เลิกบุหรี่ต้องทำอย่างไร รวบรวมภัยจากบุหรี่ 


อะไรที่ทำให้เกิดโรคมะเร็งปอด โรคหัวใจ โรคถุงลมโป่งพอง ฯลฯ  หลายคนคิดว่าเกิดจากนิโคตินในบุหรี่ แต่แท้จริงแล้ว นิโคตินไม่ใช่สารที่ทำให้เกิดโรคเหล่านั้น เแต่พราะภัยข้างเคียงเหล่านี้เกิดจากสารอื่นๆ ที่อยู่ในบุหรี่ต่างหาก

ตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบันผู้คนมักเตือนเกี่ยวกับภัยและอันตรายจากบุหรี่ว่า “บุหรี่อันตราย เพราะมีนิโคติน” จนกลายเป็นความเชื่อไปแล้วว่านิโคตินคือสารอันตรายที่ทำร้ายอวัยวะต่างๆ ของผู้สูบบุหรี่

มีสารมากกว่า 7,000 ชนิดที่เกิดจากการเผาไหม้บุหรี่ สารหลายร้อยชนิดมีผลต่อการทำงานของอวัยวะต่างๆ ในร่างกาย และมีสารกว่า 70 ชนิดที่เป็นสารก่อมะเร็ง แต่นิโคตินไม่ใช่สารที่ก่อให้เกิดโรค เนื่องจากนิโคตินเป็นเพียงสารที่ทำให้คนเสพติด อยากกลับไปสูบบุหรี่ตลอดเวลา ส่วนสารที่ทำร้ายร่างกายที่แท้จริงได้แก่ทาร์, คาร์บอนมอนอกไซด์, ไฮโดรเจนออกไซด์, ไนโตรเจนออกไซด์, แอมโมเนีย, ไซยาไนด์, ฟอร์มาล์ดีไฮด์ และสารปรุงแต่งอีกจำนวนมาก

สารอันตรายต่างๆ ที่เกิดจากการสูบบุหรี่และส่งผลต่อการเสื่อมโทรมของอวัยวะต่างๆ ในร่างกายดังที่กล่าวมาข้างต้นได้แก่

1.       ทาร์ (Tar) หรือน้ำมันดิน ประกอบด้วยสารหลายชนิด มีลักษณะเป็นละอองเหลวเหนียวสีน้ำตาล ทาร์จะจับอยู่ที่ปอด ทำให้เยื่อบุหลอดลมไม่สามารถเคลื่อนไหวได้ตามปกติ

2.       คาร์บอนมอนอกไซด์ (Carbon monoxide) เป็นก๊าซชนิดเดียวกันที่พ่นออกจากท่อไอเสียรถยนต์ ก๊าซนี้จะขัดขวางการลำเลียงออกซิเจนของเม็ดเลือดแดง

3.       ไฮโดรเจนไดออกไซด์ (Hydrogen dioxide) เป็นก๊าซพิษที่ใช้ในสงคราม ก่อให้เกิดอาการไอ มีเสมหะ และหลอดลมอักเสบเรื้อรัง

4.       ไนโตรเจนไดออกไซด์ (Nitrogen dioxide) เป็นสาเหตุของโรคถุงลมโป่งพอง เพราะไปทำลายเยื่อบุหลอดลมส่วนปลายและถุงลม

5.       แอมโมเนีย (Ammonia) มีฤทธิ์ระคายเคืองเนื้อเยื่อ ทำให้แสบตา แสบจมูก หลอดลมอักเสบ ใช้ในขบวนการผลิตเพื่อให้นิโคตินถูกดูดซึมผ่านปอดเร็วขึ้น

6.       ไซยาไนด์ (Cyanide) ปกติเป็นสารที่ใช้ผลิตยาเบื่อหนู และก็พบในบุหรี่เช่นเดียวกัน

7.       ฟอร์มาล์ดีไฮด์ (Formaldehyde) เป็นสารที่ใช้ดองศพเพื่อไม่ให้เน่าเปื่อย และถูกนำมาใช้ในการผลิตบุหรี่ด้วย

สารอันตรายที่กล่าวมาสามารถก่อให้เกิดภัยเสี่ยงมากมายต่อผู้สูบเองเช่น เสี่ยงตาบอดถาวร เสี่ยงมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ เสี่ยงโรคหัวใจและหลอดเลือด เสี่ยงโรคระบบทางเดินอาหาร เสี่ยงหลอดเลือดสมองตีบ เสี่ยงถุงลมโป่งพอง เสื่อมสมรรถภาพทางเพศ เสี่ยงแท้งลูก หรือต่อผู้คนรอบข้างเช่นเสี่ยงโรคหอบหืด ทำลายสุขภาพทารกในครรภ์ เสี่ยงเป็นโรคมะเร็งปอดได้ถึง 2 เท่า ทำให้เด็กมีพัฒนาการทางสมองช้ากว่าปกติ ฯลฯ

รศ.นพ.ฉันชาย สิทธิพันธุ์ รองคณบดีฝ่ายวางแผนและพัฒนา คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า จริงๆ แล้ว คนที่สูบบุหรี่ไม่ได้เสพติดตัวบุหรี่ แต่เสพติดนิโคตินที่อยู่ในบุหรี่ต่างหาก ดังนั้นการให้นิโคตินทดแทนด้วยวิธีการต่างๆ ที่แพทย์และผู้เชี่ยวชาญแนะนำ จะช่วยลดอาการอยากสูบบุหรี่อย่างได้ผล เพราะเป็นการเข้าไปลดระดับนิโคติน หรือทำให้อยากสูบบุหรี่ลดลงนั่นเอง แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น การเลิกสูบบุหรี่ก็ต้องการปัจจัยรอบข้างเข้ามาส่งเสริม เช่นกำลังใจและความช่วยเหลือจากสังคมและคนรอบข้าง ก็จะช่วยให้โอกาสในการเลิกบุหรี่ประสบความสำเร็จเพิ่มขึ้นไปอีก 

ดังนั้นนอกเหนือจากจิตใจอันแน่วแน่ที่ต้องการเลิกสูบบุหรี่แล้ว การแก้ปัญหาตั้งแต่ต้นเหตุ นั่นก็คือการทำให้อาการอยากนิโคตินลดลง โดยใช้นิโคตินทดแทน ซึ่งปัจจุบันมาทั้งในรูปแบบแผ่นแปะ หมากฝรั่ง ฯลฯ เพราะนอกจากจะช่วยให้เรามีกิจกรรมทำเพิ่มขึ้นแล้ว ยังช่วยลดอาการอยากสูบบุหรี่ได้ดีกว่าเดิม จึงนับว่าวิธีนี้เป็นวิธีที่ดีที่สุดในการเลิกบุหรี่นอกเหนือเหนือจากการหักดิบ

ผู้ต้องการเลิกสูบบุหรี่และจัดการปัญหาติดนิโคตินสามารถเข้ารับคำปรึกษาและคำแนะนำได้ที่เภสัชกรร้านบู๊ทส์ คอลเซ็นเตอร์โทร 02-269-9599

ค้นหาข้อมูลเพิ่มเติมที่เว็บไซต์ http://www.th.boots.com/quitsmoking


Similar Posts