไม่มีการทำความสะอาดอย่างต่อเนื่อง

ข้อแนะนำหลังการผ่าตัด
1. หลังการผ่าตัด อาจรู้สึกเจ็บบริเวณแผลผ่าตัด และลูกอัณฑะอาจปวดบวม หากเกิดอาการให้ใช้น้ำแข็งประคบบริเวณแผล และรับประทานยาแก้ปวดตามแพทย์สั่ง
2. หลังการผ่าตัด ให้หยุดงานมากกว่า 1 วัน ห้ามทำงนหนัก แต่สามารถทำกิจได้ตามปกติ แต่ไม่ควรยืนหรือเดินมากนัก เพราะจะทำให้อัณฑะถ่วง และรู้สึกปวดมากขึ้น
3. ในระยะ 3 วัน หรือมากกว่านั้น หากแผลยังไม่แห้งสนิท ไม่ควรให้แผลสัมผัสน้ำ
4. หลังการทำหมันอย่างน้อย 3 เดือน ต้องใช้การคุมกำเนิดในฝ่ายหญิงหรือชายด้วยวิธีอื่นๆ เพราะอาจมีน้ำเชื้ออสุจิคงค้างในท่ออสุจิส่วนนอกได้
5. หลังการผ่าตัดภายใน 10 วัน ควรงดการมีเพศสัมพันธุ์
6. หลังการผ่าตัดแล้ว เพื่อความมั่นใจในการมีเพศสัมพันธุ์ และประสิทธิภาพการผ่าตัด ให้นำน้ำกามมาตรวจหาเชื้ออสุจิอย่างน้อย 2 ครั้ง
7. ท่อน้ำกาม ที่ผ่าตัดในบางวิธี หลังผ่านไปในระยะเวลานานอาจมีการเชื่อมต่อกันได้ ดังนั้น จึงควรนำน้ำกามมาตรวจหาเชื้อเป็นช่วงๆ

การทำหมัน และการทำหมันหญิง-ชาย


Similar Posts